โรงพยาบาลห้วยแถลง
พญ. วิภา โรงพยาบาลห้วยแถลง อุทยานินทร์

การดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุราเบื้องต้น (ต่อ)


ดื่มมาตรฐาน (standard drink)

Alcohol Withdrawal Delirium / DTs : ลักษณะสำคัญในการวินิจฉัย คือ อาการขาดสุรารุนแรงร่วมกับอาการ เพ้อสับสน (delirium) โดยผู้ป่วยที่มีอาการ delirium มีอาการดังต่อไปนี้

1 ระดับสติสัมปชัญญะและความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลงไป (consciousness) สับสน (confusion)

2 มีการทำงานของสมองที่เกี่ยวกับความคิด ความจำ การรับรู้เสียไป (cognition) เช่น สับสนเรื่องเวลา สถานที่ และบุคล (disorientation) พูกจาสับสน มีอาการหูแว่ว ประสาทหลอนได้ (visual, tactile, or auditory hallucinations) ที่พบบ่อยคือ tactile hallucination

3 อาการผู้ป่วยจะแย่ลง ดีขึ้นเป็นพักๆ โดยเฉพาะเวลากลางคืนอาการจะรุนแรงมากขึ้นและสงบลงในช่วงกลางวัน

สรุปการเกิดภาวะถอนพิษสุรา

     ระยะเวลาการเกิดอาการขาดสุรามักเกิดภายใน 6-48 ชม. หลังหยุดหรือลดการดื่มขึ้นกับความรุนแรงของการติดสุรา

     อาการขาดสุราเล็กน้อยถึงปานกลางเป็นมากที่สุดใน 2-3 วันหลังหยุดดื่มสุราครั้งสุดท้าย อาการมักจะดีขึ้นและหายไปได้ภายใน 5-7 วัน

     อาการขาดสุรารุนแรง เช่น Dts มักเริ่มเกิดภายใน 2-3 วันหลังหยุดดื่มสุราหรือดื่มน้อยลง อาการมักรุนแรงที่สุดในวันที่ 4-5 ส่วนใหญ่อาการมักดีขึ้นภายใน 10 วัน

     ภาวะชักจากการถอนพิษสุรา (Rum fits) มักเกิดใน 12-48 ชม. หลังหยุดดื่ม

ภาวะแทรกซ้อนทางกายที่พบบ่อยในผู้ดื่มสุรา

1 ภาวะขาดน้ำในร่างกาย : Dehydration

2 ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ : Hypoglycemia

3 เลือดออกในเยื่อหุ้มสมอง : Subdural hematoma

4 ภาวะเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนต้น : Uper Gastrointestinal Hemorrhage

5 ภาวะขาดสารอาหาร : malnutrition

โรคร่วมทางกายที่สัมพันธ์กับการดื่มสุราที่พบบ่อย ได้แก่

1 Hepatic encephalopathy

2 Pancreatitis

3 Electrolyte imbalance : Hypokalemia

4 Pneumonia

5 Alcoholic Cirrhosis 

6 Alcohol Hepatitis

7 เบาหวาน มะเร็ง เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ข้ออักเสบ ปลายประสาทอักเสบ เป็นต้น

หลักการรักษาภาวะถอนพิษสุรา ประกอบด้วย 4S' ได้แก่

1 Sedation - การให้ยากลุ่ม เบนโซไดอะซีปีน เพื่อสงบอาการขาดสุรา

2 Symptomatic Relief - การรักษาตามอาการ

3 Supplement - การให้สารน้ำ อาหาร วิตามินเสริม

4 Supportive environment - การจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม

ข้อบ่งชี้การรักษาแบบผู้ป่วยนอก

1 มีอาการขาดสุราที่มีความรุนแรงน้อย

2 สามารถรับประทานยาได้

3 มีญาติสนิทหรือคนในครอบครัวช่วยดูแลอย่างใกล้ชิดระหว่างถอนพิษสุรา (ประมาณ 3-5 วัน) และสามารถติดตามอาการขาดสุราได้

4 สามารถมาพบแทย์ตามนัดได้

5 ไม่มีภาวะโรคทางจิตเวชและโรคทางกายที่ยังไม่คงที่

6 ไม่มีปัญหาใช้สารเสพติดชนิดอื่นร่วมด้วยจนอาจมีอาการขาดสารเสพติดนั้น เช่น อาการขาดยานอนหลับ

7 อายุน้อยกว่า 60 ปี

8 ไม่มีประวัติอาการ DTs หรือชัก (Rum fits) มาก่อน

9 ไม่มีหลักฐานแสดงถึงอวัยวะภายในถูกทำลายจากพิษสุรา เช่น ascites, cirrhosis renal insufficiency เป็นต้น

ข้อพิจารณาในการรักษาแบบผู้ป่วยใน

1 เริ่มมีหรือคาดว่าจะมีอาการขาดสุราระดับปานกลางถึงรุนแรง

2 มีโรคจิตเวชหรือโรคทางกายซึ่งต้องการการเฝ้าดูแลอย่างใกล้ชิด

3 มีการติดยาหรือสารเสพติดอื่นร่วมด้วยและมีอาการถอนพิษจากสารเสพติดหลายชนิด

4 มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงหรือควบคุมไม่ได้

5 มีความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย

6 ผู้ป่วยไม่สามารถดูแลหรือช่วยเหลือตนเองได้

7 เคยรักษาแบบผู้ป่วยนอกแล้วไม่ได้ผล

8 ไม่มีญาติหรือสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยเพียงพอสำหรับการดูแลรักษาแบบผู้ป่วยนอก

แนวทางการดูแลรักษาแบบผู้ป่วยใน

- การตรวจร่างกาย ตรวจสภาพจิต

- ประเมินโรคทางกายแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น การติดเชื้อ อุบัติเหตุ metabolic disturbances รับประทานยาเกินขนาด hepatic failure เลือดออกในกระเพาะ

- ประเมินความรุนแรงของอาการขาดสุรา

- Further investigation ตามความเหมาะสม เช่น CBC, Serum Electrolyte, Glucose, LFT เป็นต้น

การรักษาแบบผู้ป่วยใน

1 ให้ยากลุ่ม benzodiazepines ตามความรุนแรงของอาการ

2 การดูแลแบบประคับประคอง ได้แก่

- มีอุปกรณ์ผูกมัดชั่วคราวหากจำเป็น และเมื่ออาการสงบลงให้เลิกการผูกมัด

- ชดเชยสารน้ำโดยให้ (isotonic IV fluid), เกลือแร่ (potassium, magnesium, phosphate), วิตามิน (B1, MTV, Folate)

- หากผู้ป่วยทานไม่ได้ ให้ NPO ไว้ก่อน เพื่อป้องกัน aspiration วันต่อมาค่อยให้อาหารที่ high metabolic needs

- ประเมินอาการเป็นระยะๆ

- จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม คือ เงียบสงบ ปลอดภัย

การวางแผนการพยาบาล

1 การพยาบาลระยะแรก มีเป้าหมายเพื่อค้นหาผู้ที่มีปัญหาจากการดื่มสุราให้ได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกและให้การดูแลรักษาเบื้องต้น

2 การพยาบาลระยะถอนพิษสุราและโรคร่วม สิ่งที่ต้องระวัง

- เฝ้าระวังการเกิดอุบัติเหตุ

- เฝ้าระวังภาวะชักที่อาจเกิดใน 24 ชม. หลังหยุดดื่ม

- เฝ้าระวังการสำลักอาหาร และน้ำ

- เฝ้าระวังการเสียน้ำจากการอาเจียนและถ่ายเหลว

- เฝ้าระวังภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

- ห้ามฉีดยาเข้ากล้ามในกรณีเกล็ดเลือดต่ำ

3 การพยาบาลระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ เพื่อเตรียมให้ผู้ป่วยพร้อมในการกลับเข้าสู่สังคม โดยไม่กลับไปดื่มสุราซ้ำ

4 การพยาบาลระยะหลังการรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยคงอยู่ในสังคมได้โดยไม่ดื่มหรือมีการดื่มลดลงอยู่ในระดับที่ปลอดภัย

การป้องกันการกลับไปดื่มซ้ำ : หลังจากผ่านพ้นระยะถอนพิษสุราแล้ว ผู้ป่วยอาจหยุดหรือลดการดื่มได้ระยะหนึ่ง ปัญหาที่มักเกิดตามมาคือ ผู้ป่วยกลับไปดื่มซ้ำจนก่อให้เกิดปัญหาตามมาอีก ขั้นตอนการดูแลเพื่อป้องกันการกลับดื่มซ้ำจึงมีความสำคัญมากเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยคงภาวะของการหยุดสุราได้อย่างต่อเนื่อง วิธีการป้องกันการกลับดื่มซ้ำนั้น มีทั้งการรักษาด้วยยาและการบำบัดทางจิตสังคม แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การติดตามผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมทักษะให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมตัวเองได้

 

ก็จบแล้วนะคะ สำหรับการดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุราเบื้องต้นสำหรับบุคลากรสุขภาพและผู้ที่สนใจ หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยนะคะ ขอบคุณค่ะสำหรับทุกท่านที่สนใจติดตาม โอกาสหน้าคงจะได้มาเล่าประสบการณ์ดีๆอีก อย่าลืมติดตามนะคะ สวัสดีค่ะ

สุปราณี  and  หนึ่งฤทัย................

หมายเลขบันทึก: 356813เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2010 00:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

โห ได้ความรู้เยอะเลย ขอบคุณคร้าบที่มาเหล้า เอ้ย มาเล่าสู่กันฟัง

มีประโยชน์มากครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท