เด็กวัฒฯ
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร คนวัฒนธรรม

ความหมายแฝงของอักษรไทย 44 ตัว


ยังจำได้ไหม ก.เอ๋ย ก.ไก่ ข.ไข่ ในเล้า.....ท่องกันทุกวันเป็นนกแก้วนกขุนทองเลย

ก.ไก่         
                     เป็นสัตว์ตื่นเช้าที่สุด  เลยให้มาเป็นอักษรตัวแรก  เพื่อเตือนให้คนไทยขยันขันแข็ง
ข.ไข่         
                    เป็นดอกผลของไก่  แต่จะมีความเปราะบาง  ต้องทะนุถนอมให้ดีดี  อย่าปล่อยทิ้งละเลยสังคม
ฃ.ฃวด      
                   เป็นวิถีชีวิตของคนไทยที่เตือนไว้ว่า  แม้จะดื่มกิน  ให้มีสติไว้  มิฉะนั้นอาจมีสิ่งใดแตกหักได้
ค.ควาย  ฅ.ฅน    
                   เป็นวิถีชีวิตของคนไทย  การอยู่ร่วมกันระหว่าง  ฅน  และธรรมชาติ  โดยให้  ฅนมาทีหลัง  ควาย  คือ  โง่  มาก่อนฉลาด  อย่าอวดฉลาด  หากยังไม่รู้จักโง่ก่อน
ฆ.ระฆัง    
                  ให้หมั่นประชุมเป็นนิตย์  อย่าได้ละเลยการพูดคุย  แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ง.งู           
                  ต้องกล้าคิดกล้าทำกล้าแสดงความคิดเห็น
จ.จาน      
                   ต้องรู้จักการอาสาเจือจาน  เข้าทำนอง  จ.จานใช้ดี
ฉ.ฉิ่ง  ตีดัง   ช.ช้าง  วิ่งหนี  
                    ให้รู้จักการใช้การทำงานเล็ก ๆ ให้เกิดผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง  โดยไม่ ต้องคิดการใหญ่
ซ.โซ่  ล่ามที
                   หากสังคมเตลิด  จากการกระทำใดใด  ให้รู้จักยับยั้งเอาไว้ด้วยขนบธรรมเนียมบ้าง
ฌ.เฌอ  คู่กัน
                     ให้รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา  ระหว่างคนและธรรมชาติ
ญ.หญิงโสภา  ฑ.มณโฑ  หน้าขาว
                       บอกใบ้ให้เห็นว่า  สตรี  เป็นเพศที่สวยงาม  และต้องเอาใจใส่ให้มาก  อย่าได้ละเลยลืมเลือน
ฎ.ชฎา  สวมพลัน
                      เป็นแง่คิดให้เห็นถึง  ยศฐาบรรดาศักดิ์ว่า  ไม่จีรัง  คล้าย ๆ กับหัวโขน
ฏ.ปฏัก  และ  ฐ.ฐาน
                เป็นอักษรคู่กัน  ที่จะทำงานอะไรที่ฉับไว  เที่ยงตรง  ต้องมีรากฐาน  หรือมีเหตุผลรองรับ
                อย่างชัดเจนมั่นคง
ฒ.ผู้เฒ่า  เดินย่อง
                เป็นการสะท้อนว่า  ผู้หลักผู้ใหญ่จะทำอะไรต้องระมัดระวังให้ถี่ถ้วน  อย่าโผงผาง
ณ.เณร  ไม่มอง  ด.เด็ก  ต้องนิมนต์
                เป็นอักษรคู่กัน  แทนการเปรียบเทียบ 2 สถาบัน  ระหว่างศาสนา  และฆราวาส  
                เมื่อพระท่านมองข้ามสิ่งใด  ละเลยสิ่งใด  ต้องช่วยกันเตือนได้  ไม่ใช่ละเลยไปหมด
ต.เต่า  หลังตุง  ถ.ถุง  แบกหาม
                เป็นอักษรคู่เช่นกัน  ที่เปรียบว่า  ทั้งหมด  มีหน้าที่ของตัว  และต้องทำให้ดีที่สุด
                ตามสภาพที่มีและเป็นอยู่
ท.ทหาร  อดทน
                นี่ชัดเจนว่าท่านข้าราชการ  ว่าต้องมีน้ำอดน้ำทน  ทำงานไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย  เพื่อชาติ
ธ.ธง  คนนิยม
                เป็นภาพสะท้อนให้คนรักชาติบ้านเมือง  ให้เห็นแก่ประโยชน์ของชาติอันดับแรกเลย
ภ.สำเภา  กางใบ
               สะท้อนว่าหากจะค้าขายไกล ๆ ต้องพัฒนาศักยภาพของตนเองให้สอดรับกับสถานการณ์ต่าง ๆ
ร.  ล.  ว.  เป็นอักษรชุด 3 ตัวเรียง
               ที่มาสะท้อนถึงวิถีชีวิตของคนไทยที่จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับธรรมชาติ  น้ำ  สัตว์  และการฝีมือ
               ที่งดงามเป็นเอกลักษณ์ของชาติ
ษ. ฤาษีหนวดยาว  ศ.ศาลา  ส.เสือ  ดาวคะนอง
               สามสอนี้  เป็นภาคตัวแทนของอุปนิสัยใจคอของคนไทยว่า  รักสงบ  (ษ.)  
               โอบอ้อมอารี  (ศ.)  แต่ใจนักเลง  (ส.)
อ.อ่าง  เนืองนอง
               เป็นสัญลักษณ์ย้ำว่าคนไทย  ต้องมีจิตคิดเพื่อคนอื่นเสมอ  ก่อนคิดเพื่อตัว
ฬ.จุฬา  ท่าผยอง
               สะท้อนว่า  ริจะเป็นผู้ปกครอง  ริจะอยู่เหนือคนอื่น  ต้องต้านทานอุปสรรคนานาได้
               คล้ายกับว่าว  จะขึ้นสูงต้องต้านแรงลมได้
ฮ.นกฮูก  ตาโต นั้น 
               สะท้อนว่า  คนไทยขยันตั้งแต่เช้า  (ไก่)  ยันค่ำ  (นกฮูก)  มีสัตว์ที่ตื่นอยู่ตลอดเวลา
หมายเลขบันทึก: 354222เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2010 16:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 17:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณมากนะครับ คิดได้ไงครับ

คิดได้ไง ใครหนอผู้ช่างคิด...

แล้วอักษรแต่ละตัว ที่ออกเสียงเหมือนกัน เช่น ตัว ๓ ส.ใช่ต่างกันอย่างไร

พออธิบายได้ใหมครับ

ขอบคุณมากนะคะที่เข้ามาเยี่ยมชม blog ของ สวจ.ค่ะ แล้วก็ได้หาข้อมูลมาเพิ่มเติมให้ด้วยแล้วค่ะ

หลักการใช้ ศ ษ ส

๑. คำไทยที่ใช้ตัว ส เช่น สอง สาม สี่ สด เสือ ยกเว้น คำไทยบางคำที่ใช้ ศ ษ เช่น ศอ เศร้า เศิก ศอก เลิศ ฝีดาษ

๒. ทุกคำที่มาจากภาษาบาลีจะใช้ ส ทั้งหมด เช่น โสภา สาธิต สัจจา

๓. คำมี่มาจากภาษาอื่นที่มิใช่ภาษาบาลีสันสกฤตให้ใช้ ส เช่น สเปน สวีเดน

๔. คำที่มาจากภาษาสันสกฤต มีหลักเกณฑ์การใช้คือ

ใช้ ศ เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะวรรค จะ คือ จ ฉ ช ฌ ญ เช่น อัศเจรีย์ อัศจรรย์

ใช้ ษ เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะวรรค ฏะ คือ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ เช่น ทฤษฎี โอษฐ์

ใช้ ส เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะวรรค ตะ คือ ต ถ ท ธ น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท