ศูนย์ข่าวพลเมือง ฅนคอน
ศูนย์ข่าวพลเมือง ฅนคอน เกาะติดชุมชน สิทธิชุมชน สิทธิพลเมือง

ผังมืองและข้อบัญญัติท้องถิ่นทุ่งปรัง บนรอยต่ออุตสาหกรรมที่กำลังเข้ามา


ผังเมืองนี้ มีปัญหามาตั้งแต่ต้น ดังนั้นในการนำผังเมืองมาออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่นขึ้นอีกครั้ง ภาคประชาชนในพื้นที่จึงมีการติดตามตรวจสอบอย่างเข้มข้น โดยได้ส่งเอกสารให้ผู้เชียวชายระดับประเทศ ช่วยพิจารณาให้ คือ “เครือข่ายวางแผนผังเมืองเพื่อสังคม” งานนี้ ภาคประชาชน และ อบต.ทุ่งปรังคงเผชิญหน้าโดยตรง เพราะอย่างไรเสีย เสียงของประชาชน คือ เสียงที่กำหนดอนาคตของตำบล

ผังมืองและข้อบัญญัติท้องถิ่นทุ่งปรัง

บนรอยต่ออุตสาหกรรมที่กำลังเข้ามา

 
เรื่อง: เครือข่ายผังเมืองเพื่อสังคม
ที่มา ศูนย์ข่าวพลเมืองฅนคอน ปีที่ 1 ฉบับที่ 2  15 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์  53
 
       หากจำกันได้ กลางปีที่ผ่านมา พี่น้องแถบอำเภอสิชล ต่อสู้อย่างหนัก เกี่ยวกับการจัดทำผังเมือง เพื่อรองรับเซาร์เทิร์นซีบอร์ด ในที่สุด ผังเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช ไม่ส่งเข้าการพิจาณา ๑๘ ขั้นตอนของผังเมือง เพราะชาวบ้านคัดค้าน กลัวการเปลี่ยนสีในขั้นตอนท้ายๆ ในที่สุดให้ออกเป้นข้อบัญญัติท้องถิ่นแทน
       ด้วยผังเมืองนี้ มีปัญหามาตั้งแต่ต้น ดังนั้นในการนำผังเมืองมาออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่นขึ้นอีกครั้ง ภาคประชาชนในพื้นที่จึงมีการติดตามตรวจสอบอย่างเข้มข้น โดยได้ส่งเอกสารให้ผู้เชียวชายระดับประเทศ ช่วยพิจารณาให้ คือ “เครือข่ายวางแผนผังเมืองเพื่อสังคม” งานนี้ ภาคประชาชน และ อบต.ทุ่งปรังคงเผชิญหน้าโดยตรง เพราะอย่างไรเสีย เสียงของประชาชน คือ เสียงที่กำหนดอนาคตของตำบล
        ด้วยเอกสารที่พิจารณานั้น ประกอบด้วยผังเมืองรวมจังหวัดซึ่งยังไม่ประกาศบังคับใช้อยู่ในขั้นกฤษฎีกา และผังเมืองชุมชนสิชล ที่ผังเมืองจังหวัดว่าจ้างบริษัทพิสุทธิ์ เทคโนโลยี จำกัด ทำให้ ใน ๔ ตำบล คือ สี่ขีด สิชล ฉลอง และทุ่งปรัง
                ความเห็น นักวิชาการ ต่อ ผังเมืองรวมจังหวัด ผังเมืองรวมสิชล ข้อบัญญัติท้องถิ่น และโรงงานปาล์ม-ไฟฟ้า
 
  ๑. ในรายงานผังเมืองสิชล ฉบับสุดท้าย มีประเด็นที่จะค้านได้ดังนี้
    คัดค้านการตั้งโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบ ผลิตพลังงานไฟ้กาซชีวภาพ เพราะ
               ๑)  ขัดกับข้อกำหนดการใช้ที่ดิน ในผังเมืองรวมจังหวัดนครศรีธรรมราช  ซึ่งกำหนดให้เป็นที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม  และห้าม โรงงานทุกจำพวกตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน เว้นแต่โรงงานที่อยู่ในบัญชีท้ายข้อกำหนด ซึ่งก็ห้ามในเรื่องโรงงานผลิตไฟฟ้า  แม้ว่าจะเป็นโรงงานผลิตไฟฟ้าชีวมวลก็ตาม    เพราะฉะนั้น   กิจการโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม ผลิตไฟฟ้านี้  ขัดแย้งกับข้อกำหนดในผังเมืองรวมจังหวัดนครศรีธรรมราช
        ( ดูแผนที่ในรายงาน หน้า ๒-๔๓ และข้อห้ามโรงงานในเอกสาร หน้า ๒-๔๔)
               ๒)  ในร่างผังเมืองรวมชุมชนสิชล  กำหนดบริเวณนี้เป็นการใช้ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม ( แผนที่หน้า๔-๑๔  เอกสารข้อกำหนดซึ่งห้ามโรงงานทุกประเภทตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน เว้นแต่โรงงานท้ายข้อกำหนด  (หน้า ๔-๒๑ และ๔-๒๒)   แต่เมื่อไปดูบัญชีท้ายข้อกำหนด  จะเห็นว่า บริเวณที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม สามารถประกอบกิจการโรงงานลำดับที่ ๗ คือ การสกัดน้ำมันจากพื้ชได้  แต่ไม่อนุญาตกิจการที่ผลิตกระแสไฟฟ้า ( เอกสารตารางหน้า๔-๒๙ )
 
2. ในเอกสาร พรบ.โรงงาน พ.ศ.2535  ซึ่งมีบัญชีท้ายกฎกระทรวง พบว่า
    ในบัญชีโรงงานจำพวกที่ 3 ที่ต้องขออนุญาตก่อน จึงจะสร้างได้  นั้น มีกำหนดไว้ว่า
               ๑)โรงงานสกัดน้ำมัน ( ลำดับที่ 6 (4)  ในบัญชี )  เป็นประเภทที่ต้องขออนุญาตก่อน จึงดำเนินการได้
               ๒)  ลำดับที่ 88   โรงงานผลิต ส่ง หรือ จำหน่ายพลังงานไฟฟ้า   และลำดับที่ 89  โรงงานผลิตกาซ ซึ่งมิใช่ก๊าซธรรมชาติ ส่งหรือจำหน่ายกาซ  ถือเป็นโรงงานที่ต้องขออนุญาตก่อน จึงจะดำเนินการได้  ไม่ว่าจะมีขนาดเท่าใด
 
3. เมื่อดูจาก 2 ข้อข้างต้น   กิจการดังกล่าว ถือเป็นสีม่วง  ซึ่งไม่ควรให้มีในพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม โดยเฉพาะเมื่ออยู่ใกล้ชุมชน   
               ถ้าไม่ขอนุญาต  จะสร้างไม่ได้    การจะขอนุญาตได้ ต้องดูว่า  ต้องทำอีไอเอและผ่านอีไอเอไหม และสอดคล้องกับผังเมืองไหม  ซึ่งกรณีนี้ ผังเมืองให้เฉพาะสกัดน้ำมัน ( ตามบัญชีท้ายข้อกำหนด )   แต่ไม่ให้การผลิตพลังงานไฟฟ้า
  
4.  ข้อเสนอแนะสำหรับเรื่องนี้
   4.1 ทำหนังสือถึงโยธา  อีกฉบับ ถามว่า
       กิจการนี้  ถ้าสร้างในพื้นที่นี้  ขัดแย้งกับการใช้ที่ดินและข้อกำหนดในร่าง ผังเมืองรวมจังหวัดนครศรีธรมราช และร่างผังเมืองรวมชุมชนสิชลไหม  เพราะในข้อกำหนดระบุว่าให้เป็นประเภทที่ดินชนบทและเกษตรกรรม  และในการกำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายการพัฒนาผังเมืองรวมชุมชนสิชล ( หน้า 4-4)  กำหนดว่า ให้เป็น
         " เมืองอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวิถีชีวิตชุมชนเพื่อการพัฒนาเมืองและการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน"  
        ให้หน่วยงานตอบมาเป็นลายลักษณ์อักษร  และเก็บไว้เป็นหลักฐานในการขับเคลื่อนต่อไป
        เพราะจดหมายที่ชาวบ้านเคยทำถึงโยธา   ที่ให้เขาติดตามตรวจสอบกิจการโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบผลิตพลังงานไฟฟ้า  ( ในข้อ3 ในจดหมายลงวันที่ 11 กพ 53 ) นั้น   โยธาตอบว่าเขาไม่มีอำนาจหน้าที่   เรื่องนี้ต้อถามที่อุตสาหกรรมจังหวัด และ อบต. ในพื้นที่
        ต้องถามโยธาว่า  กิจการโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบผลิตพลังงานไฟฟ้าจากกาซชีวภาพ    ในพื้นที่ หมู่ ๔ ตำบลทุ่งปรัง นั้น ขัดแย้งกับการใช้ประโยชน์ที่ดินและข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในผังเมืองรวมจังหวัดนครศรีธรรมราช และผังเมืองรวมสิชลไหม  ด้วยเหตุผลใด
    4.2   หนังสือถามเรื่องการติดตามตรวจสอบ ให้ถามที่อุตสาหกรรมจังหวัดได้เลย
    4.3  ถ้าต้องการความมั่นใจมากขึ้น  ให้ทำหนังสือเป็นข้อเสนอถึง อบต.  อ้างเหตุผลจากวิสัยทัศน์ที่เน้นการอนุรักษ์ ชุมชน การท่องเที่ยว และผังเมืองที่กำหนดให้เป็นพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม ว่าไม่ควรมีกิจการนี้  และขอให้ อบต เพิ่มเติมข้อบัญญัติห้ามกิจการการผลิตพลังงานไฟฟ้าชีวมวล ในพื้นที่นี้  เพราะเหตุผล..... ( อ้างผังเมือง วิสัยทัศน์  ส่วนในเรื่องสุขภาพ ผลกระทบกับชุมชน ให้ชุมชนไปทำการบ้านให้เหตุผลเพิ่มเติม )  และขอให้ อบต. พิจารณาเพื่อปรับปรุงข้อบัญญัติ อบต. เพื่อนำไปสู่เป้าหมายการอนุรักษ์ การพัฒนาที่ยั่งยืน
    4.4  เอาประเด็นนี้ ไปเสนอใน วันที่ 12  มี.ค. ๕๓ ที่พิจารณาเรื่อง การกำหนดประเภทโครงการรุนแรง ว่า ควรจะดูเรื่องประเภทและความเหมาะสมของพื้นที่ตั้ง ควบคู่กันไป ว่า ถ้าไปตั้งในพื้นที่ชุมชน พื้นที่เกษตรของชาวบ้าน จะส่งผลกระทบรุนแรง  แม้ว่าจะมีขนาดไม่ใหญ่   และ  การพิจารณาผลกระทบรุนแรงนั้น ขอให้ดูแผนกำหนดการทุก phase  เพราะระยะแรก อาจเป็นการสกัดฯ  แต่ระยะต่อไปอาจเป็นโรงงานผลิตพลังงาน   ต้องดูผลกระทบทั้งหมดตามแผนงาน  มิฉะนั้น โรงงานอาจเอามาเป็นข้ออ้างตอนขอขยายในขั้นต่อไปค่ะ
         คงเป็นอีกกระบวนการหนึ่งที่ชุมชน ต้องมีพี่เลี้ยง และนักวิชาการในการใช้ข้อมูลและแนวทางที่ถูกต้องเพื่อต่อสู้กับอำนาจรัฐ อำนาจทุน ที่เข้ามาทำลายชีวิตและวิถีของชุมชน เรื่องนี้คงเป็นหนังสั้น แต่คงต้องฉายหลายๆรอบ หลายๆตอนเพราะแต่ละขั้นตอน ยุ่งยากและซับซ้อนพอสมควร 
 
หมายเลขบันทึก: 355379เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2010 19:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 11:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณค่ะ ที่ช่วยทำให้ตาสว่างขึ้น

ขอบคุณ อีกครั้งที่เข้ามาติดตามครับ

ตี๋ ตรัยรัตนแสงมณี

ส่งมาให้กำลังใจกันกับนักต่อสู้เพื่อสิทธิ ที่หนองแซงจังหวัดสระบุรี ก็กำลังฟ้องกรมโยธาธิการและผังต่อศาลปกเพื่อให้เร่งประกาศ เขตอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม เพื่อหยุดโรงไฟฟ้า แต่ด้วยกำลังพิเศษอะไรไม่ทราบ กกพ. ก็ออกใบอนุญาตโดยไม่กระบวนการให้ถูกต้อง อนุมัติไปก่อนแล้ว ทำทีหลัง ครูที่บ้านผมบอกว่าเหมือนกับว่าให้ใบประกาศผลก่อนแล้วสอบไล่ที่หลัง เฮ้อประเทศไทย

ตี๋ ที่หนองแซง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท