เด็กวัฒฯ
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร คนวัฒนธรรม

ต้นไม้ช่วยลดความร้อนเข้าสู่บ้าน


เอาป่ามาไว้ในบ้าน ดีว่าเอาบ้านไปผลาญป่า

                การดำรงชีวิตของต้นไม้นั้น ต้นไม้จะดูดเอาน้ำจากใต้ดินขึ้นมาทางรากและจะคายออกทางใบ ทำให้อุณหภูมิรอบๆ เย็นลง จึงช่วยลดความร้อนให้กับสภาพแวดล้อมเป็นผลให้อุณหภูมิโดยรอบอาคารเย็นลงดังนั้นยิ่งมีต้นไม้ใหญ่มาก ก็จะยิ่งลดความร้อนได้มาก เช่นเราจะรู้สึกเย็นเมื่ออยู่ในป่ามากกว่าเมื่ออยู่ในที่โล่ง นอกจากนั้นใบของต้นไม้ยังช่วยกรองแสงแดด เป็นการให้ร่มเงา แก่อาคารและพื้นที่โดยรอบ ทำให้ลดการสะสมของความร้อนในผนังหรือหลังคาอาคารและพื้นโดยรอบ โอกาสที่ความร้อนจะถ่ายเทผ่านเข้าสู่ภายในตัวบ้านก็ลดลง ก่อนอื่นเจ้าของบ้านคงจะต้องสำรวจรอบๆ บ้านเสียก่อนว่าตำแหน่งหรือทิศทางใดของบ้านพอที่จะปลูกต้นไม้ใหญ่ หรือไม้ยืนต้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากสามารถปลูกต้นไม้ใหญ่ทางทิศใต้เรื่อยไปจนถึงทิศตะวันตก ก็จะช่วยบังแสงแดดที่ส่องกระทบผนังบ้านหรือที่ส่องผ่านหน้าต่าง เข้าไปในพื้นที่ใช้สอย ช่วยป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้เป็นอย่างดีตลอดทั้งวัน และยังลดความรุนแรงของอุณหภูมิ ในเวลากลางวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เนื่องจากบ้านเราใน 1 ปี นั้น ดวงอาทิตย์จะเคลื่อนที่อ้อมทางทิศใต้เป็นเวลานานถึง 9 เดือน หากในบริเวณบ้านมีต้นไม้เดิมขนาดใหญ่อยู่แล้ว ก็อาจเลือกต้นไม่ขนาดเล็กหรือไม้คลุมดินและแม้แต่พืชสนามหญ้าปลูกแทรก ทั้งนี้ เพื่อช่วยลดความร้อนสะสมและการสะท้อนแสงของพื้นที่โดยรอบ หากเปรียบเทียบกับพื้นถนนคอนกรีตกลางแดดร้อนจัด จนไม่สามารถเดินเท้าเปล่าได้ และต้องหรี่ตาเวลามอง ก็จะเห็นประโยชน์ของไม้คลุมดินหรือสนามหญ้าอย่างชัดเจน
            การเลือกตำแหน่งปลูกต้นไม้แต่ละชนิด ควรเรียนรู้ให้รู้ชัดว่าต้นไม้แต่ละชนิด ต้องการน้ำ และแสงมากน้อยแค่ไหน ตำแหน่ง ที่ควรปลูกต้นไม้ให้ร่มเงา คือทิศใต้ และทิศตะวันตก ซึ่งมีแดดจัด แต่หากปลูก ต้นไม้จนทึบ ก็จะทำให้ลมไม่เข้าบ้าน เพราะ ลมพัดมาจากทิศใต้และทิศตะวันตกเฉียงใต้ เนื่องจากดวงอาทิตย์จะอ้อมไปทางด้านทิศเหนือเพียงปีละ 4 เดือนเท่านั้น ส่วนอีก 8 เดือน ดวงอาทิตย์จะอ้อมทางด้านทิศใต้ดังนั้นการเข้าใจตำแหน่งของดวงอาทิตย์จะเป็นการทำให้ต้นไม้ได้รับแสง อาทิตย์อย่างเพียงพอ

    

       ทิศเหนือ
         ทิศเหนือจะมีปัญหาเรื่องแสงจะน้อย ไม่ต้องปลูกไม้ใหญ่มาก  เช่น โมก แก้ว หรือลำดวน ก็ช่วยให้บ้านร่มรื่นได้ หากมีพื้นที่เหลือก็อาจปลูกหญ้า จะให้ความรู้สึกร่มรื่น เก็บความชุ่มชื้นให้ดิน และให้ความเย็นแก่พื้นดินบริเวณบ้าน  ถ้าหากอาคารมีความสูงมากกว่าหนึ่งชั้น หรือ ประมาณ 6 เมตร เงาของบ้าน จะทำให้ต้นไม้ที่ปลูกอยู่ใกล้บ้านได้รับแสงแดด น้อยหรือไม่ได้รับแสงเลย ควรเลือกพันธุ์ไม้ที่ชอบร่มรำไร เช่น จั๋ง
สาวน้อยประแป้ง เขียวหมื่นปี พลูชนิดต่างๆ และพันธุ์ไม้ ประเภทไม้ใบอยู่ในที่ร่มได้ สำหรับพันธุ์ไม้
คลุมดิน ที่ชอบร่ม ได้แก่ พลูเลื้อยต่างๆ พลูกำมะหยี่ พลูทอง เฟิน สวีดีชไอวี่ ดีปลี ไม้ตระกูลหนวด
ปลาดุก เปปเปอร์ และลิ้นมังกรชนิดต่างๆ
                                 

           ทิศใต้
          เป็นทิศที่แดดเข้าตลอดวัน และเกือบตลอดปี เพราะประเทศไทยพระอาทิตย์อ้อมใต้เป็นเวลา
นาน การใช้ต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงา จึงเป็นทางป้องกันอย่างหนึ่ง ดังนั้นพันธุ์ไม้ที่เลือกปลูกจึงควรมีใบทึบ
ข้างบน และโปร่งด้านล่าง เพื่อให้ลมพัดผ่านเข้าบ้านได้ ควรเลือกชนิดที่มีใบทึบข้างบนและโปร่งข้างล่างและไม้ผลัดได้แก่ กระทิง สารภี มะฮอกกานี มะขาม แคแสด สำหรับพันธุ์ไม้ที่ให้ดอกสวยงาม แต่ผลัด ใบทั้งต้นในบางฤดูได้แก่ กัลปพฤกษ์ กระพี้จั่น เสลา คูน หางนกยูง เหลืองอินเดีย เป็นต้น พันธุ์ไม้ดอกหอมที่ควรปลูกด้านนี้ ได้แก่ จำปี จำปา บุหงาส่าหรี โมก พิกุล ประยงค์ แก้ว กันเกรา ปีป ตีนเป็ดน้ำ ลำดวน

         ทิศตะวันตก
         ทิศนี้ได้รับแดดจัดตลอดบ่าย ควรปลูกไม้ที่ให้ร่มเงา อาจเป็นพันธุ์ไม้ที่ให้ดอกตามฤดูกาล เช่น
เสลา คูน กัลปพฤกษ์ ประดู่แดง ประดู่อินเดีย พันธุ์ไม้ทิศนี้จะทำหน้าที่กันแดดช่วงบ่าย ซึ่งร้อนแรงทำ
ให้ผนังบ้านด้านนี้เย็น และช่วยประหยัดพลังงาน ในเวลาค่ำคืน ซึ่งถ้าที่บ้านมีพื้นที่ไม่มากพอที่จะปลูก
ไม้ใหญ่ให้ร่มเงา อาจใช้อโศกอินเดีย หมากเขียว หมากเหลือง กล้วยพัด ก็เหมาะสมดี หากพื้นที่น้อยอาจ
ใช้พันธุ์ไม้ไต่หรือเกาะผนัง เช่น ตีนตุ๊กแก ดีปลี หรือพลูบางชนิดก็ช่วยกันแดดได้ดีขึ้น

         ทิศตะวันออก
         ทิศนี้มีปัญหาเรื่องแสงจะน้อย ไม่ต้องปลูกไม้ใหญ่มาก  เช่น โมก แก้ว หรือลำดวน ก็ช่วยให้บ้านร่มรื่นได้ หากมีพื้นที่เหลือก็อาจปลูกหญ้า จะให้ความรู้สึกร่มรื่น เก็บความชุ่มชื้นให้ดิน และให้ความเย็นแก่พื้นดินบริเวณบ้าน   ซึ่งทิศนี้จะได้รับแดดครึ่งวัน หลังเที่ยงไปแล้วจะได้รับร่มจากตัวบ้าน ควรปลูกไม้ที่ไม่ต้องการแดด ตลอดวัน เช่น ไผ่ ( ใบจะร่วงน้อยถ้าได้แดดเช้า) หรือพันธุ์ไม้ที่มีใบละเอียด หรือใบเล็ก จะดูสวยงามมาก เมื่อมองผ่านแดดเช้า ได้แก่ ปีป เลี่ยน โมก พู่ชมพู มะขามป้อม หลิวจีน ชิงชัน ไผ่เลี้ยง อรพิม เป็นต้น ไม้พุ่มได้แก่ ฤษีผสม ซัลเวีย ปีโกเนีย พรมญี่ปุ่น เฟิน ไผ่แคระ ไม้ตระกูลใบเงิน ใบทอง ใบนาก และ หมากผู้หมากเมีย

 

           การเลือกใช้พรรณไม้ต่างๆ ด้วยความเข้าใจในคุณสมบัติของมัน จะทำให้ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ เช่นต้นไม้ขนาดใหญ่ช่วยให้ร่มเงาแก่อากาคตและทางเดิน ไม้เลื้อยให้ร่มเงาแก่บริเวณนั่งเล่น หรือแม้แต่ให้ร่วมเงาแก่ผนังอาคารบ้าน ถ้ามีการสร้างซุ้มเพื่อช่วยในการเลื้อย เป็นต้น นอกจากนี้ การเลือกต้นไม้ที่จะปลูกมีความสำคัญ ควรเลือกจากขนาดความสูงและความกว้างของพุ่มใบ ระยะห่างในการปลูก เพื่อไม่ให้รากหรือลำต้นเบียดอาคารจนเสียหาย พรรณไม้ที่เลือกใช้ควรมีความแข็งแรง ทนทานต่อแรงลมปะทะ ทนทานต่อสภาพแวดล้อม โรค และศัตรูพืช และจะดียิ่งขึ้นหากเป็นพรรณไม้ไม่ผลัดใบเพื่อให้ได้ร่มเงาตลอดทั้งปี และควรศึกษาลักษณะนิสัยของพืชพรรณและการดูแลรักษาก่อนเลือกมาปลูก
           ประเภทของบ้านพักอาศัยก็มีส่วนสำคัญการเลือกชนิดของต้นไม้ที่ปลูก สำหรับอาคารเดี่ยว สามารถปลูกไม้ยืนต้นสูงตั้งแต่ 4-10 เมตร เพื่อให้ร่มเงาแก่หลังคา หรือใช้ไม้พุ่มขนาดสูงประมาณ 1-3 เมตร เพื่อให้ร่มเงาแก่ผนังบ้าน ต้นไม้คลุมดิน และไม้พุ่มขนาดเล็กสูงประมาณ 0.30-0.90 เมตร ควรปลูกโดยทั่วไปรอบบริเวณบ้านเพื่อป้องกันความร้อนแก่ผิวดินใกล้ตัวบ้าน และช่วยลดแสงสะท้อนเข้าบ้านด้วย นอกจากช่วยป้องกันความร้อนทำให้ดูสวยงามหรือบางต้นมีดอกให้กลิ่นหอมแล้ว ต้นไม้ยังให้ประโยชน์อีกหลายประการ ได้แก่ ช่วยลดผุ่นละอองจากถนน ลดมลพิษต่างๆ ลดแรงลมปะทะอาคาร ป้องกันการพังทลายของดินและบดบังทัศนียภาพที่ไม่สวยงามด้วย ดังนั้นการใช้เครื่องปรับอากาศก็อย่าลืมคิดถึงการปลูกต้นไม้บังแดดก่อนนะคะ
          สำหรับบ้านแถวหรือทาวน์เฮาส์ เนื่องจากมีเนื้อที่ภายนอกอาคารค่อนข้างจำกัด ควรเลือกไม้ใหญ ่ที่รากต้นไม่ทำให้โครงสร้างของบ้านเสียหาย เช่น ต้นสน ต้นทรงบาดาล เป็นต้น หรืออาจใช้ต้นไม้ที่ปลูกในกระถาง หรือทำซุ้มไม้เลื้อย ในพื้นที่ว่างปลูกต้นไม้ได้ อาจใช้วิธีอื่นช่วยเช่นการทำกันสาด ชายคาให้กับหน้าต่าง แต่ที่ไม่ควรทำคือ การปลูกต้นไม้บนหลังคาตึกแถว ห้องแถว เพราะจะทำให้อาคารพังลงมาได้ ส่วนคอนโดมีเนียมพักอาศัย ควรใช้ไม้กระถางแขวน หรือไม้พุ่มตั้งบังแดดบริเวณระเบียง และช่องเปิดต่างๆ เพื่อป้องกันความร้อนที่จะเข้าสู่ตัวอาคารโดยตรง
หมายเลขบันทึก: 354193เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2010 14:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท