วิธีการสร้างบุญอย่างง่าย ๆ


มาร่วมกันสร้างและสะสมบุญกันเถอะ

วิธีการสร้างบุญอย่างง่ายๆ  

เหตุใดถึงต้องสร้างบุญ ศาสนาพุทธมีความเชื่อที่ว่า เมื่อใดที่ชีวิตของเราใกล้จะตาย เมื่อนั้นจิตของเราจะคิดแต่สิ่งที่ ทำมาในอดีต ทั้งสิ่งที่ดีและัไม่ดี หากในขณะที่กำลังจะตายคิดแต่สิ่งที่ดี คิดถึงแต่บุญที่่เคยทำมา เมื่อนั้นก็จะได้ไปเกิดในภพภูมิที่ดีๆ เช่น ได้เป็นเทวดาได้ไปเสวยสุขบนสวรรค์ แต่หากขณะที่กำลังจะตายคิดแต่สิ่งที่ไม่ดีที่เคยได้ทำมาเช่นเคยฆ่าสัตว์ เคยทุบตีพ่อ-แม่ เคยผิดลูกผิดเมียกับผู้อื่นไว้ ก็จะทำให้เกรงกลัวต่อกรรมที่ได้เคยทำนั้นไว้ เมื่อจิตที่กำลังจะลาจากร่างนั้นได้ออกไป ก็จะได้ไปเกิดในภพภูมิที่ต่ำกว่า เช่นเกิดเป็นเปรต อสูรกาย หรือสัตว์เดรัจฉาน เป็นต้น แต่หากว่าเมื่อใดที่เรากำลังจะตาย แต่ไม่มีซึ่งความคิดใดๆ เพราะถูกฝึกมาโดยการทำวิปัสนากรรมฐานหรือมีแต่ความว่าง ว่างจากกิเลส ตัณหาต่างๆ เมื่อนั้นเราจะเข้าสู่นิพพาน หรือสภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว ภาวะที่เป็นสุขสูงสุด เพราะไร้ทุกข์ เป็นอิสรภาพสมบูรณ์ เพราะฉนั้น เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่า เราจะตายวันไหน ตายอย่างไร ตายเพราะอะไร แต่หากเรา หมั่นทำบุญและรักษาศีลทั้งทางกาย วาจา และใจแล้ว และไม่ให้ไปเบียดเบียนผู้อื่นทั้งทางกาย วาจา ใจ เช่นกัน หมั่นเจริญสติกำหนดรู้อิริยาบถของร่างกายอยู่เรื่อย ๆ เพื่อไม่ให้ปล่อยใจไปให้กับกิเลสตัณหา

  วิธีสร้างบุญ หลายคนมักคิดว่าการทำบุญ คือการไปไหว้พระ ใส่บาตร ทำบุญ ทำสังฆทาน หรือปล่อยนก ปล่อยปลา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ถือว่าเป็นการทำบุญอย่างหนึ่งเหมือนกัน  

              การสร้างบุญนั้นมีอยู่หลายรูปแบบมากมาย แต่ขออธิบายอย่าง ย่อๆ ง่ายๆเอาไว้ท่องให้ขึ้นใจ ว่าทำตามนี้ได้บุญแน่นอน ดังต่อไปนี้  
            "ทาน" หรือการให้ทานที่พวกเรามักทำกันตลอด เช่นการใส่บาตรพระ ถวายสังฆทาน แจกทานที่ท้องสนามหลวง ฯ สิ่งเหล่านี้ ที่ทำกันเรียกว่าการให้ทาน ซึ่งเป็นบุญชนิดแรกๆ ที่พวกเราคิดทำกัน อาจจะทำได้สะดวกบ้าง ไม่สะดวกบ้าง เพราะต้องออกไปซื้อของ ไปถวายพระท่านที่วัด จึงอาจทำให้บางคนไม่ค่อยได้ทำบุญในลักษณะนี้ 
             ขอเสริมอีกนิด ว่้าการทำทาน ถ้าจะทำให้ดีควรทำที่วัดมากกว่าที่อื่นๆ เพราะการทำทานกับวัดก็เหมือนกับการสืบสานพระพุทธศาสนา ให้คงอยู่ต่อไป
           "ศีล"หลาย ๆ คนในที่นี้ อาจรู้จักว่าการรักษาศีล คือไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ผิดลูกผิดเมียคนอื่น ไม่พูดปด ไม่กินเหล้า ซึ่งหลายคนอาจจะคิดเช่นนี้จริงๆ การรักษาศีลที่ถูกจริงๆ คือการที่รักษาศีลแต่ รวมเอาการรักษาด้วยกาย วาจา และใจเข้าไปด้วยซึ่งมันละเอียดอ่อนมาก ค่อย ๆ เปลี่ยน ค่อย ๆ ทำไปเรื่อย ๆ ไม่เร่ง แต่ไม่ขี้เกียจ ไม่หวังผล   จากการรักษาศีล ว่ารักษาแล้วต้องได้อย่างนั้น อย่างนี้ ซึ่งอย่างนั้นมันไม่ใช่   การรักษาศีลให้ครบทั้ง 5 ข้อ เพียงเท่านี้ก็ได้บุญ  การรักษาศีลนี้ได้บุญง่ายคือจะทำอะไรอยู่ก็ทำได้ อยู่ที่ไหนก็ทำได้ ไม่ว่าคุณจะมีร่างกายเป็นอย่างไรก็ตาม ขอแค่จิตใจคุณปกติก็พอ

          "ภาวนา" หรือการสวดมนต์ภาวนานั่นเอง หลายคนมักสงสัยกันว่า สวดไปทำไม ภาษาอะไร แปลไปก็ไม่ออก ฟังก็ยาก ท่องก็ยาก  จริงๆในการสวดมนต์นั้นมีอุบายธรรมที่หลายคนอาจไม่รู้  ปกติเรามักจะคุยเรื่องของคนที่ 3 กับคนผู้ร่วมคุยคนที่ 2 เสมอ (ติฉินนินทานั่นเอง)  ซึ่งสิ่งที่ทำนั้นจริง ๆ แล้ว เราก็ไม่เคยมาสงสัย แต่การทำดีนั้นทำไมเราถึงสงสัยกันจังก็ไม่รู้  ทั้งๆที่การสวดมนต์ภาวนา คือการที่ทำให้จิตใจ ไม่ไปคิดถึงเรื่องอื่น เฝ้าแต่จดจ่อถึงบทสวดท่อนต่อไป ซึ่งจะทำให้เรา ไม่มีความคิดที่เป็นกิเลสตัณหาอยู่ การที่ไม่คิด จิตว่างจากอบาย และักิเลสตัณหาเพียงเท่านี้ก็สามารถสร้างบุญให้กับเราแล้ว   อีกทั้งบทสวดต่างๆ พระท่านก็นำมาจากภาษาบาลี ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีอยู่แล้วทั้งนั้น
          "สมาธิ"หรือการทำสมาธิ หรือการทำวิปัสสนากรรมฐาน เอาความว่างมาเป็นอารมณ์ มีอารมณ์จดจ่ออยู่กับอิริยาบถของร่างกาย หรือลมหายใจ หรืออาการพองยุบต่างๆ ตามแต่กำหนด  เป็นวิธีการสร้างบุญที่ได้บุญสูง อย่างที่ท่านแม่ชีทศพรมักพูดว่า"สวดมนต์เป็นยาทา วิปัสนาเป็นยากิน" นั่นเอง
            หลากหลายวิธีการสร้างบุญมีอยู่มากมาย อยู่ที่เราจะเลือกทำหรือสะดวกทำอย่างไหนไม่ว่ากัน แต่การทำบุญที่ดี ต้องไม่กระทบกับอาชีพการงาน ความเป็นอยู่ของเราเช่นกัน
   อะไรที่สบายใจก็ทำ ทำแล้วไม่เดือดร้อนใครก็ทำ ขอเพียงเรายังสู้ไหว  อย่าคิดว่าพรุ่งนี้เราค่อยทำ เพราะพรุ่งนี้อาจไม่มีเราก็ได้ จึงอยากให้เอาชนะใจตัวเองเพื่อที่จะทำดีให้ได้  อย่าไปมองดูคนอื่น เพราะการเปรียบเทียบมันจะทำให้เป็นทุกข์ ไม่ว่าสิ่งที่เราไปเปรียบเทียบนั้น ของเราจะดีกว่าหรือไม่ดี ก็เป็นทุกข์ทั้งนั้น จงหมั่นมองดูตัวเองในสิ่งที่ทำมา ว่าวันนี้ เราทำดีแล้วหรือยัง ทำอะไรที่ไม่ดีไปบ้าง อย่างน้อยก็คิดว่าพรุ่งนี้ฉันจะทำดีให้มากขึ้น จะทำไม่ดีให้น้อยลงก็พอ

   จากเว็บไซต์ thossaporn.com

 

คำสำคัญ (Tags): #โคราช12
หมายเลขบันทึก: 352038เขียนเมื่อ 16 เมษายน 2010 23:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท