Learning Organization : Peacefully thinking.


การคิดในแง่ลบ มองโลกในแง่ร้าย (Negative thinking) ทำให้ตนกลายเป็นคนวิตกจริตคิดแต่คอยจับผิดคนอื่นซึ่งนั่นนำมาซึ่งความทุกข์ อะไรอะไรทุกอย่างในโลกนี้ก็ไม่ดี คุณก็ไม่ดี ชั้นก็ไม่ดี สรรพสิ่งในโลกนี้อะไรอะไรก็ไม่ดี

การคิดในแง่บวก มองโลกในแง่ดี (Positive thinking) ทำให้ตนกลายเป็นคนมองสรรพสิ่งในโลกนี้อย่างสวยงาม ซึ่งนั้นนำมาซึ่งความสุข อะไรอะไรทุกอย่างในโลกนี้ก็ดี คุณก็ดี ชั้นก็ดี สรรพสิ่งในโลกนี้อะไรอะไรก็ดี

ถ้าคนมองโลกในแง่ร้ายก็เปรียบดั่งเอาไฟมาสุมอยู่ในอกฉันใด การมองในแง่นี้ก็เปรียบดั่งการเอาน้ำแข็งมาแช่ไว้ในจิตใจฉันนั้น หลงพลางแห่งความสุขมักจะกลายเป็นความทุกข์อย่างละเอียด

การมองโลกด้วยความจริง ดีก็ดี ร้ายก็ร้าย โลกจะเป็นอย่างไร โลกเขาก็เหมือนอย่างนั้น ไม่ตัดสินใคร อะไรว่าดีหรือเลว ว่าบวก หรือลบ วางใจให้เป็นกลาง (อุเบกขา) วางใจไว้ด้วยความสงบ (Peacefully thinking)

เมื่อใจอยู่นิ่ง ๆ เฉย ๆ “สบาย สบาย” น้ำหนักทั้งซ้ายและขวาจะถูกถ่วงอย่างสมดุล
ความรู้จากจิตดวงเดิมที่ประภัสสร จะซอกซอนพร้อมผลิบาน

เมื่อใดที่ใจเราสงบ เมื่อนั้นเราจะพบความรู้ที่แท้จริง (ปัญญา)

ชีวิตที่สงบคือชีวิตที่มี “ศีล”
คนที่มีศีลห้าเป็นปกติ ความคิดของเขาจะไม่ดิ้นรน “ใฝ่ต่ำ” และไม่เพ้อฝัน “ใฝ่สูง”
เมื่อชีวิตที่มีความคิดไม่สูง ไม่ต่ำ ไม่ซ้าย ไม่ขวา ไม่นำพาความสุข และความทุกข์
ชีวิตจะเรียบง่าย สมองจะปรับเข้าหาความสบาย แล้วกาย วาจา และใจ จะรู้ไซร้ซึ่ง “ปัญญา”

สมาธิย่อมเกิดจากบุคคลที่จิตใจมี “ศีล” เป็นปกติ
“สมาธิมา ปัญญาเกิด”

มองทุกอย่างเป็นกลาง ๆ ไม่บวก ไม่ลบ ไม่น้อมนบความทุกข์และความสุข เกลียวความรู้จะหมุนวน จิตใจคนจะปั่นเกลียว ความคิดที่เคยลดเลี้ยว จะแล่นตรงและไหลเชี่ยวด้วย “ปัญญา”

ปัญญาบารมีจะมีได้ด้วยเหตุแห่ง “ศีล” และ “สมาธิ”
พึงอย่าเครียดกับความทุกข์ และอย่าลุ่มหลงกับความสุข
ความทุกข์และความสุข เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป ความรู้ใด ๆ ย่อมพร้อมที่จะสูญสลาย แต่ความรู้แห่งจิตแห่งใจนี้เป็นนิรันดร์

หายใจเข้าให้สบาย หายใจออกให้สบาย แล้วจะพบเห็นสายทางแห่งความคิดที่ “สงบ (Peacefully thinking)”

เมื่อสงบแล้วด้วยเหตุแห่งกิเลส ตัณหา กามราคะ จิตจะไม่หลง ไม่ปรุงทั้งดี ทั้งร้าย
ดวงตาทั้งในและนอกจะบ่งบอกถึงความเป็นธรรมดาของธรรมชาติ
ทุกอย่างบนโลกใบนี้ล้วนถูกสมมติขึ้นให้แสดงบทบาท ตัวนี้ดี ตัวนี้เลว ตัวนี้ทุกข์ ตัวนั้นสุข แต่ตัวเรานั้นเราต้อง “สงบ”

จิตใจของเราเมื่อเห็นใคร อะไร สิ่งใดเป็นอย่างไรพึงเฝ้าดู รู้ และตามทัน
รู้ทันเรา รู้ทันจิตใจของเรา ถูกใจก็เฉย ไม่ถูกใจก็เฉย ไม่ปล่อยปะเลยการดูแลซึ่งจิตใจ

สุข หัวใจเต้นเร็ว หายใจช้า
ทุกข์ หัวใจเต้นเร็ว หายใจช้า
ไม่สุข ไม่ทุกข์หัวใจเต้นช้า หายใจยาว

สุตมยปัญญาเป็นปัญญาระดับหนึ่ง
จินตามยปัญญาเป็นปัญญาอีกระดับหนึ่ง
ภาวนามยปัญญาก็เป็นปัญญาในอีกระดับหนึ่ง

ถ้าความคิดยังติดอยู่กับบวกหรือลบก็ยากที่จะพบปัญญาที่แท้จริง...
เพราะชีวิตที่ยังอยู่กับสุข กับทุกข์ ติดอยู่กับคำสรรเสริญและนินทานั้น ความคิดของผู้นั้นก็ยังหลงอยู่กับ “โลกธรรม”

เมื่อโลกธรรมฝ่ายชั่วเข้าแฝดเผา ชีวิตก็รุ่มร้อนกระวน กระวาย
เมื่อโลกธรรมฝ่ายดีเข้าครอบงำก็ลุ่มหลงด้วยคำสรรเสริญและเยินยอ
การมองโลกในแง่ลบทำให้เรา “ประหม่า”
การมองโลกในแง่ดีทำให้เรา “ประมาท” 
ต้องก้าวให้พ้นจากความประหม่าและประมาท...

ความคิดที่เกิดจากจิตใจที่สงบจะไม่เลือกที่รัก มักที่ชัง
ธรรมดาของมนุษย์มักจะคิดเข้าข้างตนเอง ให้น้ำหนักกับคนที่ตนเองรักมากกว่าคนที่ตนเองเกลียด
คนที่ดีคือคนที่มีคุณธรรม คนดีจึงเป็นคนที่ไม่มีความคิดเอียงไปในข้างใด ข้างหนึ่ง ไม่ว่าดีหรือเลว
ความยุติธรรมคือความเป็นกลาง ทางแห่ง “ธรรมะ” จึงเป็นทางสายกลาง ทางแห่ง "ความสงบ..."


 

หมายเลขบันทึก: 352537เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2010 12:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท