มาเยี่ยมโรงเรียนบางละมุง โรงเรียนศูนย์ไอซีที ในฐานะโรงเรียนในฝัน


การทำงานภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาการส่งเสริมให้เด็กใช้ไอซีทีในเชิงสร้างสรรค์

วันนี้มาเยี่ยมโรงเรียนบางละมุงวิทยา โรงเรียนศูนย์ไอซีทีระดับภาค ในฐานะโรงเรียนในฝัน ได้เจอกับครูชัฎ ครูสอนเกษตรแต่มาวันนี้ในฐานะวิทยากรแนะนำโรงเรียน

ความน่าสนใจของโรงเรียนนี้ คือ ความพร้อมของอุปกรณ์เทคโนโลยี เครื่องคอมพิวเตอร์ เริ่มต้นจากแผนของการพัฒนาโรงเรียนในฝัน

การพัฒนาในระยะคู่ขนานก็คือ การพัฒนาความรู้ ความเข้าใจในการใช้งานไอซีทีให้กับครู และ นักเรียน โดยมีวิธีการ แบบนักเรียนช่วยครู เพื่อนช่วยเพื่อน

นอกจากนั้น ยังมีการพัฒนาศักยภาพของการสอน โดยมีการประชุมร่วมกันเพื่อกำหนดรูปแบบการสอน มีการติดตามประเมินผลโดยครูร่วมงานในห้องเรียน

ครูแต่ละคนจะมีเว็บบล็อก ผ่าน thinkquest.org ที่เลือกใช้เว็บนี้เพราะผ่านการอบรมการใช้งานในเว็บนี้ และ จำกัดเฉพาะครูและนักเรียนที่มีการแบ่งหมวดหมู่ของสาขาวิชา

ความน่าสนใจของการมาเยี่ยมกัลยาณมิตรในครั้งนี้ก็คือ ศูนย์ไอซีทีนี้สามารถตอบโจทย์การเป็นศูนย์ไอซีทีด้านการพัฒนาศักยภาพด้านไอซีทีให้กับ

  • เด็ก เยาวชนในโรงเรียน
  • เด็ก เยาวชนนอกโรงเรียน แต่ถ้าจะขยายไปยัง ชุมชนภายนอก ก็มีความน่าสนใจ

ตัวอย่างที่น่าสนใจ

 เช่น การร่วมมือกับ อบจ ในการติวหนังสือออนไลน์ให้กับเด็กในบางละมุง

การจ้ดทำ thinkquest.org ที่นักเรียนมีการประกวดโครงงาน โดยใช้เครื่องมือจากไอซีทีที่มีอยู่ (คอมพิวเตอร์จากโรงเรียน โครงสร้างพื้นฐานจากโรงเรียน โปรแกรมสำเร็จรูปจาก thinkquest)

จัดทำคลินิกไวรัสคอมพิวเตอร์ โดยเด็กนักเรียน

นอกจากศูนย์นี้ตอบโจทย์การเป็นพื้นที่การเรียนรู้ในการใช้ไอซีทีให้กับเด็ก ในฐานะ พื้นที่ในการเชื่อมต่อ และ ใช้งาน ภายใต้ระบบการศึกษา

จะเห็นได้ว่า โรงเรียนนี้ตอบโจทย์ของการใช้พื้นที่ห้องคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนเป็นพื้นที่ในการเชื่อมต่อเข้าถึงอินเทอร์เน็ต การเปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาตัวเองผ่านการเรียนรู้ เข้าถึงข้อมูลในโลกออนไลน์ (เด็ก ๑.๐) มากไปกว่านั้น ยังมีการพัฒนาให้เด็กสามารถสร้างสื่อออนไลน์เพื่อการศึกษาและการเรียนรู้ (เด็ก ๒.๐)

โจทย์ใหญ่ของการพัฒนาต่อยอดก็คือ ทำอย่างไรให้

  • เด็ก เยาวชน เป็นผู้สร้างเนื้อหาในเชิงสร้างสรรค์ เพื่อต่อยอดเนื้อหาสื่อออนไลน์เพื่อขับเคลื่อนสังคม ที่เรียกว่า เด็ก ๓.๐
  • การเปิดโอกาสให้ชุมชน เข้ามามีส่วนร่วม
  • ระบบการทำงานเชิงโครงสร้างเพื่อให้เกิดการทำงานต่อเนื่องและขยายผลต่อไป

 

หมายเลขบันทึก: 356666เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2010 14:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 22:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

การจะให้เด็กพัฒนาไปในเชิงสร้างสรรค์ต้องทำร่วมไปกับการสอนที่ดี และสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมเข้าไปในเนื้อหาการสอน

ทั้งความรู้เกี่ยวกับการรับผิดชอบต่อสังคม และตัวเอง

เมื่อมีการสอนที่ดีควบคู่ไปได้แล้ว เด็กก็จะดีที่ตัวเอง และเมื่อเผยแพร่ข้อมูลออนไลน์ออกไป ก็จะเกิดความคิดสร้างสรรค์อยากให้สังคมดีขึ้นด้วย เป็นขั้นเป็นตอน และสุดท้ายก็จะกลายเป็นวงจรที่ดี สืบเนื่องต่อไป

มือไวจังค่ะ

อย่าลืมไปดูรูปจากกล้อง อ.แหววนะคะ

http://www.facebook.com/archanwell?ref=profile#!/album.php?aid=219628&id=739031424&ref=mf

มือไวจังค่ะ

อย่าลืมไปดูรูปจากกล้อง อ.แหววนะคะ

http://www.facebook.com/archanwell?ref=profile#!/album.php?aid=219628&id=739031424&ref=mf

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท