ผชช.ว.ตาก (25): รายละเอียดรายวิชาในหลักสูตร "หมออนามัยติดปีก"


ในแต่ละรายวิชามีอาจารย์ผู้รับผิดชอบและประสานงานรายวิชา มีการจัดทำรายละเอียดสาระการเรียนรู้ (Course syllabus) ในทุกรายวิชาเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการจัดการฝึกอบรม

หลักสูตรการสาธารณสุขเฉพาะทางด้านการบริการปฐมภูมิหรือหมออนามัยติดปีกนี้ มีทั้งหมด 18 หน่วยกิต จำนวน 5 รายวิชา เป็นภาคทฤษฎี 4 รายวิชาและภาคปฏิบัติ 1 รายวิชา โดยมีรายละเอียดแต่ละรายวิชา ดังนี้

1. สุขภาพ ระบบสุขภาพและการบริการปฐมภูมิ   3(2-2-5)

คำอธิบายรายวิชา ศึกษาและฝึกปฏิบัติแนวคิดเรื่องสุขภาพ ระบบสุขภาพ ระบบสุขภาพชุมชน การปฏิรูประบบสุขภาพที่พึงประสงค์และการปฏิรูประบบริการสาธารณสุข การสาธารณสุขมูลฐานและการดูแลสุขภาพภาคประชาชนที่สนับสนุนการจัดบริการปฐมภูมิ การประยุกต์ใช้แนวคิดและเครื่องมือทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาทางการแพทย์ บทบาทของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยในการดูแลสุขภาพในเครือข่ายบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิและตติยภูมิ  การจัดระบบบริการที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านและการแพทย์ทางเลือกในการดูแลสุขภาพ การพัฒนาคุณภาพบริการระดับปฐมภูมิ การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย การจัดการความรู้และแนวทางเวชปฏิบัติอิงหลักฐาน รวมทั้งการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และการใช้แผนที่ความคิดในการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ

หัวข้อการฝึกอบรม (หัวข้อละ 8 ชั่วโมงหรือ 1 วัน แบ่งเป็นทฤษฎี 4 ชั่วโมง ปฏิบัติ 4 ชั่วโมง)

1.1. แนวคิดสุขภาพ ระบบสุขภาพ ระบบสุขภาพชุมชนและการปฏิรูประบบสุขภาพที่พึงประสงค์

1.2. การสาธารณสุข การสาธารณสุขมูลฐาน การสาธารณสุขแนวใหม่และการดูแลสุขภาพภาคประชาชนกับการบริการปฐมภูมิ

1.3. การประยุกต์ใช้แนวคิดและเครื่องมือทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาทางการแพทย์ในการบริการปฐมภูมิ

1.4. บทบาทของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยในการดูแลสุขภาพในเครือข่ายบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิและตติยภูมิและการจัดระบบบริการที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์

1.5. การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านและการแพทย์ทางเลือกในการดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิ

1.6. การประกันสุขภาพและการพัฒนาคุณภาพบริการระดับปฐมภูมิ

1.7. การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และการใช้แผนที่ความคิดในการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ

1.8. การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย การจัดการความรู้และแนวทางเวชปฏิบัติอิงหลักฐานในการบริการปฐมภูมิ

2. การดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิ    3(2-2-5)

คำอธิบายรายวิชาศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับแนวคิดระบบบริการสุขภาพ การดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิ การวินิจฉัย การประเมินปัญหาสาธารณสุขของชุมชนและการวางแผนแก้ไขปัญหาโดยชุมชนมีส่วนร่วม การป้องกันโรค การควบคุมโรคและการเฝ้าระวังโรคที่พบบ่อยในการบริการปฐมภูมิ การส่งเสริมสุขภาพบุคคล ครอบครัวและชุมชนแบบองค์รวม การประยุกต์ใช้แนวคิดพฤติกรรมสุขภาพ การดูแลตนเอง การเสริมพลังและการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้พิการและผู้สุงอายุที่บ้านและชุมชน การดูแลผู้ป่วยตามหลักการเวชศาสตร์ครอบครัวในระบบริการปฐมภูมิ การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมโดยมีผู้ป่วยและครอบครัวเป็นศูนย์กลาง การดูแลด้านจิตสังคม การดูแลประคับประคอง การให้คำปรึกษารายบุคคล รายกลุ่มและกลุ่มช่วยเหลือกันเองในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุและผู้พิการในระบบบริการปฐมภูมิ

หัวข้อการฝึกอบรม (หัวข้อละ 8 ชั่วโมงหรือ 1 วัน แบ่งเป็นทฤษฎี 4 ชั่วโมง ปฏิบัติ 4 ชั่วโมง)

2.1. แนวคิดระบบบริการสุขภาพและการดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิ

2.2. การวินิจฉัย การประเมินปัญหาสาธารณสุขของชุมชนและการวางแผนแก้ไขปัญหาโดยชุมชนมีส่วนร่วม

2.3. การประยุกต์หลักการระบาดวิทยาในการบริการระดับปฐมภูมิ

2.4. การป้องกันโรค การควบคุมโรคและการเฝ้าระวังโรคที่พบบ่อยในการบริการปฐมภูมิ

2.5. การส่งเสริมสุขภาพบุคคล ครอบครัวและชุมชนแบบองค์รวมในการบริการปฐมภูมิ

2.6. การประยุกต์ใช้แนวคิดพฤติกรรมสุขภาพ การดูแลตนเอง การเสริมพลังและการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้พิการและผู้สุงอายุที่บ้านและชุมชน

2.7. การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมตามหลักการเวชศาสตร์ครอบครัวในระบบบริการปฐมภูมิ

2.8. การดูแลด้านจิตสังคม การดูแลประคับประคอง การให้คำปรึกษารายบุคคล รายกลุ่มและกลุ่มช่วยเหลือกันเองในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุและผู้พิการในระบบบริการปฐมภูมิ

3.  การรักษาโรคเบื้องต้นในการบริการปฐมภูมิ 3(2-2-5)

คำอธิบายรายวิชา ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการประเมินสภาวะสุขภาพบุคคล หลักการวินิจฉัยโรคที่พบบ่อยในชุมชน อาการและอาการแสดงที่ผิดปกติที่พบบ่อยในเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ การรักษาโรคเบื้องต้นที่พบบ่อยในผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุและเด็ก การใช้ยาในการรักษาโรคเบื้องต้นและการปรึกษา การส่งต่อ

หัวข้อการฝึกอบรม (หัวข้อละ 8 ชั่วโมงหรือ 1 วัน แบ่งเป็นทฤษฎี 4 ชั่วโมง ปฏิบัติ 4 ชั่วโมง)

3.1. การประเมินสภาวะสุขภาพบุคคล หลักการวินิจฉัยโรคที่พบบ่อยในชุมชน (12 ชั่วโมง)

3.2. อาการและอาการแสดงที่ผิดปกติที่พบบ่อยในเด็ก

3.3. อาการและอาการแสดงที่ผิดปกติที่พบบ่อยในผู้ใหญ่

3.4. อาการและอาการแสดงที่ผิดปกติที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ

3.5. การรักษาโรคเบื้องต้นที่พบบ่อยในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

3.6. การรักษาโรคเบื้องต้นที่พบบ่อยในเด็ก

3.7. การใช้ยาในการรักษาโรคเบื้องต้น

3.8. การปรึกษาและการส่งต่อ (4 ชั่วโมง)

4. การดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุ ฉุกเฉินและหัตถการ   3(2-2-5)

คำอธิบายรายวิชา ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการประเมินและดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน อุบัติเหตุและสาธารณภัย การจัดระบบการแพทย์ฉุกเฉิน การเจ็บป่วยฉุกเฉินและอุบัติเหตุที่พบบ่อยในเด็กและการดูแลรักษา การเจ็บป่วยฉุกเฉินและอุบัติเหตุที่พบบ่อยในผู้ใหญ่และการดูแลรักษา การเจ็บป่วยฉุกเฉินและอุบัติเหตุที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการดูแลรักษา การเจ็บป่วยฉุกเฉินและอุบัติเหตุที่พบบ่อยทางสูตินรีเวชและการดูแลรักษา การทำหัตถการพื้นฐานในการบริการระดับปฐมภูมิ หลักการช่วยเหลือผู้ป่วยเสียเลือด ช็อค ไฟไหม้น้ำร้อนลวก ไฟช๊อต การได้รับสารพิษ การเข้าเฝือกชั่วคราว การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและการนำส่ง การปฐมพยาบาลและการช่วยฟื้นคืนชีพสำหรับบุคลากรทางการแพทย์

หัวข้อการฝึกอบรม (หัวข้อละ 8 ชั่วโมงหรือ 1 วัน แบ่งเป็นทฤษฎี 4 ชั่วโมง ปฏิบัติ 4 ชั่วโมง)

4.1.       หลักการประเมินและดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน อุบัติเหตุและสาธารณภัยและการจัดระบบการแพทย์ฉุกเฉิน

4.2.       การปฐมพยาบาลและการช่วยฟื้นคืนชีพสำหรับบุคลากรทางการแพทย์

4.3.       การเจ็บป่วยฉุกเฉินและอุบัติเหตุที่พบบ่อยในเด็กและการดูแลรักษา

4.4.       การเจ็บป่วยฉุกเฉินและอุบัติเหตุที่พบบ่อยในผู้ใหญ่และการดูแลรักษา

4.5.       การเจ็บป่วยฉุกเฉินและอุบัติเหตุที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการดูแลรักษา

4.6.       การเจ็บป่วยฉุกเฉินและอุบัติเหตุที่พบบ่อยทางสูตินรีเวชและการดูแลรักษา

4.7.       การทำหัตถการพื้นฐานในการบริการระดับปฐมภูมิ

4.8.       หลักการช่วยเหลือผู้ป่วยภาวะวิกฤติเบื้องต้นในกรณีไฟไหม้น้ำร้อนลวก ไฟช๊อต การได้รับสารพิษ การเข้าเฝือกชั่วคราว การถูกสัตว์มีพิษกัด การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและการนำส่ง

5. การฝึกปฏิบัติการบริการปฐมภูมิ 6 (340 ชั่วโมงหรือ 6 สัปดาห์)

คำอธิบายรายวิชา ฝึกปฏิบัติในโรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชนและศูนย์สุขภาพชุมชนหรือสถานีอนามัยภายใต้การดูแลให้คำปรึกษาแนะนำของแพทย์และอาจารย์พี่เลี้ยงในการฝึกซักประวัติ การตรวจร่างกาย การให้การรักษาโรคเบื้องต้นและฝึกปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินโดยการประยุกต์ใช้หลักการที่ได้ฝึกอบรมจากภาคทฤษฎี ฝึกทำหัตถการ เย็บแผล ผ่าฝี ถอดเล็บและผ่าเอาสิ่งแปลกปลอมในตำแหน่งที่ไม่เป็นอันตรายหรือหัตถการอื่นๆที่จำเป็นในการบริการปฐมภูมิ การจัดทำรายงานกรณีศึกษา การสัมมนา นำเสนอและอภิปรายรายงาน

หัวข้อการฝึกอบรม

5.1. การฝึกปฏิบัติในแผนกผู้ป่วยนอกและห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลทั่วไปในเครือข่ายบริการที่ปฏิบัติงานจริงของผู้เข้าฝึกอบรม จำนวน12 วันๆละ 10 ชั่วโมง รวม 120 ชั่วโมง (จันทร์-เสาร์)

5.2. การฝึกปฏิบัติในแผนกผู้ป่วยนอกและห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลชุมชนในเครือข่ายบริการหรือใกล้เคียงที่ปฏิบัติงานจริงของผู้เข้าฝึกอบรม จำนวน12 วันๆละ 10 ชั่วโมง รวม 120 ชั่วโมง (จันทร์-เสาร์)

5.3. การฝึกปฏิบัติงานในศูนย์สุขภาพชุมชนหรือสถานีอนามัยที่คณะกรรมการฝึกอบรมกำหนดในอำเภอที่ผู้อบรมปฏิบัติงานจริง จำนวน 6 วันๆละ 10 ชั่วโมง รวม 60 ชั่วโมง

5.4. การสัมมนาผู้ป่วย จำนวน 5 วันๆละ 8 ชั่วโมง รวม 40 ชั่วโมง

5.5. ประสบการณ์ขั้นต่ำที่ผู้อบรมแต่ละคนต้องปฏิบัติและบันทึกไว้ในWork Book ประกอบด้วย

5.5.1. ฝึกซักประวัติ ตรวจร่างกายและให้การรักษาโรคเบื้องต้น จำนวน 50 ราย

5.5.2. ฝึกการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน จำนวน 30 ราย

5.5.3. ฝึกทำหัตถการ เย็บแผล ผ่าฝี ถอดเล็บและผ่าเอาสิ่งแปลกปลอมในตำแหน่งที่ไม่เป็นอันตรายหรือหัตถการอื่นๆที่จำเป็นในการบริการปฐมภูมิ จำนวน 10 ราย

5.5.4. ทำรายงานกรณีศึกษา แหล่งฝึกละ 3 รายต่อบุคคล จำนวน 3 ราย

5.5.5. การสัมมนา การนำเสนอและอภิปรายรายงานกรณีศึกษารายกลุ่ม (กลุ่มละไม่เกิน 3 คน) จำนวน 1 ราย

 

หมายเลขบันทึก: 355986เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2010 12:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2019 20:10 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับคุณหมอ

แวะมาชวนไปอ่านบันทึกนี้ครับ

เหตุเกิดที่โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท