สังคมแบบเอาความร่ำรวยเป็นเป้าหมาย


ปัจจุบันเป้าหมายมันผิด สอนเด็กก็ผิด ผลก็ออกมาผิดทิศผิดทาง

  อาทิตย์นี้มีเรื่องสนทนาที่น่าบันทึกไว้เผื่อใครมีโอกาสอ่านจะได้มีมุมมองอีกแบบ

   สังคมในโลกตอนนี้เป็นสังคมแบบ "เอาความร่ำรวยนำหน้า  เอาความร่ำรวยเป็นเป้าหมาย"  คือ เห็นว่าเป้าหมายของการเรียน  การทำงาน การประสบความสำเร็จในชีวิต  คือ ความร่ำรวย  ความเห็นอันนี้ยังมีขยายอีกว่า พวกเขาเห็นว่า  คนที่ร่ำรวย  เขาร่ำรวยได้เพราะว่า "ฉลาด"  เมื่อผมถามให้ลึกแล้วยังพบว่า  ทุกคนเข้าใจว่าความร่ำรวยไม่ใช่การตัดสินว่าเขาได้มาโดยสุจริตหรือไม่สุจริต  แต่... ทรัพย์สินที่มีมันเป็นประจักษ์พยานในความชาญฉลาด และความสำเร็จที่เห็นได้

   555 ผมหัวเราะแล้วตอบว่า "ก็ไม่ต่างอะไรกับคุณทักษิณ"  แสดงว่าความร่ำรวยอย่างคุณทักษิณคือเป้าหมายอย่างนั้นหรือ  คำตอบกลับบอกว่าไม่ใช่...  เขาอยากร่ำรวยแต่ด้วยวิถีทางที่สุจริต

   ผมให้ความเห็นว่ากำลังไปผิดทาง  เพราะถ้าเอาความร่ำรวยนำหน้า  เมื่อเจอปัญหาและทางเลือก  ระหว่าง ดี/เลว  ผิด/ถูก  เราก็จะเลือกว่าอันไหนทำให้ร่ำรวยก็จะทำอันนั้น  มากกว่าที่จะเลือกว่า อันไหนผิดไม่ทำ  อันไหนถูกต้องก็ทำ  แต่ถ้าตั้งเป้าไว้ว่า "เราจะเอาความดีนำหน้าความร่ำรวย"  ถ้าทำอย่างนั้นความร่ำรวยไม่ใช่เรื่องสำคัญที่สุด  แต่ดีเป็นเรื่องสำคัญ  ปัญหากลับตกลงมาที่  ปัจจุบันคนไม่นับถือคนไม่ให้ความสำคัญ คนดี เท่า คนร่ำรวย    ความร่ำรวย เป็นค่านิยมอันดับแรกในสังคมปัจจุบัน  คนมีชื่อเสียง (เช่นดารา) เป็นค่านิยมอันดับสอง คนดี แทบไม่ได้รับความนิยมเลย

   จากข่าวที่ผมเคยรับชมในโทรทัศน์ครั้งหนึ่ง  มีการสัมภาษณ์เด็กเล็กๆ ว่า  "โตขึ้นหนูอยากเป็นอะไร" เด็กน้อยตอบ "ผมอยากเป็นนักการเมือง" นักข่าวถามว่า "เพราะอะไรคะ" เด็กบอกว่า "เพราะนักการเมืองรวย" อื่ออออ หลายคนคงรู้สึกเฉยๆ  แต่ผมอึ้งไปนาน  และคิดว่า  สังคมนี้ไม่น่าอยู่เสียแล้ว

   กับน้องสาวผมเอง  หัวข้อนี้ทำให้ต้องพูดถึงเรื่องของ เศรษฐี คือ  ต้องอธิบายกันจนเข้าใจว่า  สมัยโบราณจริงๆ คนทำหน้าที่กันตาม คุณธรรม ที่ตัวเองมี  อย่างคนที่มีคุณธรรมด้านการให้  ดีเด่นและฉลาดในการแจกทาน  คนแบบนี้แม้เริ่มแรกยากจน  แต่ผู้คนจะยกย่องว่าเขาดีเขามีคุณธรรมด้าน ไม่ตระหนี่ เขาให้   เมื่อพระราชาผู้มีหน้าที่และฉลาดในการปกครองคน  ย่อมต้องค้นหาคนดี  ก็จะยกตำแหน่งเศรษฐี  ให้กับคนผู้นั้น  พร้อมทั้งยก คนงาน ที่ดิน ทรัพย์สิน ให้ไปบริหาร  แต่...การยกให้บริหารนั้น  ไม่ใช่การยกให้เพื่อให้คุณทำความร่ำรวยอยู่คนเดียว  แต่เป็นการยกย่องในคุณธรรม  และคาดเดาได้ว่า  เมื่อได้รับแต่งตั้งแล้วจะทำหน้าที่ เศรษฐี คือ แจกจ่ายทรัพย์สินที่มีอยู่แก่ผู้ขาดแคลนและสมควรได้รับ  คือ ทำหน้าที่แทนพระราชาด้่านการแจกพระราชทรัพย์นั่นแหละ  ไม่ใช่เงินทองของตัวเองสักหน่อย 

  ต้องยกตัวอย่างในธรรมบท  ที่มีคู่สามีภรรยาชาวนาคู่หนึ่ง ภรรยาถวายอาหารกับพระสารีบุตรแล้วย้อนกลับไปทำอาหารมาใหม่เพื่อให้สามี  สามีทราบแทนที่จะโกรธกลับยินดีมาก  (สรรเสริญคุณธรรมของภรรยา)  แล้ววันนั้นไถนาได้ขี้ไถเป็นทองคำ   พระราชายืดทองมาก็กลับกลายเป็นขี้ดิน  พอคืนกลับไปก็กลายเป็นทอง  ก็เลยต้องยกตำแหน่งเศรษฐีให้  อันนี้ก็ทำความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปว่า  ชาวนาได้ตำแหน่งเศรษฐี เพราะว่ามีทองมากกว่าพระราชา  จริงๆ ความสำัคัญอยู่ที่ว่า สองสามีภรรยา ได้เป็นเศรษฐี เพราะความดี  ทองคำแค่เป็นพยานว่าชาวนานั้นเป็นคนดีจริงๆ

   ถ้าเรายังสอนเด็กๆ ว่า  เรียนให้สูงๆ จะได้มาเป็นเจ้าคนนายคน  เป็นเศรษฐี  อันนี้จะนำความวุ่นวาย  และค่านิยมของการให้คุณค่าคนที่เงิน ชื่อเสียงและบรรดาศักดิ์  (ยิ่งคนดีจะมาได้ดีมีชื่อเสียงตอนตายไปแล้ว  ยิ่งทำให้หลายคนไม่อยากเป็นคนดี)

คำสำคัญ (Tags): #ปรัชญา
หมายเลขบันทึก: 351740เขียนเมื่อ 15 เมษายน 2010 13:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 18:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับ

มีคนเคยกล่าวว่ายิ่งเรียนสูงยิ่งห่างไกล้ถิ่นเกิด

ภาวะสมองไหลของคนมีการศึกษาสูงก็ยังมีอยู่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท