อวัยวะสัมผัส


อวัยวะรับสัมผัส

          เป็นเครื่องมือที่ใช้ทำหน้าที่รับสิ่งเร้ารอบตัวเรียกว่าเครื่องรับ ซึ่งแยกเป็น 7 ประเภท คือ

          1. ตา ทำหน้าที่รวบรวมความรู้สึกต่อสิ่งเร้านั้น ดังนั้นการรับสัมผัสที่มาปรากฏแก่นัยน์ตา จึงมีทั้งที่เป็นวัตถุ หรือภาพสีต่างๆ สามารถมองเห็นได้ทั้งในระยะใกล้และระยะไกล

          2. หู ทำหน้าที่รับ ขยาย และแปลงการสั่นสะเทือนรวมทั้งย่นย่อสิ่งเหล่านี้เข้ามาในระบบประสาท

          3. จมูก ให้ความรู้สึกจากการได้กลิ่น ภายในจมูกประกอบด้วย เยื่อจมูกที่มีลักษณะเป็นเนื้อเยื่อบางๆคาดอยู่ในช่วงจมูก ที่นี่จะมีปุ่มประสาทอันเป็นที่ตั้งของปลายประสาทรับกลิ่น ปุ่มประสาทประกอบด้วยเซลที่ขนยื่นออกมาพันเยื่อบางนั้น มีความไวต่อความรู้สึก เมื่อมีกลิ่นผ่านเข้ามาทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น

          4. ลิ้น ให้ความรู้สึกสัมผัสทางการรู้รส เรียกว่า รสสัมผัส คนเรานั้นสามารถรู้รส ได้ 2 แบบ  คือ การรู้รสทั่วไปซึ่งจะรับรู้เมื่ออาหารเข้าไปอยู่ในปาก และการรับรู้รสเฉพาะ ที่เกิดจากการกระตุ้นต่อที่บาง

แห่งภายในปาก การรับรู้นั้นอาจต้องอาศัยกลิ่นด้วย จึงจะรับสัมผัสได้ไว เช่น เวลาเป็นหวัดนานๆจะไม่รู้รสไวเหมือนปรกติ

มนุษย์เราสามารถรับรสพื้นฐานได้ 4 รส คือ เสเปรี้ยว เค็ม หวานและขม อาการกระตุ้นตุ่นรับรสทำให้เกิดความรู้สึกเป็นรสเหล่านี้ออกมาได้เกือบบริสุทธิ์

          เหตุที่คนเราต้องมีการรับรู้รสเพื่อประโยชน์ 2 ทาง คือ เราเลือกอาหารที่กินได้ให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย และเพื่อหลีกเลียงการอาหารที่เป็นพิษ นอกจากนี้ยังพบว่าอารมณ์และความพอใจของเรานั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับการรู้รสด้วย

          5. ผิวหนัง ให้ความรู้สึกสัมผัสทางความรู้สึกหรือกายสัมผัส ความรู้สึกนี้เราสามารถจำแนกเป็น 3 ลักษณะ คือ

             1. ความรู้สึกจากการสัมผัสเมื่อมีสิ่งใดมากระทบ

             2. ความรู้สึกจากความอุ่นหรือเย็นซึ่งเป็นอุณหภูมิ

             3. ความรู้สึกสัมผัสทางผิวกายที่ทำให้เกิด ความรู้สึกของความเจ็บปวด

          6. ความรู้สึกสัมผัสของการเคลื่อนไหวของร่างกายหรือกล้ามเนื้อสัมผัส เป็นความรู้สึกสัมผัสของการเคลื่อนไหวของร่างกาย ที่เกิดจากเครื่องรับสัมผัสที่อยู่ในกล้ามเนื้อเอ็นและข้อต่อของร่างกายที่ทำให้เราทราบถึงการเคลื่อนไหวของร่างกาย

          7. ความรู้สึกที่เกิดจากการทรงตัว ความรู้สึกสัมผัสเกี่ยวกับการทรงตัว มีเครื่องรับความรู้สึกสัมผัสอยู่ 2 ชนิด ที่ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของศีรษะ ช่วยให้ร่างกายทรงตัวอยู่ในระดับสมดุลได้เป็นปรกติ

คำสำคัญ (Tags): #ชัยภูมิ7
หมายเลขบันทึก: 353722เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2010 15:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 11:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท