มาเริ่มรู้จักASEAN กับ AFTA


เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA)            หากกล่าวถึงความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศทุกคนคงนึกถึง GATT ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็น WTO ซึ่งเป็นองค์กรความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศในระดับที่ใหญ่ที่สุด ประเทศต่างๆจากทั่วโลกได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกซึ่งก็รวมถึงประเทศไทยด้วยเช่นกัน แต่ถ้าหากจะกล่าวถึงองค์กรในระดับภูมิภาคในด้านเศรษฐกิจแล้วก็คงนึกถึง AFTA (ASEAN Free Trade Area) หรือเขตการค้าเสรีอาเซียน AFTA เกิดขึ้นมาจาก ASEAN(The Association of South East Asian Nations) หรือสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยASEANเริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 ตามปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Declaration)  โดยมีประเทศผู้ก่อตั้งร่วมลงนามในปฏิญญา 5 ประเทศ คือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ,มาเลเซีย สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ,สาธารณรัฐสิงคโปร์ และราชอาณาจักรไทย และมีสมาชิกเพิ่มขึ้นอีก 5 ประเทศ คือ บรูไนดารุสซาลาม ,สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ,สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ,สหภาพพม่า และราชอาณาจักรกัมพูชา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคม และการพัฒนาทางวัฒนธรรม ,เพื่อส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค และเพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือ ในเรื่องที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้านความเจริญเติบโตและความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจของภูมิภาค  ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 4 ในปี 2535 อาเซียนตกลงที่จะจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) โดยมีเป้าหมายที่จะลดภาษีศุลกากรระหว่างกันลงเหลือร้อยละ 0-5 และยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าอื่นๆ โดย AFTA มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มปริมาณการค้าภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ,สร้างแรงดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในภูมิภาคนี้ให้มากขึ้นและทำให้ภูมิภาคนี้เป็นฐานการผลิตที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับโลก                เป้าหมายใหญ่ที่ASEAN และ AFTA มุ่งหวังก็คือการพัฒนาASEANให้มีความมั่นคงและเข้มแข็งของกลุ่มให้เหมือนกับทางสหภาพยุโรป หรือEU แต่ความหวังของASEN และAFTA คงเป็นไปได้ยากมากขึ้นอันเนื่องมาจากการเกิดขึ้นของ FTA (Free Trade Area) หรือเขตการค้าเสรีที่มีวัตถุประสงค์คล้ายกันคือ เพื่อลดกำแพงภาษีให้เหลือ 0%ระหว่างประเทศคู่สัญญา แต่การที่ประเทศสมาชิกหันไปทำFTAซึ่งโดยส่วนมากกับประเทศที่อยู่นอกกลุ่มอาเซียนย่อมเกิดผลกระทบแก่ประเทศในกลุ่มASEAN เพราะเป็นเสมือนการให้สิทธิประโยชน์แก่ประเทศนอกกลุ่มมากกว่า  แหล่งความรู้http://e-fpo.go.thwww.mfa.go.thwww.tisi.go.th 

หมายเลขบันทึก: 35214เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2006 11:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณค่ะ สำหรับข้อมูลดีๆ เป็นประโยชน์มากเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท