สื่อกับสิทธิมนุษยชน


เอกสารประกอบการบรรยายหัวข้อ สื่อกับสิทธิมนุษยชน คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

ภายใต้แนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชน แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน สิทธิมนุษยชน หมายถึง สิทธิขั้นพื้นฐานที่มีสถานะสากล ที่พึงมีโดยเสมอภาคกัน เพื่อการดำรงชีวิตได้อย่าง มีศักดิ์ศรีมีโอกาสเท่าเทียมกันในการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่และสร้างสรรค์ ซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับขอบเขตของกฎหมาย หรือปัจจัยท้องถิ่นอื่นใด เช่น เชื้อชาติ หรือ สัญชาติ (ข้อ ๒๖ (๒) ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน)

นั่นหมายความว่า มนุษย์มีสิทธิที่จะได้รับโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของตน และเครื่องมือชนิดหนึ่งที่สำคัญในเรื่องนี้ก็คือ "สื่อ"

อย่างไรก็ตาม สื่อสามารถเป็นเครื่องมือในการสนับสนุน สร้าง ขยาย ที่เป็นการรับรองสิทธิภายใต้สิทธิมนุษยชนให้กับมนุษยได้

และในเวลาเดียวกัน สื่อก็อาจเป็นเครื่องมืออย่างดีในการละเมิดสิทธิมนุษยชนของมนุษยได้เช่นเดียวกัน

ในการบรรยายหัวข้อนี้ จะทำให้เห็น (๑) ภาพรวมของสถานการณ์ด้านสื่อในประเทศไทย กับ (๒) สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับสื่อ  และ (๓) กฎหมายที่มีผลต่อการจัดการปัญหาเรื่องสื่อกับสิทธิมนุษยชน

 

หมายเลขบันทึก: 352725เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2010 09:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท