BAR เตรียมตลาดนัดโรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง


เสาร์ อาทิตย์นี้เดินทางมาร่วมกับคณะสถาบันสร้างเสริมการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) และมูลนิธิสยามกัมมาจล  ธนาคารไทยพาณิชย์  มาที่โรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ จังหวัดจันทบุรี  

การมาครั้งนี้มีเป้าหมายมาพูดคุยกับคุณครู ๒ โรงเรียน  คือ รร. สตรีมารดาพิทักษ์ และ รร. ซำฆ้อ  ซึ่งทั้ง ๒ โรงเรียนได้รับเลือกว่ามีการจัดการเรียนรู้ที่สอดรับกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้าไปในกิจกรรมการเรียนการสอน

การพูดคุยครั้งนี้  นำโดยพี่ทรงพล (สรส.) พาคุณครูทั้ง ๒ โรงได้ลองทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้ที่โรงเรียนทำอยู่  เป็นการถอดบทเรียนโดยนำเอาหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงบูรณาการเข้ากับสาระวิชา   แต่เที่ยวนี้มีโชคไม่ดีนิดหนึ่งตรงที่พี่ทรงพล  ไม่สบายเห็นว่าหมอบอกว่าติดเชื้อไววัสอะไรซักอย่างหนึ่ง  หน้า  มือ แขนขาเลยแดงไปหมด  หมอแนะนำให้พักผ่อนเยอะๆ  เลยช่วงบ่ายต้องให้พี่ทรงพลไปพัก  และคุณชยุตเป็นผู้อำนวยกระบวนการแทน

ช่วงบ่าย  ชยุตให้คุณครูทั้งสองโรงเรียนลองคุยกันทบทวนสิ่งที่ทำมาแล้วถอดบทเรียนโดยมีใบงานประมาณ ๕ แผ่นเป็น guide line   ส่วนทีมงาน  สรส.  ครูแกนนำ  ทีมมูลนิธิสยามกัมมาจล  รวมทั้งผมด้วยมายืนคุยกันว่ารูปแบบของตลาดนัดความรู้หน้าตาเป็นอย่างไร?  มีห้องย่อยอะไรบ้าง  จัดกระบวนการในห้องย่อยอย่างไร  ซึ่งเราคุยกันนานเลยดึงเก้ามานั่งคุยกันต่อ

ช่วงเช้าวันอาทิตย์  ที่โต๊ะอาหารในโรงแรม  สรส.  มูลนิธิสยามกัมมาจล และผมเราคุยกันเยอะ มีประเด็น  คุณอำนวย(กระบวนการ) ในห้องย่อยควรต้องมีการฝึกก่อนไหม?  โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้แก่เด็กเยอะ  แต่สิ่งที่ทีมงานคุยย้ำกันมาก  คือ ประเด็น  ทักษะการให้ความหมาย หรือตีความให้คุณค่าว่า "กิจกรรมที่ทำอยู่นั้น  ซึ่งในครั้งนี้มีเรื่องการจัดฐานการเรียนรู้  และค่ายการเรียนรู้    มันส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ในสาระวิชา  และเกิดนิสัยพอเพียงของเด็กนักเรียนได้อย่างไร?"  ตรงนี้เป็นจุดที่ต้องพาทำ  พาคิด  พาทบทวน  พาให้ความหมายกันพอสมควร

ทั้งหมดนี้  ก็เพื่อนำไปสู่การออกแบบเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ว่าการที่จะทำให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ผลดีมากที่สุดนั้น  ควรต้องจัดกระบวนการอย่างไร  คนเล่าเรื่องเล่าอะไร  คุณอำนวยต้องทำอะไร  ถามอะไร  เชื่อมโยง ตีความให้ความหมายคุณค่าของกิจกรรมการเรียนรู้ของคุณครูนั้นครอบคลุมเรื่องอะไร แค่ไหน อย่างไร?

สองวันนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการลงพื้นที่จุดหนึ่งเท่านั้น  ซึ่งจริงๆมีอีกหลายพื้นที่  เป็นส่วนหนึ่งของการนำไปสู่กระบวนการออกแบบเวทีใหญ่ที่จะมีขึ้นในเดือนสิงหาคม ๒๕๕๓   เป็นการทำ before action review ของเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้  เวทีใหญ่  แต่ในระหว่างการพูดคุย  จะเห็นว่ามันยังมีลักษณะการคุยกันแบบ  BAR และ AAR After Action Review เล็กๆ อยู่ในกระบวนการเตรียมงานตลอด

ผมจึงมองว่านี่คือ  การใช้กระบวนการ การจัดการความรู้  เป็นเครื่องมือในการเดินเรื่อง "การบูรณาการแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง"

หมายเลขบันทึก: 353863เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2010 09:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท