เทคนิคจัดการลูกน้องที่หัวแข็ง


คำถาม : เทคนิคจัดการลูกน้องที่หัวแข็ง ดื้อดึงอย่างไรดี  สวัสดัค่ะ ดิฉันจะให้อาจารย์แนะนำเกี่ยวกับเทคนิคจัดการลูกน้อง 1 คน อยู่บริษัทนี้ประมาณ 1 ปี เป็นผู้หญิงรุ่นน้อง อายุประมาณ 28 ปี สมมุติชื่อ เอ ส่วนดิฉันอายุ 35 ปีเป็นผู้ช่วยผู้จัดการด้านฝ่ายขายที่เพิ่งเข้ามาทำงานได้ประมาณ 4 เดือนกว่าแล้ว ดิฉันแสดงความสามารถที่มีอยู่จัดการงานได้อย่างดีสำเร็จบรรลุเป้า โดยที่ไม่สามารถพึ่งพาใครได้เลย เพราะแต่ละคนในที่ทำงานดิฉันแสดงความสามารถที่มีอยู่จัดการงานได้อย่างดีสำเร็จบรรลุเป้า โดยที่ไม่สามารถพึ่งพาใครได้เลยดิฉันแสดงความสามารถที่มีอยู่จัดการงานได้อย่างดีสำเร็จบรรลุเป้า และเมื่อฉันสั่่งให้ เอ ทำอะไรก็จะปฎิเสธไว้ก่อนโดยไม่คิด ถามอะไรไม่เคยบอกทั้งที่เขารู้ ให้เช็คหรือโทรหาลูกค้าก็จะบอกว่าหนูไม่ว่างจนดิฉันต้องทำเองเพื่อความสบายใจและจะได้เรียนรู้งานด้วย เมื่อ เอ ทำผิดจะรีบแจ้งนายใหญ่ให้รับรู้โดยไม่บอกผ่านดิฉันก่อนเพื่อจะช่วยแก้ปัญหาเบื้องต้นได้ เพราะ เอ กลัวความผิดเลยจะรีบปัดความผิดนั้นไปที่สำคัญเธอมีนิสัยที่เด็กๆ พูดไม่ค่อยรู้เรื่อง บอกอะไรไม่ได้ ฝ่ายบุคคลก็ให้ฉันจัดการได้เลย แต่ฉันคิดสงสารเลยยังให้ทำอยู่แต่ เอ ไม่รู้สำนึก คอยดักแทงข้างหลัง เป็นอย่างจะจัดการลูกน้องคนนี้ อย่างไรดีค่ะอาจารย์ ดิฉันจะทำอย่างไรต่อไปดี ขอบคุณค่ะ
คำสำคัญ: ดิฉันแสดงความสามารถที่มีอยู่จัดการงานได้อย่างดีสำเร็จบรรลุเป้า โดยที่ไม่สามารถพึ่งพาใครได้เลย  ทำผิดจะรีบแจ้งนายใหญ่ให้รับรู้โดยไม่บอกผ่านดิฉันก่อนเพื่อจะช่วยแก้ปัญหาเบื้องต้นได้ เพราะ เอ กลัวความผิดเลยจะรีบปัดความผิดนั้นไปที่สำคัญเธอมีนิสัยที่เด็กๆ พูดไม่ค่อยรู้เรื่อง บอกอะไรไม่ได้   สั่่งให้ เอ ทำอะไรก็จะปฎิเสธไว้ก่อนโดยไม่คิด ถามอะไรไม่เคยบอกทั้งที่เขารู้ ให้เช็คหรือโทรหาลูกค้าก็จะบอกว่าหนูไม่ว่างจนดิฉันต้องทำเองเพื่อความสบายใจและจะได้เรียนรู้งานด้วย   เทคนิคจัดการลูกน้อง 1 คน เป็นผู้หญิงรุ่นน้อง อยู่บริษัทนี้ประมาณ 1 ปีอายุประมาณ 28 ปีดิฉันอายุ 35 ปีเป็นผู้ช่วยผู้จัดการด้านฝ่ายขายที่เพิ่งเข้ามาทำงานได้ประมาณ 4 เดือนกว่าแล้ว  เป็นอย่างจะจัดการลูกน้องคนนี้ อย่างไรดีค่ะอาจารย์ ดิฉันจะทำอย่างไรต่อไปดี  ที่ปรึกษา  วิทยากร  อาจารย์ยม
ถามโดย: sweety   Ask: อาจารย์ยม   ตอบแล้ว
สร้าง: พฤ. 01 เม.ย. 2553 @ 23:01   ตอบแล้ว: ศ. 02 เม.ย. 2553 @ 09:26 ลิงก์ถาวร  
คำตอบ  ผู้บริหารหลายคน เข้าไปทำงานใหม่ในองค์กร  มีความตั้งใจสูงมาก พอเข้าไปทำงานใหม่ รับหน้าที่ใหม่ ก็ตั้งใจลุยงาน บริหารงาน เพื่อเร่งสร้างผลงาน จนบางท่านกลายเป็นผู้นำที่เน้นงาน โดยไม่รู้ตัว ครับอย่ากังวลไป ผมเองก็เคยเป็นเช่นนี้

การเข้าไปเริ่มงานใหม่ สำหรับผู้นำทั้งหลาย ควรต้องมีเป้าหมาย มีกลยุทธ์ให้ชัด เช่น

กลยุทธ์สร้างความสัมพันธ์ที่ดี ในองค์กร
กลยุทธ์จัดการงาน
กลยุทธ์การจัดการคน
กลยุทธ์การบริหารเจ้านาย บริหารลูกน้อง 
กลยุทธ์การประเมินผลงานลูกน้องรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน กลยุทธ์การประเมินผลงานตนเองรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน
กลยุทธ์การประสถานการณ์ทุกวัน เช้า สาย บ่าย เย็น ก่อนนอน 
กลยุทธ์การสร้าง การรักษา การพัฒนาอำนาจ กับทีมงานของตน อย่างผู้มีภาวะผู้นำครับ
กลยุทธ์องค์กรแห่งการเรียนรู้
กลยุทธ์องค์กรสมรรถนะสูง กลยุทธ์การ PR
กลยุทธ์บริหารเชิงกลยุทธ์ มุ่งผลสัมฤทธิ์
ประชาสัมพันธ์ตนเอง กลยุทธ์สร้าง รักษาพัฒนาเครือข่าย เป็นต้น
ภายใต้แนวคิด วันนี้ต้องดีกว่าเมื่อวาน นาทีนี้ต้องดีกว่านาทีที่ผ่านมา ครับ และที่สำคัญมาก ๆ คือ การนำหลักพุทธบริษัท มาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการ

ทั้งนี้ต้องมีการวางแผนดำเนินการอย่างรวดเร็ว เฉียบคม กว้างไกล มีระบบ ซึ่งในแต่ละกลยุทธ์จะมีรายละเอียดอีกมาก ครับ ยกตัวอย่างเช่น เรื่องกลยุทธ์การสร้างอำนาจ กับลูกน้อง ท่านต้องรู้ว่า อำนาจนั้นสร้างได้ดังนี้

ประการแรก อำนาจสร้างได้ด้วยการให้  เช่น ให้โอกาส ให้ความรู้ ให้อภัย ดูแลลูกน้องอย่างดี ภายใต้แนวคิด จงมองแต่แง่ดี

 

เขามีส่วนเลวบ้างช่างหัวเขา

จงเลือกเอาส่วนดีเขามีอยู่

เป็นประโยชน์โลกบ้างคงน่าดู

ส่วนที่ชั่วอย่าไปรู้ของเขาเลย

จะหาคนมีดีแต่ส่วนเดียว

อย่างไปเที่ยวค้นหาสหายเอ๋ย

 เหมือนเที่ยวหาหนวดเต่า ตายเปล่าเอย

ฝึกให้เคยมองแต่ดี มีคุณจริง

 

ประการที่สอง อำนาจสร้างได้ด้วยการติ    ลูกทำผิดอย่ามองข้าม หรือเห็นว่าเป็นเรื่องเล็ก ๆ  ติในที่นี้ ติแบบสร้างสรรค์ น่ารัก น่าเอ็นดู  ฝึกติคนให้ไพเราะสร้างสรรค์ เช่น ลูกน้องทำผิด แล้วไม่รายงานเรา กลับไปรายงานเจ้านายเรา  ตรงนี้ เรียกลูกน้องคุยเลย ครับ มองแง่ดี ลูกน้องอาจเกรงใจ มองแง่ไม่ดี ก็หมั่นไส้ข้ามหัวเรา  ผมก็บอกว่า ให้มองในแง่ดี ก็เรียกมา ขอบใจที่เกรงใจไม่นำปัญหามาให้  แต่บอกเขาว่าโดยหลักการทำงาน ตามสายงานเขาทราบหรือไม่ ว่าเขาขึ้นกับใคร ถ้าไม่ทราบก็ควรอธิบายให้เขารู้ บอกเขาว่าต่อไปมีอะไรให้มาหารือเราก่อน อย่าได้เกรงใจ  แต่หากไม่มาหารือ  ข้ามหน้าไป ต้องรับผิดชอบเอง  และควรแจ้งเจ้านายให้ทราบว่า ขอความร่วมมือเราได้แจ้งลูกน้องไปอย่างนี้  หากลูกน้องนำปัญหามารายงาน ขอความร่วมมือเจ้านาย ว่าได้รายงานให้เราทราบหรือยัง เรื่องเหล่านี้ ควรหารือกับเราก่อน เป็นการสร้างระบบการทำงานตามสายงาน  อีกอย่างที่สำคัญ อย่ามองข้ามครับ ต้องดูด้วยว่าองค์กรที่ท่านทำอยู่วัฒนะธรรมองค์กรเป็นอย่างไร เขาให้ข้ามสายงานกันได้หรือไม่  เป็นองค์กรที่มีโครงสร้างแบบราชการ หรือไม่ หรือว่ามีโครงสร้างแบนราบ เป็นองค์กรนวตกรรม แบบ Microsoft หรือ Google ก็อย่าไปว่าเขา เพราะองค์กรแบบนี้ เขาให้ทุกคนเป็นอิสระกับการทำงาน ไม่มีโครงสร้าง ไม่มีระดับชั้นการบังคับบัญชา ท่านก็ต้องปรับตัวใหม่ครับ

อย่างไรก็ตาม เมื่อติแล้ว ก็ควรตามด้วยการให้  คือให้อภัย ยิ้มแย้มแจ่มใสครับ  ชีวิตคือละคร ท่านต้องเล่นบทของท่านให้ดีที่สุดครับ

ประการที่สาม อำนาจสร้างได้ด้วยการเป็นผู้รู้มากกว่า  เมื่อมีโอกาส จงแสดงความรอบรู้ว่าลูกน้อง  โดยเฉพาะรอจังหวะเมื่อเขาผิดพลาด หาโอกาสเข้าไปแนะนำ ช่วยเหลือเขา เป็นระยะ คือจุดอ่อนขององค์กร ของเจ้านาย ของลูกน้อง คือจุดแข็งของเรา  ครับ แต่อย่า OVER โชว์ออฟ ฉายเดียว ทำตัวเด่นเกินไป ไม่ควรครับ

ประการที่สี่ อำนาจสร้างได้ด้วยการอาศัยอำนาจอ้างอิง  เช่น อ้างระเบียบ อ้างคำสั่งเจ้านาย อ้างนโยบาย อ้างความต้องการของลูกค้า อ้างในสิ่งที่ชอบธรรม  ให้ลูกน้องทำตามนั้น  อำนาจนี้ใช้ต่อเนื่องจาก อำนาจทั้งสามข้อข้างต้นได้เลยครับ

ประการที่ห้า อำนาจสร้างได้ด้วย ตำแหน่งทางนิติกรรม หมายถึง  จงแสดงบทบาทหน้าที่ให้สมกับตำแหน่งที่องค์กรแต่งตั้งให้  ให้เป็นหัวหน้า จงทำตนเป็นหัวหน้า บริหารลูกน้องดุจดั่งเขาเป็น ลูก และเป็นน้อง  และเล่นบทบาทให้เหมาะสมกับเป็นหัวและเป็นหน้าของเขา  และหาโอกาสสอดแทรก ให้เห็นว่าเราคือหัวและหน้าของเขา ที่เขามีหน้าที่ดูแลรักษาดุจดังที่เขาต้องดูแลหัวและหน้าของเขาทุกวัน   ใช้คำพูดวาจา หลักการตามแนวพุทธบริษัท ใช้หลักธรรมเข้ามาบริหาร เช่น การเป็นเจ้านาย ต้องมีหลักพรหมวิหารสี่  ต้องมีหลักทศพิศราชธรรม   รายละเอียดเป็นอย่างไร แนะนำให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมครับ

โดยหลักการก็คือ ปัญหาทั้งหลาย มองที่ตัวเรา แก้ที่ตัวเราก่อนดีที่สุดครับ  อย่างอื่นจะค่อยๆ ดีขึ้น  ท่านต้องรู้เพิ่มเติมว่า ลูกน้องท่าน เจ้านายท่าน

เกิดวันอะไร
เดือนอะไร
ปีอะไร
ราศีอะไร
ลักษณะโหงวเฮ็งเป็นอย่างไร  ชอบกินอะไร ชอบดื่มอะไร  ชอบสีอะไร มีครอบครัวหรือยัง  รู้เขา รู้เรา ไม่ต้องรบก็ชนะ ครับ

ตอบแล้ว: ศ. 02 เม.ย. 2553 @ 09:26   แก้ไข: ศ. 02 เม.ย. 2553 @ 09:26

หมายเลขบันทึก: 354007เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2010 20:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 10:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท