สมุนไพรกับการรักษาฝ้า


สมุนไพรกับการรักษาฝ้า

สมุนไพรต่างๆ ที่บอกว่ารักษาฝ้าได้ น่าจะเป็นความจริง แต่สัดส่วนที่ได้ผลไม่น่าจะสูงกว่าร้อยละ 20-30 แต่สารเคมีที่นำมาเป็นยาแล้วประสิทธิภาพสูงร้อยละ 50-70 เพราะฉะนั้นถ้าจะใช้สมุนไพร และถามว่าจะเป็นอันตรายอะไรไหม ก็ต้องใช้วิจารณญาณด้วย ถ้าหากสมุนไพรนั้นมีลักษณะเป็นใบไม้ ดอก รากไม้ น่าจะปลอดภัยกว่าที่เป็นสารสกัดออกมาเป็นเม็ดและสรรพคุณของพืชนั้นๆ ถ้าคิดว่าเกินจริงหรือเหลือเชื่อ ก็อาจจะเป็นเช่นนั้นจริงๆ เช่น ที่โฆษณาว่าสามารถรักษาฝ้าให้หายขาด มีโอกาสเป็นไปได้น้อยมาก

        ส่วนสมุนไพรบางอย่าง เช่น ชะเอมเทศ ใบหม่อน หรือพวกขมิ้นส่วนใหญ่จะเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งสารอนุมูลอิสระจะเป็นตัวกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงที่ผิวหนังและกระตุ้น การสร้างเมลานินเพราะฉะนั้นการใช้สมุนไพรกลุ่มนี้อาจจะช่วยได้ระดับหนึ่ง

       การที่คนทั่วไปจะซื้อครีมทาฝ้ามารักษาเอง กรณีนี้ถ้าผู้ใช้พิจารณาดูแล้วว่าราคาไม่แพง มาก และไม่โฆษณาเกินจริงก็อาจจะลองใช้ได้ แต่ขณะเดียวกันก็ต้องประเมินตัวเองด้วย เช่น ถ้าใช้ไป 2-3 เดือน แล้วไม่ดีขึ้นก็ควรจะหยุด และอยากแนะนำว่าให้ใช้ในรูปของยาทาจะปลอดภัยกว่ายากิน ซึ่งอาจมีผลต่อตับและไตได้

ส่วนใหญ่พอพูดว่าสมุนไพร คนจะคิดว่าไม่มีอันตราย แล้วคิดว่ายาคือสารเคมี แต่สมุนไพรไม่ใช่ จริงๆ แล้วสมุนไพรก็คือสารเคมี และพืชเองก็ทำให้เกิดผื่นแพ้และระคายเคืองได้เช่นกัน

ข้อควรระวังคือ การรักษา ตัวเองแล้วเกิดผื่นแพ้ ในปัจจุบันผิวหนังบริเวณนั้นจะคล้ำขึ้น ซึ่งถ้าทิ้งไว้นานก็อาจจะรักษายาก และทำให้ปัญหายิ่งซับซ้อนขึ้น ในปัจจุบันเครื่องสำอางต่างๆ จะมีคำว่าไวเทนนิ่งอยู่เสมอ อยากเรียนว่าอย่าหลงไปเป็นเหยื่อโฆษณาที่กล่าวอ้างสรรพคุณว่าทำให้หน้าขาวใส ลดริ้วรอยอย่างนั้นอย่างนี้ เพราะสารที่มีฤทธิ์ทำให้ผิวขาวส่วนใหญ่จะถูกควบคุม เนื่องจากมีคุณสมบัติเป็นยาคือเกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง เช่น สารไฮโดรควิโนน กรดวิตามินเอ หรือสารคอร์ติโคสตเตียรอยด์ เป็นต้น อาจจะมีบางกลุ่มที่มีฤทธิ์อ่อนเช่น retiol, arbutin, licorice หรือ เอเอชเอ ในความเข้มข้นต่ำที่อนุญาตให้ใช้ในเครื่องสำอางได้ ดังนั้น โอกาสที่จะได้ผลน่าจะต่ำกว่าการใช้ยาจากแพทย์ผิวหนังที่มีความรู้ที่ถูกต้อง

และที่สำคัญราคาของเครื่องสำอางไม่ได้เป็นหลักประกันว่า เครื่องสำอางราคาแพงจะมีประสิทธิภาพดีกว่าเสมอไป

หมายเลขบันทึก: 353167เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2010 09:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 10:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท