น้ำดื่มสะอาด


น้ำคือสิ่งสำคัญของชีวิต เราต้องช่วยกันรักษาคุณภาพน้ำ และช่วยใช้กันอย่างประหยัด

น้ำเป็นสารอาหารที่สำคัญที่สุด เนื่องจากเป็นองค์ประกอบเกือบสองในสามส่วนของร่างกาย ถ้าร่างกายได้รับน้ำน้อยเกินไป กระบวนการทำงานต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตจะหยุดชะงักอย่างรวดเร็ว และถึงแก่ความตายในไม่กี่วัน

คนสุขภาพแข็งแรงที่กินอาหารได้ตามปกติจะได้รับน้ำอย่างน้อยวันละ 3 ลิตร ราวสองในสามส่วน มาจากการดื่มโดยตรงในรูปน้ำดื่ม น้ำชา กาแฟ น้ำอัดลม น้ำผลไม้ หรือเหล้า ที่เหลือได้ทางอ้อมจากอาหารอื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผัก ผลไม้ ผลิตภัณฑ์จากนม ขนมปัง ธัญพืช รวมทั้งจากถั่วและเนื้อสัตว์ต่างๆ อีกเล็กน้อย และร่างกายผลิตน้ำได้เองในกระบวนการสลายน้ำตาลกลูโคสเป็นพลังงานด้วย

สภาพอากาศและกิจกรรมที่ทำให้มีผลต่อความต้องการน้ำของร่างกายโดยปกติร่างกายจะสูญเสียน้ำราววันละ 1.5 ลิตร จาการหายใจ การขจัดของเสียทางเหงื่อ การย่อยอาหาร รวมทั้งการขับของเสียและสารพิษผ่านไตในรูปปัสสาวะ เราจะเสียเหงื่อมากตอนที่อากาศร้อน หรือขณะออกกำลังกาย  แต่ก็อาจขาดน้ำได้ง่ายๆโดยไม่รู้ตัวเมื่อเป็นไข้หรืออยู่ในที่หนาวจัด

แม้ว่าน้ำประปาจะสะอาดพอสำหรับดื่ม แต่คนทั่วไปก็มักจะวางใจน้ำดื่มบรรจุขวดมากกว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำมาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์น้ำดื่มที่วางจำหน่ายทั่วประเทศ โดยกำหนดค่าต่างๆ ที่อาจมีในน้ำดื่ม โดยเฉพาะปริมาณจุลชีพที่ทำให้เกิดโรค ปริมาณโลหะหนักที่เป็นอันตราย และปริมาณเคมีภัณฑ์ต่างๆ เป็นต้น นอกจากนั้นยังกำหนดเกณฑ์ของสารที่เติมลงไปเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ เช่น คลอรีน ฟลูออไรด์ และสารส้ม

คุณภาพของน้ำดื่มจะแตกต่างกันไปตามแหล่งที่มาของน้ำ และช่วงเวลาที่นำน้ำมาใช้ ถ้าต้องเลือกระหว่างน้ำกระด้างกับน้ำอ่อน การดื่มน้ำกระด้างจะดีกับสุขภาพมากกว่า เนื่องจากมีเกลือน้อยกว่า แต่หากไม่แน่ใจคุณภาพ หรือสงสัยว่าอาจมีสิ่งปนเปื้อนในน้ำ ควรดื่มน้ำบรรจุขวด

น้ำแร่และน้ำกรอง กฎหมายระบุว่า น้ำแร่เป็นน้ำที่ได้จากแหล่งธรรมชาติในพื้นที่อนุรักษ์ที่มีองค์ประกอบคงที่ และปราศจากสิ่งปนเปื้อนใดๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ จึงบรรจุขวดและดื่มได้เลยโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการใดๆ แต่คุณภาพของน้ำแร่แต่ละยี่ห้อก็แตกต่างกันได้มาก ผู้มีปัญหาสุขภาพที่ต้องบริโภคอาหารเกลือต่ำ ควรเลือกน้ำแร่ที่ระบุว่ามีโซเดียมเท่ากับ หรือน้อยกว่า 20 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่วนน้ำแร่ที่มีปริมาณโซเดียมมากากว่า 200 มิลลิกรัม ต่อลิตรนั้นถือว่ามากเกินไปสำหรับทุกคน

หากไม่แน่ใจในคุณภาพน้ำ อาจใช้วิธีกรองก่อนดื่มก็ได้  แต่การกรองเอาสิ่งปนเปื้อนออกก็จะทำให้สูญเสียเกลือแร่บางอย่างไปด้วย เครื่องง่ายๆที่ใช้ถ่านเป็นตัวกรองจะช่วยกำจัดคลอรีนและอนุภาคของแข็งที่มองเห็นได้เกือบทั้งหมด ส่วนเครื่องกรองที่ซับซ้อนมากขึ้น อาจกรองได้ทั้งเชื้อโรครวมทั้งสารเคมีและเกลือแร่บางอย่าง ควรเปลี่ยนไส้กรองหรือวัสดุที่ใช้ในการกรองบ่อยๆ

สัญญาณเตือนว่าร่างกายกำลังจะขาดน้ำ ได้แก่ปัสสาวะสีเข้ม คลื่นไส้ วิงเวียน ปวดศีรษะ ไม่มีสมาธิ หมดแรง และสับสน สำหรับคนที่ร่างกายไวต่อการสะสมแคลเซียมและสารอื่นๆ ถ้าหากขาดน้ำนานๆ และบ่อยๆ อาจทำให้เกิดนิ่วในไต ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดที่ไตแบบเฉียบพลันตามมา

หมายเหตุ  ข้อมูลจาก หนังสือ คู่มือสุขภาพประจำบ้าน สำนักพิมพ์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด

หมายเลขบันทึก: 356192เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2010 12:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 13:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท