โครงการผลิตสื่อนวัตกรรมการศึกษา


ชื่อโครงการ       ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน  เรื่อง  สารในชีวิตประจำวัน

 

ชื่อผู้จัดทำโครงการ       นางสาวพัชรินทร์    ด้วงเฟื่อง รหัส 52741237

 

หลักการและเหตุผล            

 วิชาวิทยาศาสตร์ได้ถูกบรรจุไว้ในหลักสูตรทุกระดับชั้น  สำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดให้วิชาวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่ผู้เรียนทุกคนต้องเรียนเป็นสาระพื้นฐานความเข้าใจในวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน  เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาเพื่อให้มีความสามารถในด้านความรู้  ความคิด  ในการเรียนรู้ระดับมัธยมศึกษาต่อไป 

 

 

  การสอนที่ขาดเทคนิคการสอนที่เหมาะสม  จะทำให้ผู้เรียนเบื่อหน่าย  ขาดเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ไม่สามารถนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ตนได้เรียนมาใช้ในลักษณะของการบูรณาการความรู้ได้ 

 

นั่นเป็นเพราะ ครูส่วนใหญ่ยังไม่ได้นำนวัตกรรมเข้ามาใช้ในการจัดการเรียนการสอน และเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์บางหน่วยมี ลักษณะเป็นนามธรรม  ไม่น่าสนใจ  จึงต้องมีการออกแบบการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ ได้ศึกษา  ค้นคว้า ด้วยตนเองโดยการทดลอง  

 

เพื่อเป็นตัวช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจและมองเห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น  ซึ่งจุดนี้เป็นจุดอ่อนที่สำคัญที่สุดของการเรียนวิทยาศาสตร์ ดังนั้นผู้สอนจึงต้องการผลิตสื่อการสอน (ชุดการสอน) เพื่อแก้ไขปัญหาที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น

 

โดยชุดการสอนที่จัดทำขึ้นจะเป็นชุดการสอน ที่แต่ละศูนย์การเรียนจะมีการแฝงการทดลองไว้ด้วย เพื่อฝึกให้นักเรียนได้ลงมือทำการทดลองด้วยตนเอง  และมีความเข้าใจในกิจกรรมการเรียนมากยิ่งขึ้น

 

วัตถุประสงค์  

  • เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และความเข้าใจในเนื้อหาสาระต่อกิจกรรมการเรียนการสอนได้ดีขึ้น
  • เพื่อให้การเรียนในห้องเรียนเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน  ทำให้นักเรียนสามารถเรียนได้อย่างทั่วถึงทุกคน
  • เพื่อสร้างความน่าสนใจในบทเรียนให้มีมากขึ้น เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในห้องเรียน
  • เพื่อให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์
  • เพื่อให้นักเรียนสามารถนำความรู้จากการเรียนไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

 

ขอบเขตของสื่อนวัตกรรมที่นำไปใช้

 

   สาระการเรียนรู้พื้นฐานวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 

 

    ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียนที่จะช่วยให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระต่อกิจกรรมการเรียนการสอนได้ดีขึ้น มีเจตคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

 

ขั้นตอนการดำเนินงาน

 

              1. ศึกษาหลักวิธีการสร้าง และรูปแบบของชุดการสอนจากตำรา เอกสาร  บทความ และผลงานการวิจัยต่าง ๆ

 

              2.  ศึกษาเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน จากแบบเรียน และหนังสืออ่านประกอบต่าง ๆ

 

              3.  กำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยแบ่งเนื้อหาวิชาที่เกี่ยวข้องกันออกเป็นหน่วย ๆ คือ

 

                     หน่วยที่ 1 สมบัติของสาร

 

                     หน่วยที่ 2 การเปลี่ยนแปลงของสาร

 

                     หน่วยที่ 3 การแยกสาร

 

                     หน่วยที่ 4 สารที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

 

                     หน่วยที่ 5 สารอันตราย

 

              4.  กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังในแต่ละหน่วย

 

              5.  เรียบเรียง และเขียนโครงร่าง ชุดการสอน   โดยมีแผนการสอนดังนี้

 

 

เนื้อเรื่อง

กิจกรรมการเรียน

สื่อการสอน

          ประเมินผล

 

ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

1.ทบทวนความรู้เรื่องสารและยกตัวอย่าง

สารและองค์ประกอบของสาร

2.นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม

รูปภาพตัวอย่างสิ่งต่างๆ เช่น รูปเครื่องประดับ เหรียญ

น้ำหวาน น้ำส้มสายชูเป็นต้น

ประเมินผลก่อนเรียน

ทำข้อสอบก่อนเรียน

10 ข้อ

1. สมบัติของสาร

ขั้นประกอบกิจกรรม

      1. อ่านบัตรคำสั่งแล้วปฏิบัติตามคำสั่ง

2. อ่านบัตรเนื้อหา

3. อ่านบัตรกิจกรรมและประกอบกิจกรรมตามที่กำหนด โดยมีกิจกรรม คือ

เรื่อง “ มาจำแนกสารกัน ”

4. อ่านบัตรคำถามและตอบคำถาม

5. อ่านบัตรเฉลย

1. บัตรคำสั่ง

2. บัตรเนื้อหา

3. บัตรกิจกรรม

4. บัตรคำถาม

5. บัตรเฉลย

 

ประเมินผลกิจกรรม

1. บอกสถานะของสารได้

2. บอกความเหมือนหรือ

แตกต่างของสารทั้ง 3 สถานะได้

3.สามารถจำแนกประเภทของ

สารโดยใช้สถานะและเกณฑ์อื่น

ได้

2. การเปลี่ยนแปลงของสาร

1. อ่านบัตรคำสั่ง

2. อ่านบัตรเนื้อหา

3. อ่านบัตรกิจกรรมและประกอบกิจกรรมตามที่กำหนดโดยมีกิจกรรม คือ

เรื่อง “ ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสาร ”

4. อ่านบัตรคำถามและตอบคำถาม

5. อ่านบัตรเฉลย

1. บัตรคำสั่ง

2. บัตรเนื้อหา

3. บัตรกิจกรรม

4. บัตรคำถาม

5. บัตรเฉลย

6.เครื่องมือการทดลอง

1. บอกการเปลี่ยนสถานะ

ของสารได้

2. บอกสมบัติของสาร

เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงได้

 

3. การแยกสาร

1. อ่านบัตรคำสั่ง

2. อ่านบัตรเนื้อหา

3. อ่านบัตรกิจกรรมและประกอบกิจกรรมตามที่กำหนดโดยมีกิจกรรม คือ

เรื่อง “ การกรอง ”

4. อ่านบัตรคำถามและตอบคำถาม

5. อ่านบัตรเฉลย

1. บัตรคำสั่ง

2. บัตรเนื้อหา

3. บัตรกิจกรรม

4. บัตรคำถาม

5. บัตรเฉลย

6.เครื่องมือการทดลอง

บอกวิธีการแยกสารโดย

การกรองและวิธีอื่นๆได้

4. สารที่ใช้ใชีวิตประจำวัน

1. อ่านบัตรคำสั่ง

2. อ่านบัตรเนื้อหา

3. อ่านบัตรกิจกรรมและประกอบกิจกรรมตามที่กำหนดโดยมีกิจกรรม คือ

เรื่อง “ สารรอบตัว ”

ชีวิตประจำวัน

4. อ่านบัตรคำถามและตอบคำถาม

5. อ่านบัตรเฉลย

1. บัตรคำสั่ง

2. บัตรเนื้อหา

3. บัตรกิจกรรม

4. บัตรคำถาม

5. บัตรเฉลย

 

สามารถบอกวิธีเลือกใช้สาร

ในชีวิตประจำวันให้ถูกต้อง

และปลอดภัยได้

5. เกมจัดหมวดหมู่ภาพ 

1. อ่านบัตรคำสั่ง

2. ร่วมกันเล่นเกมจัดหมวดหมู่ภาพ

 

1. บัตรคำสั่ง

2. เกมจัดหมวดหมู่ภาพ

 

สามารถจัดประเภทของสาร

ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันตาม

สมบัติและการนำไปใช้

ประโยชน์ได้ 

 

ขั้นสรุปการเรียน

ครูและนักเรียนอภิปรายสรุปร่วมกัน

 

ประเมินผลหลังเรียน

ทำข้อสอบหลังการเรียน

10 ข้อ


              6. จัดทำ ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน

              7. ตรวจทาน แก้ไขข้อผิดพลาด และข้อบกพร่องของชุดการสอน

ระยะเวลาในการจัดทำ 

  ตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน 2553 – 30 พฤษภาคม 2553

งบประมาณที่ใช้จริง

       วัสดุอุปกรณ์ ประมาณ  1,000 บาท

บรรณานุกรม

                1. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ

                2. เอกสารการสร้างชุดการสอนจาก internet

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 355534เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2010 12:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 17:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

รายละเอียดของกระบวนเรียน / สื่อที่ใช้ มีอะไรบ้างครับ อธิบายให้ฟังหน่อย ;)

สวัสดีค่ะ อาจารย์

กระเจี๊ยบได้ทำการอธิบายเพิ่มเติมแล้วนะคะ

โดยทำการเขียนเป็นแผนการสอนมาเลย

ตั้งใจเขียนเป็นตาราง แต่ไม่รู้ทำไมออกมาไม่มีตาราง

ไม่รู้ว่าทำถูกรึเปล่า ยังไงรบกวนอาจารย์ตรวจดูใหม่ด้วยนะคะ

ขอบคุณมากค่ะ

เอ้า ... ลองลงมือทำได้ครับ อยากเห็นชิ้นงานแล้ว ;)

สวัสดีค่ะอาจารย์

แทบกรี๊ดเลยค่ะ รอลุ้นเกือบตีสองเลย

ผ่านแล้ว ขอบคุณมากนะคะ

เวลาของคนเรามี 24 ชั่วโมงนะครับ แล้วก็มีโอกาสมาพบกันตอนเกือบตีสอง 555

สู้ สู้ ครับ ;)

สวัสดีจ๊ะ กระเจี๊ยบ

ดีใจด้วยนะ โครงการผ่านแล้ว

สู้ ๆ นะคะ

สวัสดีค่ะ คุณ sainamphueng

ขอบคุณมากค่ะ

สู้ ๆ เหมือนกันนะคะ

สวัสดีจ๊ะกระเจี๊ยบ

ทำโครงการแล้วหรอ ผ่านแล้วดีใจด้วย

ขอบคุณค่ะ

ลูกไครเนี่ย นามสกุลเดียวกันเลย เป็นคนที่ไหนครับ อ.พิชัย อุตรดิตถ์ หรือเปล่า

พ่อเป็นคน อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ค่ะ

ไม่น่าเชื่อเลยว่าจะได้มาพบคนนามสกุลเดียวกันใน web ด้วย

ยินดีที่ได้รู้จักนะคะ

ขอโทษนะ หนูกระเจี๊ยบ ขอทราบรายละเอียดของพ่อหนูหน่อยได้ไหม อยู่บ้านอะไร ชื่ออะไร แล้วหนูเรียนหรือทำงานที่ไหน พี่เป็นคนบ้านหาดทับยา ตอนนี้ทำงานอยู่ที่ปทุมธานี ตอบทาง Mail ก็ได้ [email protected] (อยากรู้ว่า นามสกุล ด้วงเฟื่อง มีมากน้อยแค่ไหน)

ขอโทษนะ หนูกระเจี๊ยบ ขอทราบรายละเอียดของพ่อหนูหน่อยได้ไหม อยู่บ้านอะไร ชื่ออะไร แล้วหนูเรียนหรือทำงานที่ไหน พี่เป็นคนบ้านหาดทับยา ตอนนี้ทำงานอยู่ที่ปทุมธานี ตอบทาง Mail ก็ได้ [email protected] (อยากรู้ว่า นามสกุล ด้วงเฟื่อง มีมากน้อยแค่ไหน)

เฮ้ย มาได้ไงเนี่ย

โลกกลมเจงๆ

เรียนครูอยู่หรอ แล้วตอนนี้สอนที่ไหนอะ

จำเราได้ป่าวเนี่ย

จำไม่ได้ ขอชื่อ นามสกุล ด้วยจะได้รู้ว่าเป็นใคร เรียนครูจบนานแล้วแต่ไม่ได้เป็นครู ติดต่อทาง mail ก็ได้ [email protected]

ดีใจด้วยสำหรับผลงานที่คนรุ่นใหม่ไฟแรงได้คิดได้ทำ และเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท