รู้จักกับไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ของโลก


รู้จักกับไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ของโลก

รู้จักกับไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ของโลก

 

          27 เม.ย. ที่ผ่านมาสำนักข่าวต่างประเทศต่างพากันรายงานว่าที่กรุงเม็กซิโก ซิตี เมืองหลวงของประเทศเม็กซิโก
ได้เกิดโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่  คือ   ไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ สายพันธุ์ H1N1 หรือที่เรียกว่าไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่
2009 ที่กำลังระบาดหนัก จนทำให้ขณะนี้มีติดเชื้อกว่า7,500 ราย และมีผู้เสียชีวิตไปแล้ว 70 รายแล้วทั่วโลก
          โดยองค์การอนามัยโลก หรือ
WHO ได้เพิ่มระดับเตือนภัยการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้เป็นระดับ 5
ซึ่งเป็นขั้นที่ตรวจพบว่ามีการแพร่เชื้อจากคนสู่คนในอย่างน้อย 2 ประเทศในภูมิภาคเดียวกัน หรือการติดเชื้อข้ามประเทศ

เมื่อวันที่ 30 เม.ย.ที่ผ่านมา
          นอกจากนี้องค์การอนามัยยังประกาศให้เรียกชื่อโรคนี้อย่างเป็นทางการว่า     โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิด
A H1N1 แทนการเรียกว่า ไข้หวัดหมู
ู          เช่นเดียวกับที่ก่อนหน้านี้สหรัฐเรียกไข้หวัดสายพันธุ์ดังกล่าวว่า ไข้หวัดใหญ่
2009 H1N1 เพื่อแก้ความเข้าใจผิด
ที่ว่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้เกิดจากหมู

รู้จักกับไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ของโลก
          
ดร.แนนซี่ ค็อกซ์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยไข้หวัดใหญ่ ศูนย์ควบคุมโรคสหรัฐ กล่าวว่า     ไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ชนิด A H1N1 นี้
มีลักษณะพันธุกรรมหรือยีน ที่ประกอบด้วยเชื้อไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์รวมอยู่ด้วยกัน ได้แก่  เชื้อไข้หวัดใหญ่ในมนุษย์เชื้อ
ไข้หวัดนกที่พบในทวีปอเมริกาเหนือ และ เชื้อไข้หวัดหมูที่พบบ่อยในทวีปยุโรปและเอเชีย

          โดยสันนิษฐานเบื้องต้นว่า   เชื้อไข้หวัดพันธุ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม หรือ   Antigenetic
Shift โดยมีหมูที่เป็นพาหะนำโรค   โดยการถูกเชื้อไวรัสไข้หวัดนก  ไข้หวัดหมู และไข้หวัดใหญ่ เข้าไปอยู่ในตัว ต่อมาเซลล์ในตัวหมู
ถูกไวรัสตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปโจมตี ทำให้หน่วยพันธุกรรมไวรัสดังกล่าวผสมปนเปกันระหว่างการแบ่งตัว   กลายเป็นเชื้อพันธุ์ใหม่ขึ้นมา
          ขณะเดียวกัน ก็มีรายงานว่า   นายเอเดรียน กิบส์ ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยพัฒนายาต้านไวรัส ทามิฟลู ของบริษัทโรช  และเป็น
ผู้ศึกษาวิวัฒนาการของเชื้อโรคมาเป็นเวลานานถึง  
40  ปี       เป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์รายแรกๆที่วิเคราะห์ส่วนประกอบทางด้าน
พันธุกรรมเปิดเผยว่า     เขาตั้งใจที่จะตีพิมพ์รายงานที่มีข้อมูลบ่งชี้ว่า   ไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้อาจจะเกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจจากไข่
ที่นักวิทยาศาสตร์ใช้เพาะไวรัสและบริษัทยาได้นำไปใช้เพื่อผลิตวัคซีนก็เป็นได้

          โดยนายกิบส์กล่าวว่า    การชี้เบาะแสของต้นตอไวรัสอาจจะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ทำความเข้าใจไวรัสสายพันธุ์ใหม่ได้ดีขึ้น
ทั้งในเรื่องของการแพร่เชื้อและสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วย      ซึ่งขณะนี้องค์การอนามัยโลกอยู่ในระหว่างการพิจารณารายงาน
ฉบับนี้
          น.พ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผอ.สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข    กล่าวถึงโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่
ชนิดใหม่นี้ว่า  แม้จะมีเชื้อตั้งต้นมาจากหมู แต่ระยะแพร่ระบาดคือ ติดต่อจากคนสู่คน   ดังนั้นการบริโภคผลิตภัณฑ์จากหมู
ไม่มีอันตรายแต่อย่างใด

          ทั้งนี้หากเปรียบเทียบกับ “ไข้หวัดนก”   ที่เคยแพร่ระบาดในอดีต ซึ่งเป็นเชื้อที่ติดต่อจากสัตว์ปีกสู่คนได้นั้น จากข้อมูล
เบื้องต้นพบว่า ผู้ได้รับเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์นี้ มีอัตราเสียชีวิตร้อยละ 5-7   ซึ่งถือว่ายังน้อยกว่าอัตราของผู้เสียชีวิตของผู้ป่วยโรค
ไข้หวัดนก

อาการ
          ผู้ติดเชื้อจะมีอาการคล้ายกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ คือ  มีไข้ขึ้นสูง ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ไอ คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อย
ตามร่างกายรุนแรง ท้องร่วง   และปวดศีรษะรุนแรง อาการป่วยจะพัฒนารวดเร็วและจะมีอาการหายใจลำบากอย่างรุนแรงภายใน 5 วัน
ทั้งนี้อาจจะพบว่าผู้ที่รับเชื้อจะแสดงอาการไม่รุนแรง
          ในกรณีที่ผู้ติดเชื้อมีสุขภาพแข็งแรงและอาการไม่รุนแรง สามารถรักษาหายได้ด้วยภูมิต้านทานของร่างกาย  ทั้งนี้หากเป็นผู้สูง
อายุหรือเด็กจะมีความเสี่ยงมากกว่า ส่วนในกรณีที่มีอาการรุนแรง เกิดจากมีการอักเสบที่ปอด จนถึงขั้นเสียชีวิตได้

การติดต่อ
การแพร่ติดต่อเช่นเดียวกับโรคไข้หวัดใหญ่ในคน คือ
          1. แพร่ไปยังผู้อื่นโดยการไอ หรือจามรดกัน โดยที่เชื้อจะอยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย
          2. ติดจากมือและสิ่งของที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ และเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูกและตา หากนำมือที่มีเชื้อไปสัมผัสร่างกาย เช่น
การแคะจมูก การขยี้ตา

การป้องกัน
          1.ใช้ผ้าเช็ดหน้าปิด เพื่อป้องกันเวลาจาม
          2.หมั่นล้างมือ
          3.หากมีอาการ ไข้อย่างรุนแรง และไข้ไม่ลดภายใน 2 วัน ควรรีบพบแพทย์ทันที  โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางกลับจากประเทศที่มี
การแพร่ระบาด
          4. หลีกเลี่ยงชุมชนแอดอัด และงดเดินทางไปในประเทศที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
          5. รักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ

การรักษา
          ในเอกสารเรื่องการแพร่ระบาดของไข้หวัดชนิดนี้ ที่กงสุลใหญ่ ในนครลอสแองเจลิสของสหรัฐแสดงข้อมูลที่ระบุว่า สามารถ
ใช้ยาชนิดเดียวกับยาไข้หวัดใหญ่ทั่วไป
ในการรักษาไข้หวัดชนิดเอ
H1N1ได้ คือ ยาโอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) หรือทามิฟลู
(
Tamiflu) และยา zanamivir ซึ่งเป็นยาชนิดพ่น แต่ทั้งนี้ยาดังกล่าว ไม่สามารถป้องกันเชื้อไวรัสได้
          ทั้งนี้มีรายงานระบุว่าในสหรัฐอเมริกา ผลการตรวจเชื้อไวรัสชนิดนี้พบว่าเชื้อดังกล่าวดื้อยาต้านไวรัส amantadine และ
rimantadine
          อย่างไรก็ตาม  WHO  ออกมายอมรับว่า   ยาทามิฟลูที่มีอยู่ในขณะนี้อาจไม่เพียงพอต่อการับมือกับการแพร่ระบาดที่อาจเพิ่ม
มากขึ้น

สถานการณ์แพร่ระบาด
          องค์การอนามัยโลก ได้เพิ่มระดับเตือนภัยการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้เป็นระดับ 5 ซึ่งเป็นขั้นที่ตรวจ
พบว่ามีการแพร่เชื้อจากคนสู่คนในอย่างน้อย
2 ประเทศในภูมิภาคเดียวกัน   หรือการติดเชื้อข้ามประเทศ เมื่อวันที่ 30 เม.ย.ที่ผ่านมา
โดยการเพิ่มระดับเตือนภัยในครั้งนี้มีขึ้นหลังจากมีผู้เสียชีวิตที่รัฐเทกซัส  สหรัฐอเมริกา      ซึ่งเป็นผู้เสียชีวิตรายแรกเป็นนอกประเทศ
เม็กซิโก
         
โดยในขณะนี้ (15พ.ค.) มีรายงานว่าพบผู้ติดเชื้อ 6,726 ราย ใน 35 ประเทศ    และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 70 ราย ใน 4 ประเทศ
ได้แก่ เม็กซิโก สหรัฐ แคนาดา และคอสตา ริก้า

สถานการณ์ไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ในประเทศไทย
          ซึ่ง วันที่1 พ.ค. 52 นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)    กล่าวว่าที่ประชุมศูนย์บัญชาการเตรียมความ
พร้อมป้องกันและควบคุมแก้ไขสถานการณ์การระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่    ให้สรุปใช้ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ ไข้หวัดใหญ่
สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ
2009H1N1 และมีชื่อเรียกสั้นๆ ว่า ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เพื่อให้ง่ายแก่การสื่อสารและสร้าง
ความเข้าใจแก่สาธารณะ

มาตรการเฝ้าระวัง
          สธ.ใช้มาตรการแซนด์วิชคือมาตรการเฝ้าระวังโรคในกลุ่มที่เดินทางมาจากต่างประเทศทุกคนที่ด่านตรวจโรคประจำสนามบิน
เช่น   สนามบินสุวรรณภูมิ ได้เพิ่มกำลังแพทย์   พยาบาล  เจ้าหน้าที่ประจำการจากวันละ
60 คน เป็นวันละเกือบ 100 คน ตลอด 24
ชั่วโมง    และให้มีระบบการเชื่อมโยงส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยในรายที่มีไข้และเดินทางกลับจากต่างประเทศให้พื้นที่ต่างๆ   ได้ติดตามดูแล
อย่างต่อเนื่องรวมถึงตามด่านพรมแดนต่างๆ และการค้นหาผู้ป่วยในหมู่บ้านชุมชน และที่โรงพยาบาล คลินิก โรงพยาบาลเอกชน อย่าง
เข้มแข็ง เพื่อค้นหาผู้ป่วยให้พบอย่างรวดเร็ว ให้การดูแลรักษาและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อให้อยู่ในวงจำกัด

ยาต้านไวรัส
          กระทรวงสาธารณะสุขได้มอบหมายให้องค์การเภสชักรรม (อภ.) เจรจากับ  บริษัทยาในประเทศอินเดียซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบ
การผลิตยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ให้ยังคงราคาเดิมเป็นเวลา
1 เดือน     เนื่องจากขณะนี้เกิดการระบาดทำให้หลายประเทศสั่งซื้อ
จำนวนมาก จนราคาวัตถุดิบปรับสูงขึ้น มาตรการด้านสำรองนั้น
          เชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ไวต่อยาโอเซลทามิเวียร์และยาซานามิเวียร์ เพราะยาทั้ง 2 ชนิดนี้ เป็นยาปฏิชีวนะกลุ่ม
เดียวกันที่ยับยั้งไม่ให้ไวรัสแตกตัว     โดยผู้ป่วยที่ติดเชื้อต้องรับยาติดต่อกันเป็นเวลา
5 วัน วันละ 2 ครั้ง   และต้องรับยาภายใน 48
ชั่วโมงเมื่อมีอาการ จึงจะได้ผลเต็มประสิทธิภาพ เพียงแต่ยาโอเซลทามิเวียร์เป็นยากินชนิดเม็ด ส่วนยาซานามิเวียร์เป็นยาพ่น

การดื้อยา
          อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ ศ.นพ.อมร ลีลารัศมี อาจารย์ประจำสาขาวิชาโรคติดเชื้อและอายุรศาสตร์เขตร้อน คณะแพทยศาสตร์
ศิริราชพยาบาล ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า พบว่าไวรัสไข้หวัดใหญ่ เอช
1 เอ็น 1 มีการดื้อยาโอเซลทามิเวียร์ทั่วโลกแล้ว
          โดยในประเทศไทยพบว่ามีการดื้อยาประมาณ 1-2 ล้านคน แต่ยังไม่สามารถระบุตัวเลขได้แน่ชัด เพราะยังไม่มีการศึกษาราย
ละเอียดอย่างจริงจัง
สอดคล้องกับข้อมูลนางจิรนันท์ วราชิต  เดอ ซิลวา  นักวิจัยศูนย์ไข้หวัดใหญ่แห่งชาติ  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์
สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สธ.ที่ระบุว่า ได้ร่วมมือกับซีดีซี  ทำการเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาและการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ไวรัส
ไข้หวัดใหญ่ ตั้งแต่พ.ศ.2551 พบว่า ในปีนี้พบการดื้อยาประมาณร้อยละ
90 เช่นกัน  ซึ่งเป็นสัญญาณที่น่าเป็นห่วงว่าการรักษาผู้ป่วย
ไข้หวัดใหญ่ที่ติดเชื้อเอช
1 เอ็น 1 ด้วยยาโอเซลทามิเวียร์ไม่ได้ผลดีอีกต่อไป  ส่วนเชื้อจะดื้อยาซานามิเวียร์หรือไม่นั้น ยังไม่มีข้อมูล
บ่งชี้

สธ.ออกประกาศฉบับ 5 แนะประชาชนรับมือไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
          กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกประกาศคำแนะนำประชาชน     ”เรื่องการดูแลสุขภาพ เพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่
ชนิด
A H1N1  ฉบับที่ 5”   หลังจากที่กระทรวงสาธารณสุขขึ้นทะเบียนผู้ป่วยยืนยันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่จำนวน 2 ราย เมื่อ
วันที่
12 พฤษภาคม 2552  ซึ่งติดเชื้อมาจากประเทศเม็กซิโก รักษาหายเป็นปกติ ไม่มีเชื้อในร่างกายแล้ว

โดยมีคำแนะแยกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
          กลุ่มแรกคือ   ในกลุ่มประชาชนทั่วไป  ควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มภูมิต้านทาน
โรคสร้างสุขนิสัยในการป้องกันโรค เน้นกินของร้อน ใช้ช้อนกลาง หมั่นล้างมือ   และใช้หน้ากากอนามัยเมื่อมีอาการไอ สำหรับผู้ที่เพิ่ง
เดินทางกลับมาจากต่างประเทศหากมีอาการป่วยคล้ายไข้หวัด ควรรีบไปพบแพทย์   หากพบผู้ใกล้ชิดมีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เพิ่มเดินทางกลับมาจากต่างประเทศภายใน
7 วัน
         
กลุ่มที่สองคือ โรงเรียนและสถานศึกษา ควรสำรวจนักเรียนเป็นประจำทุกวัน สังเกตนักเรียน  สอนและให้คำแนะนำวิธีรักษา
สุขภาพและป้องกันโรคแก่นักเรียน
 
          และกลุ่มสุดท้ายคือ   อาสาสมัครสาธารณสุข   สังเกตประชาชนในหมู่บ้าน หรือชุมชนที่รับผิดชอบ  และรายงานเจ้าหน้าที่
สาธารณสุขในพื้นที่
  เผยแพร่ความรู้และให้คำแนะนำตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข

          ทั้งนี้หากประชาชนต้องการข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข www.moph.go.th และหากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อได้ที่ศูนย์ปฏิบัติการ กรมควบคุมโรค  หมายเลขโทรศัพท์ 02 -590-3333  และที่ศูนย์
บริการข้อมูลฮอตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข หมายเลข 02-590-1994ตลอด 24 ชั่วโมง

หมายเลขบันทึก: 356522เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2010 21:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 14:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท