วันที่ 1 กันยายน 2548 เวลาประมาณ ตี 3 ท่านเลขากลุ่มฯ (อ.จเรศักดิ์) ขับรถไปหาประธานกลุ่มฯ (อ.เสวก) ที่บ้าน (คุ้งตะเภา จ.อุตรดิตถ์) อ.เสวกซึ่งตอนแรกกะว่าจะเอารถไปคันเดียว เกิดเปลี่ยนใจกะทันหัน ขอขับรถไปด้วย (เพราะจะไปอยู่กรุงเทพฯ 3 วัน เยี่ยมคุณแม่อายุ 90 กว่า ต้องใช้รถ) ประธานกลุ่มฯขับรถนำ เลขากลุ่มขับรถตามฯ ความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เดินทางตอนตีสามเศษ เพื่อมารับที่ปรึกษากลุ่มฯ (อ.สมลักษณ์) ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร (ที่ปรึกษานั่งทำงานตั้งแต่เทื่ยงคือถึงตีห้า)
ประธานกลุ่มฯ ขับรถนำคณะออกจากมน.ตอนตีห้าเศษ เพื่อจะไปรับอ.วีรวัฒน์ ทีเพชรบูรณ์ เลขากลุ่มฯขับรถตม ได้อ.สมลักษณ์นั่งเป็นเพื่อคุยอยู่ข้าง ๆ ตลอดการเดินทางพบฝนตลอด จึงทำความเร็วไม่ได้มาก ไปพบอ.วีรวัฒน์เกือบโมงเช้าแล้ว เราใช้เส้นทางที่ผ่านจังหวัดสระบุรี เข้ากรุ่งเทพฯ แวะทานข้าวตอน 8 โมงกว่า เข้าใจว่าเราคงไป Late สัก 30 นาที คณะของเราได้นัดพบคุณชัชวาล มณีแสง ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายบริการการเกษตร กล่มเนสท์เล่ประเทศไทย ในเวลา 10.00 น. ซึ่งคุณชัชวาล ได้กรุณาไปรอเราอยู่แล้วที่ "Visitor center" บริเวณโรงงานนวนคร
กว่าเราจะไปถึง Visitor center และตามหาคุณชัชวาลพบ เวลาเกือบ 11 โมงแล้ว มีโอกาสสนทนาแนะนำตัวกันเล็กน้อย คุณชัชวาลแนะนำผู้ช่วย (ซึ่งผมจำชื่อไม่ได้ ขออภัย) แล้วพาไปในส่วนที่มีการต้อนรับอย่างเป็นทางการในการชม บริษัท เนสท์เล่ ฟู้ดส์ (ประเทศไทย) จำกัด โรงงานนวนคร) ซึ่งเป็น โรงงานผลิตนมน้ำบรรจุกระป๋องที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดของเนสท์เล่" ได้พบกับการต้อนรับของพนักงานต้อนรับสาวสวย 2 ท่าน คือ คุณส้ม=วัชรินทร์ และคุณปัทมา (ขออภัยถ้าจำชื่อผิด) เอาเป็นว่า ใครเป็นใครดูรูปเอาเองแล้วกันครับ
พอเริ่มการต้อนรับอย่างเป็นทางการ เราเข้าไปยืนอยู่ในห้องหนึ่ง มีหมี (ปลอม) โรยตัวลงมาจากเชือก กล่าวคำต้อนรับ และก็มีการฉายภาพประวัติของเนสท์เล่ พร้อมคำบรรยาย ดังที่ผมจะเล่าให้คุณฟังดังนี้
คำว่า Nestle' ในภาษาเยอรมัน หมายถึง "รังนกเล็กๆ" เป็นรังนกที่อยู่ร่วมกันในรวงรังที่อบอุ่น ดังนั้นเขาจึงเลือกใช้ภาพของแม่นกที่กำลังป้อนอาหารให้ลูกน้อยในรังเป็นสัญลักษณ์ ดังปณิธานของ Nestle' ที่จะ ผลิตอาหารในคุณภาพเพื่อชีวิตที่ดี
ย้อนกลับไปดูประวัติของกลุ่มเนสท์เล่ กว่า 130 ปีมาแล้ว ถือกำเนิดมาจากนักเคมีชาวเยอรมัน "อองรี เนสท์เล่" เป็นผู้คิดค้นอาหารนมสำเร็จรูปสำหรับทารกได้สำเร็จ ในปี พ.ศ. 2410 ที่เมืองเวเวย์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มาจากแรงบันดาลใจที่พบทารกน้อยเสียชีวิตในขณะที่อายุไม่ถึงปี เนื่องจากมีมารดาจำนวนมากไม่สามารถให้น้ำนมบุตรได้ด้วยตนเอง ด้วยสาเหตุทางสังคมและเศรษฐกิจ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาอาหารนมสำหรับทารกของเนสท์เล่ ได้ช่วยชีวิตทารกน้อยอีกมากมายทั่วโลก
Henri Nestle' ได้บูรณาการความรู้ของเขา กับการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมผลงานทางวิทยา-ศาสตร์ที่ได้รับการตีพิมพ์ในสมัยนั้น จนสามารถคิดค้นธัญญาหารผสมนมสำหรับทารกชนิดแรก ที่มีชื่อว่า "ฟารีน แล็คเต้ Farine Lacte'e" (คนไทยรู้จักกันในนามซีรีแล็ค) ขึ้น
เนสท์เล่ ตระหนักดีว่า "น้ำนมแม่ เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก" ดังนั้นอาหารที่จะมาทดแทนนมมารดา ต้องทำจากส่วนผสมที่ได้มาตรฐานระหว่างน้ำนมวัวคุณภาพ และแป้งสาลีอย่างดี โดยแป้งสาลีนั้นต้องทำให้เป็นโมเลกุลเล็ก ๆ เพื่อให้ทารกสามารถย่อยได้ง่าย อีกทั้งผลิตภัณฑ์นั้นจะต้องง่ายและสะดวกในการจัดเตรียมสำหรับมารดา และราคาต้องอยู่ในมาตรฐานที่มารดาส่วนใหญ่จะหาซื้อได้อีกด้วย สิ่งที่อองรี เนสท์เล่ตระหนักอยู่เสมอคือ " คุณภาพที่ได้มาตรฐาน เป็นปัจจัยสำคัญของความสำเร็จ"
เนสท์เล่ทั่วโลก เนสท์เล่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมือง เวเวย์ สวิตเซอร์แลนด์ ประกอบด้วย 3 บริษัท คือ 1. เนสท์เล่ เอส.เอ. 2. เนสท์เล่ เวิร์ลเทรด คอร์ปอเรชั่น 3. เนสเทค เอส.เอ. เนสท์เล่มีอยู่ทั่วโลก 85 ประเทศ มีโรงงานผลิตกว่า 500 แห่ง มีสินค้ากว่า 15,000 ชนิด มีศูนย์วิจัยใหญ่ 1 แห่ง มีศูนย์วิจัยและพัฒนา 16 แห่ง ใน 4 ทวีป
กลุ่มเนสท์เล่ ประเทศไทย เนสท์เล่ในประเทศไทย ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2436 (กว่า 1 ศตวรรษมาแล้วหรือ 112 ปี) เมื่อมีการโฆษณานมข้นหวาน มิลค์เมด Milkmaid (แหม่มทูนหัว) เป็นครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ บางกอกไทม์
ปัจจุบันเนสท์เล่ ประเทศไทย ดูแลพนักงานกว่า 3,000 คน มีโรงงานผลิต 8 แห่ง (อยู่ที่นวนคร 3 โรงงาน) ในแต่ละปีเนสท์เล่จะสั่งซื้อวัตถุดิบและบรรจุภัณฑ์ในประเทศกว่า 16,000 ราย เป็นมูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาท บริษัทในกลุ่มเนสท์เล่ประเทศไทย ประกอบด้วย
ผมเห็นเจตนารมย์หรือปณิธานของบริษัทที่ว่า "Good food, Good life" ทำให้ผมนึกถึงกลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งภาคเหนือตอนล่างของผมว่าผมควรจะให้เขาใช้ปณิธานว่า "Good Quality, Good Governance, Good life" หมายความว่าถ้าเรามีความตั้งใจที่จะผลิต ผลิตภัณฑ์จากผึ้งให้ดีตั้งแต่ต้นน้ำ คือกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งแล้ว ประกอบกับผู้บริหารกลุ่มซึ่งจะต้องรับซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อต่อยอดและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ต้องการแล้ว ยังต้องมีความซื่อสัตย์และเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย ของดีต้องว่าดี ราคาต้องยุติธรรม ของที่คุณภาพรองลงมา ราคาต้องต่ำลงมาด้วย เมื่อเกษตรกรทำของดีมีคุณภาพ ขายต้องได้ราคาที่สมเหตุผล ทำให้มีทุนไปใช้จ่ายในการเลี้ยงผึ้งและดูแลครอบครัว คุณภาพขีวิตก็จะดีขึ้น
คณะของเราได้ไปดูงานหลายส่วนที่โรงงานนวนคร ซึ่งเป็นส่วนที่ทางเนสท์เล่จัดให้เข้าชมได้เรียกว่า visitor centor ไปดูส่วนจำลองที่เป็นฟาร์มวัวนม และดูส่วนที่เป็นการจำลองชีวิตในบ้านที่ใช้ผลิตภัณฑ์ของเนสท์เล่เกี่ยวกับอาหารเสริมสุขภาพ ดูสายงานการผลิตนมข้นหวาน ซึ่ง ผลิตได้วันละ 2.5 ล้านกระป๋อง และ 80 เปอร์เซนต์ของกำลังผลิตเป็นการส่งออก สุดท้ายเป็นส่วนภาคปฏิบัติคือการได้ไปชมร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ และได้ชิมผลิตภัณฑ์หลายอย่างของที่นี่ ทานอาหารเที่ยง แล้วก็แยกย้ายกันกลับ ดังภาพกิจกรรมที่นำมาฝากครับ
ไม่มีความเห็น