การบริหารนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา
นายอภิศันย์ การบริหารนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา ศิริพันธ์

มารู้จักคำว่า "ตัวชี้วัด" กันดีกว่า


ตัวชี้วัด คืออะไร

ตัวชี้วัด

         ตัวชี้วัด หรือ Key Performance Indicators เป็นดัชนีชี้วัด หรือหน่วยวัดความสำเร็จของการปฏิบัติงานที่ถูกกำหนดขึ้น โดยเป็นหน่วยวัดที่ควรมีผลเป็นตัวเลขที่นับได้จริง และต้องสื่อถึงเป้าหมายในการปฏิบัติงานสำคัญ ทั้งนี้เพื่อสร้างความชัดเจนในการกำหนด ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานในด้านต่างๆ  

        ถ้ามีตัวชี้วัดจำนวนมากจะช่วยให้ผลคะแนนการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยรวมดีขึ้นหรือไม่ คำตอบนี้ตอบได้เลยว่า ไม่เสมอไป ทั้ง 2 กรณีมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป การมีตัวชี้วัดจำนวนมากอาจช่วยลดความเสี่ยงในความผิดพลาดของงานที่เกิดขึ้น เนื่องจากมีตัวหารที่จะออกมาเป็นค่าเฉลี่ยมาก แต่ตัวชี้วัดที่มากเกินความจำเป็นอาจก่อให้เกิดความสับสนในการปฏิบัติงาน ขาดความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน ทำให้ผู้ปฏิบัติงานรู้สึกถูกกำหนดให้อยู่ในกรอบมาก เนื่องจากมีตัวชี้วัดบังคับอยู่หลายตัวจนทำให้การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานซึ่งอาจช่วยให้ผลงานดีขึ้นเป็นไปได้ยาก เมื่อมีตัวชี้วัดมากผู้ปฏิบัติงานก็จะถูกวัดในหลายด้านมากขึ้นตามลำดับ ซึ่งเปิดโอกาสให้มีตัวชี้วัดบางข้อที่ไม่สามารถทำให้บรรลุได้มากขึ้น ในทางกลับกันการมีตัวชี้วัดน้อยจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานมุ่งสู่ผลผลิตที่ชัดเจน มีความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปฏิบัติงาน แต่ถ้าไม่สามารถบรรลุตัวชี้วัดได้ในบางข้อก็อาจทำให้คะแนนรวมต่ำลงมากเนื่องจากมีตัวหารค่าเฉลี่ยน้อย

       การกำหนดตัวชี้วัด

 ตั้งตัวชี้วัดให้สื่อถึงผลสำเร็จของงานที่คาดหวังโดยอาจพิจารณาจาก
o ปริมาณ เช่น จำนวนรายงานที่ทำแล้วเสร็จ
o คุณภาพ เช่น ร้อยละความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ
o ความทันเวลา เช่น จำนวนวันที่ใช้ในการดำเนินการ
o ค่าใช้จ่าย เช่น ร้อยละของจำนวนกระดาษที่ใช้ในการทำรายงานลดลง
 ตัวชี้วัดกำหนดขึ้นเพื่อวัดความสำเร็จของการดำเนินงานขององค์กร ตลอดจนถึงระดับบุคคล ทั้งนี้ตัวชี้วัดในระดับบุคคลสมควรที่จะสอดคล้องกับตัวชี้วัดขององค์กร
 ตัวชี้วัด สามารถวัดประเมินเป็นตัวเลขได้จริงและเก็บข้อมูลได้อย่างสะดวกในสภาพการทำงานจริงเช่นมีการเก็บข้อมูล ที่เป็นตัวเลขในเรื่องนั้นๆอยู่แล้วในหน่วยงาน ไม่เช่นนั้นความยากในการเก็บข้อมูลอาจทำให้เราไม่สามารถติดตามผลการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความเสี่ยงที่จะได้รับตัวเลขผลการปฏิบัติงานที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง อย่างไรก็ดีการกำหนดตัวชี้วัดที่เก็บข้อมูลได้ยากอาจเกิดขึ้นได้ในกรณีที่มีความจำเป็น หรือมีความสำคัญต่อหน่วยงาน
จำนวนของตัวชี้วัดต้องไม่มากเกินไปจนเกิดความไม่ชัดเจนและทำให้ไม่สามารถติดตามผลได้อย่างสะดวก เนื่องจากการตั้งตัวชี้วัด เป็นการสร้างความชัดเจนในเป้าหมาย นำไปสู่การติดตามได้
ตัวชี้วัดและเป้าหมายต้องมีความสมดุลระหว่างกัน ได้แก่ ตัวชี้วัดและเป้าหมายต้องมีความท้าทายและสามารถบรรลุได้จริง ไม่ยากเกินไป ความท้าทายจากตัวชี้วัดและตัวเลขเป้าหมายจะช่วยเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงานทางอ้อมให้เกิดการพัฒนาการปฏิบัติงาน อย่างไรก็ดีตัวชี้วัดและตัวเลขเป้าหมายที่สูงเกินไปไม่คำนึงถึงความเป็นจริง อาจทำให้งานไม่สำเร็จและผู้ปฏิบัติงานอาจเสียกำลังใจตั้งแต่ต้นได้

     การตั้งตัวชี้วัดสำหรับผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานสนับสนุน ผู้ปฏิบัติงานด้านสนับสนุนนับได้ว่าเป็นบุคคลสำคัญในการผลักดันให้งานขององค์กรสำเร็จจึงถือเป็นงานภารกิจที่สำคัญ ตัวชี้วัดสำหรับงานสนับสนุนนี้ตั้งตามหลักเกณฑ์เดียวกับการตั้งตัวชี้วัดในงานอื่นๆ ทั้ง 4 มิติ ตัวอย่างเช่น ในด้านคุณภาพ สามารถตั้งเป็นความครบถ้วน เช่น ร้อยละของเอกสารที่ดำเนินการจัดส่งภายในกรมแล้วเสร็จสำเร็จต่อเดือน ความถูกต้อง เช่น ร้อยละของจดหมายแจ้งเรื่องที่ถูกตีกลับต่อเดือน และ ความพึงพอใจ เช่น ความพึงพอใจของประชาชนที่รับบริการ 
     

      เป็นอย่างไรบ้างครับ คงทำให้เราเข้าใจ คำว่า "ตัวชี้วัด" เพิ่มขึ้นนะครับ

ที่มา http://www.ocsc.go.th/ocsccms/frontweb/view.jsp?categoryID=CAT0000344&forumID=frm0000084&screen=2#que0013705



คำสำคัญ (Tags): #ตัวชี้วัด
หมายเลขบันทึก: 351939เขียนเมื่อ 16 เมษายน 2010 14:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 19:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณสำหรับการแบ่งปันความรู้ดีๆ อ่านแล้วเข้าใจง่ายๆค่ะ

ขอบรรณานุกรมด้วยค่ะ จำนำไปใส่อ้างอิงงานวิจัย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท