น้องไหม
นางสาว เสาวนีย์ ไหม ศรีเขื่อนแก้ว

บันทึกที่ 6 : หนังสือสอนชีวิต


"คำคมสอนชีวิต...สุภาษิตสอนใจ"

 


              การใช้ชีวิตในแต่ละวันนั้น  เราได้เรียนรู้จากการที่เราได้ศึกษาจากหนังสือตำราในรั้วโรงเรียน และในรั้วมหาวิทยาลัย  ทำให้เราได้เรียนรู้เรียนในเรื่องต่างๆ  มีความรู้ติดตัวเพื่อที่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ และเพื่อการใช้ชีวิตที่มีความสุข

 

              หนังสือที่ข้าพเจ้าชอบนั้น  เป็นหนังสือเกี่ยวกับการใช้ชีวิตเพราะข้าพเจ้าชอบอ่านมาก  เพราะเป็นหนังสือที่สอนเกี่ยวกับเรื่องต่างๆในชีวิต  เช่น   การใช้ชีวิต การคบเพื่อน ความรัก   เป็นต้น

 

              หนังสือประเภทนี้มักเป็นเขียนเป็นร้อยกรอง  ซึ่งเมื่ออ่านแล้วก็มีความสนุก  ให้แง่คิดต่างๆ  ดังเช่น

 

                                       สุภาษิตสอนหญิง 
                (พระนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)
 
                                   ขอประพันธ์จรรยาสุภาษิต
                  ไว้เตือนจิตหญิงไทยในสยาม
                  ทั้งเริ่มรุ่นลักขณาสง่างาม
                  อยู่ในความดำริควรติตรอง
 
                                   เป็นสตรีนี้ไซร็มิใช่ง่าย
                  สงวนกายเราไว้อย่าให้หมอง
                  จะยากจนค่นไร้วิสัยทอง
                  ย่อมจะต้องมีค่าราคาแพง
 
                                   เหมือนพิกุลดีจริงไม่ทิ้งกลิ่น
                   ถึงตกดินจมทรายไม่หน่ายแหนง
                   ยังหอมหวานชวนชื่นระรื่นแรง
                   ไม่เหี่ยวแห้งไม่ทรามความนิยม
 
                                   แต่หอมกลิ่นมาลาที่ว่าหอม
                   ชั่วถนอมเชยชิดสนิทสนม
                   เฉพาะเมื่อจับต้องประคองชม
                   เวลาดมชั่วครั้งไม่ยั่งยืน
 
                                  อันหอมนามความดีสตรีนั้น
                   ไม่มีวันทรามเชยระเหยหืน
                   ถึงมาตรแม้นตัวตายไม่คลายคืน
                   ยังหอมชื่นชูนามเพราะความดี
 
                                  เป็นผู้หญิงตำราที่ว่าสวย
                   ต้องกอปรด้วยเบญจลักษณ์เป็นศักดิ์ศรี
                   ถึงไม่ครบทั้งห้าตามมาลี
                   สมัยนี้สำคัญด้วยจรรยา
 
                                  อันงามรูปงามทรัพย์บังคับยาก
                  มีน้อยมากก็ตามชาติวาสนา
                  ถึงร่างกายบุญกรรมก็ทำมา
                  มิใช่ว่าสรรสร้างได้ดังใจ
 
                                 คงแต่เพียงที่สามให้งามจิต
                  งามจริตกิริยาอัชฌาสัย
                  งามวาจาไพเราะเสนาะใน
                  ดำรงค์ไว้ให้งามสามประการ
 
                                 แม้สตรีมีงามเพียงสามสิ่ง
                  นับว่าหญิงน่ารักสมัครสมาน
                  ถึงรูปทรัพย์คับแค้นแสนกันดาร
                  ต้องประมาณว่างามตามตำรา
 
                                อีกนัยหนึ่งเครื่องประดับสำหรับนาฎ
                  ศิลปศาสตร์เป็นของจะต้องหา
                  งามอะไรก็ไม่เยี่ยมเทียมวิชา
                  อาจจะพาให้กายสบายเบา
 
                                อันสตรีที่งามด้วยความรู้
                  เป็นที่ชูโฉมเชิดเลิศเฉลา
                  แต่อย่าเพียรเรียนเล่นพอเป็นเรา
                  ต้องเรียนเอารู้ดีจึงมีคุณ
               .................................................

หมายเลขบันทึก: 354548เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2010 22:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 14:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ว่าที่คุณครู น้องขนมจีน ... ช่วงย่อหน้าแรก ๆ ไม่ต้องจัดแบบกึ่งกลางก็ได้ครับ

ส่วนช่วงพระนิพนธ์ อาจจะใช้จัดชิดซ้าย แต่ให้กดปุ่มระยะเยื้อง (กดที ขยับไปทางขวาที) เอาครับ แค่ไม่ให้ชิดขอบเกินไปเท่านั้น

ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ

หนูจะทำการแก้ไข ตามที่อาจารย์ได้แนะนำมาค่ะ

ขอบคุณมากนะคะ

สวัสดีค่ะพี่ Phornphon

ที่แวะมาเยือนค่ะ

ขอบคุณมากนะคะ

สัวัสดีค่ะ

แวะมาเยี่ยมค่ะ

เป็นผู้หญิงตำราที่ว่าสวย

ต้องกอปรด้วยเบญจลักษณ์เป็นศักดิ์ศรี

ถึงไม่ครบทั้งห้าตามมาลี

สมัยนี้สำคัญด้วยจรรยา

ชอบบทนี้ค่ะ

ขอบคุณมากนะค่ะ

ที่พี่น้ำแข็งใสแวะมาเยี่ยม

และชอบบทประพันธ์นี้

เดี๋ยวหนู้จะหามาให้อ่านอีกนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท