ดูข่าว / ดูทีวีมาก ๆ แล้วอยากมาเล่า


ช่วงนี้เสพข่าวมาก ๆ แล้วคิดว่าเราโตมาแบบนี้เองหรอเนี่ย ???

ผมเป็นคนนึงที่ทำงานอยุ่ใกล้ ๆ กับสถานที่ชุมนุมในกทม. ไม่ใช่ใกล้ ๆ สิครับ เรียกว่าติดเลยดีกว่าเพราะอยู่หน้าโรงพยาบาลของผมเอง ดังนั้นผมจึงต้องคอยติดตามข่าวมาตลอดเพื่อที่จะได้รู้ว่าแต่ละวันต้องทำยังไง วันนี้จะไปทำงานได้ไหม? วันนี้ไปทำงานแล้วอันตรายหรือเปล่า? จากที่ผมไม่ค่อยได้ดูทีวีมาหลายปี (ละครเรื่องสุดท้ายคงเป็นสมัย แท่งศักดิ์สิทธิ์เล่นกับนุสบาครับ) ตลอด 1 เดือนนี้ผมดูทีวีมากขึ้น ผมเลยเห็นอะไรหลาย ๆ อย่างที่มันเปลี่ยนไปโดยเฉพาะสังคมไทย บางอย่างเลยอยากมาเล่าให้ฟังครับ

สังคมไทยต้องการ superhero มาแก้ไขปัญหาและไม่มีการทำงานเป็น teamwork ที่ดีพอ เราคงเห็นจากเวลาเรามีปัญหาเรามักถามว่า "ใครจะมาแก้ปัญหานี้" มากกว่า "เราจะแก้ปัญหานี้อย่างไร" ซึ่งความคิดนี้อาจมาจากการที่คนไทยเห็นความสำคัญของสิทธิ (เราจะได้อะไร) มากกว่าหน้าที่ (เราควรทำอะไร)

นอกจากต้องการ superhero แล้ว เราก็มักโยนความผิดไปให้คนอื่นให้เป็นแพะรับบาปไปในตัว ซึ่งคนที่มักเป็นแพะรับบาปก็มักคือคนที่ออกมาขยับตัวก่อนคนอื่น / แสดงออกมากกว่าคนอื่นหรือเป็นคนที่เถียงไม่เป็น ดังนั้นสังคมไทยมักนิ่ง (ถ้าพูดให้เข้ายุคสมัยคือใส่เกียร์ว่าง) เพราะการได้รับสิทธินั้นง่ายกว่าการทำหน้าที่เสมอๆ

ไม่มีใครอยากเป็น loser แต่ทุกคนอยากเป็น winner นี่คือสิ่งที่เราได้เรียนจากขบวนการเสรีไทย (ภาษาอังกฤษมีสำนวนทางการทูตว่า siamese talk หลายคนคงทราบดีว่าหมายความว่าอย่างไร) เราทุกคนพร้อมอยู่ข้างที่เราเห็นว่าจะชนะ นี่เป็นเหตุผลว่าเวลามี poll ออกมาก่อนการเลือกตั้งว่าผู้สมัครคนไหนจะชนะ หลังการเลือกตั้งผู้สมัครคนนั้นก็มักชนะแทบทุกครั้งเพราะว่า ไม่มีใครเห็นประโยชน์จากการเลือกผู้แพ้

สังคมไทยมีพื้นฐานมาจากระบบ "ศักดินา" กล่าวคือมีผู้นำที่เป็น absolute power ที่มีอำนาจสูงสุด ชี้นกเป็นนก ชี้ไม้เป็นไม้ ใครไม่ฟังมักโดนลงโทษ(โดยการย้ายไปเป็นผู้ตรวจการ ฯ) การจะได้รับความสนใจเพื่อเลื่อนขั้นก็มาจาก "ความสัมพันธ์ส่วนตัว" เป็นหลัก (เราเลยเห็นว่า"เมียน้อย"เป็นเรื่องปกติไปแล้ว ) นอกจากนี้สังคมไทยมีการเลี้ยงดูที่มีความแน่นแฟ้นในครอบครัวมากเกินไปทำให้ไม่มีขอบเขตส่วนบุคคล (lack of personal boundary) เรามักได้ยินตั้งแต่เราเด็ก ๆ ว่า "ลูกต้องกินข้าวให้หมดไม่งั้นแม่ไม่รัก" (เด็กมันคงงงนะครับว่าแค่ตูไม่กินข้าวแล้วทำให้แม่ไม่รักเลยหรอ)

เมื่อต้องยอมรับ absolute power อย่างไม่มีเงื่อนไขและยิ่งไม่มีขอบเขตส่วนบุคคลทำให้แต่ละคนไม่สามารถแสดงความรู้สึกของตนออกมาได้อย่างเต็มที่ การแสดงความรู้สึกต้องอยุ่บนพื้นฐานของเสียงส่วนใหญ่เพราะกลัวว่าตัวเองจะไม่รับการยอมรับจากสังคมภายนอก (จริง ๆ แล้วหารู้ไม่ว่าไม่ต้องให้คนภายนอกมายอมรับตัวเองก็ยอมรับตัวเองได้)ผลสุดท้ายคือ คนไทยไม่ค่อยเคารพในสิทธิของคนอื่นเพราะคิดว่าคนอื่นก็ต้องไม่มีขอบเขตของบุคคลเหมือนตนเช่นกัน นำไปสู่การที่ไม่เคารพสิทธิทางสังคมที่สำคัญที่สุดคือ "กฎหมาย" ก็นำมาสู่ปรากฎการณ์ที่เราเห็นทางทีวีในทุกวันนี้แหละครับ

สุดท้ายนี้ผมคงไม่ได้มาสนับสนุนหรือต่อต้านใคร เพราะคิดว่าหลายคนคงอยากเห็นสังคมไทยสงบสุข ที่สำคัญมันเริ่มต้นที่ตัวเราทุกคนนะครับ

คำสำคัญ (Tags): #สังคมไทย
หมายเลขบันทึก: 356655เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2010 13:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 14:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท