พัฒนาการ 53 ปี ชุมชนคลองเตย


ใช้วิกฤตเป็นโอกาส อยู่คู่เมืองทันสมัย สร้างชุมชนใหม่ที่ยั่งยืน

พัฒนาการ 53 ปี ชุมชนแออัดคลองเตย 

ข้อมูลชุมชนคลองเตย

              เขตคลองเตยมีชุมชน ทั้งสิ้น 44 ชุมชน มีผู้อยู่อาศัยประมาณ 110,000 คน หรือประมาณ 21,500 ครัวเรือน   บริเวณที่เป็นที่ดินของการท่าเรือคลองเตยมีเนื้อที่ 2,259 ไร่เศษ เป็นพื้นที่ชุมชนแออัด   400 ไร่   รวม  26 ชุมชน ประชาชนมากกว่า 70,000 คน ครัวเรือนมากกว่า 12,000 คน   ชุมชนตั้งหนาแน่นอยู่ติดกันรวมเรียกว่า “ชุมชนแออัดคลองเตย” ซึ่งเป็นชุมชนแออัดที่ใหญ่ที่สุดของประเทศในปัจจุบัน

การก่อเกิดชุมชน

                พศ. 2480 - 2482 รัฐเวนคืนที่ดิน 2,259 ไร่เศษที่ตำบลคลองเตยซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่น่า  เพื่อขยายกิจการขนส่งทางเรือ   ต่อมาเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 และข้อจำกัดการขยายตัวทางเศรษฐกิจทำให้การท่าเรือใช้ประโยชน์จากที่ดินไม่เต็มที่ เป็นผลให้ชาวบ้านอพยพเข้ามาอยู่เพื่อหางานทำในท่าเรือ

วิถีการพัฒนา เปลี่ยนแปลง

ยุคหนึ่ง  - ตั้งถิ่นฐาน ช่วยตัวเอง

                พ.ศ. 2500  - 2511  ชาวบ้านย้ายเข้ามารวมก่อเป็นชุมชนใหญ่ จากการการไล่รื้อบริเวณต่าง ๆ  เช่น บริเวณถุกไฟไหม้สลัมสวนมะลิ และ สะพานเหลือ ตลาดคลองเตย  โรงงานฆ่าสัตว์(โรงหมู)   และจากการไล่ที่สร้างท่าเรือด้านตะวันออก  บริเวณปากคลองพระโขนง   คนอพยพเข้าสร้างถิ่นฐานแต่รัฐไม่รับรอง  จึงเป็นชุมชนบุกรุก    มีปัญหา  เสื่อมโทรม  ไม่มีการเลือกตั้งทุกชนิด   ไม่รู้จักการเมือง     เกิดผู้นำธรรมชาติ  ช่วยตัวเอง  ขาวบ้านก่อตั้ง “โรงเรียนวันละบาท” (เริ่มตั้งปี  2511) เป็นศูนย์รวมพัฒนา

ยุค 2  (2513-2524)   เข้าสู่การพัฒนา

                 ปี 2511 คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาลัยธรรมศาสตร์ ได้สำรวจชุมชน  เป็นการเปิดโลกสลัมคลองเตย  หลังจากนี้คนจากภายนอกเข้าหาชุมชน  เกิดกิจกรรมพัฒนา   ปี 2515 การท่าเรือไล่ที่ครั้งใหญ่         ชาวบ้านคลองเตยได้มีส่วนร่วร่วมและรับผลกระทบจากเหตุการณ์  14 ต.ค 16  และ  6 ต.ค 19  ช่วงนี้มีการพัฒนาพื้นที่ครั้งใหญ่  ไล่ที่สร้างทางด่วน   สร้างแฟลต    การเคหะปรับปรุง      ให้ทะเบียนบ้านชั่วคราว   กทม. ตั้งโรงเรียนในชุมชน 

                การรวมกลุ่มของชุมชน ขยายตัว  ปี 2525  จัดตั้งกรรมการชุมชน   สมาพันธ์ชุมชนแออัดคลองเตย  ตั้งองค์กรพัฒนาในพื้นที่  คือ  มูลนิธิดวงประทีป  มูลนิธิรวมน้ำใจ   ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาบุคคล  เป็นพลังสนับสนุนชุมชนที่สำคัญ    ปี    2525  การท่าเรื่องไล่ที่ใหญ่อีกครั้ง   

ยุค 3 (2525-2534)  กระแสพัฒนาขึ้นสูง จัดตั้งชุมชนใหม่

                ผู้บริหารประเทศ และองค์กรต่าง ๆ ลงหาชุมชน   ชาวบ้านการต่อสู้ชนะ ท่าเรื่อให้เช่าที่ 20 ปี      การเคหะจัดตั้งชุมชนใหม่    สร้างถนน น้ำประปา ไฟฟ้า      อาคารพานิช     ชุมชนมีสิทธิ์เลือกตั้ง    สส.ลงสลัม   คนในพื้นที่  เป็น สข.    สก. องค์กร เอ็นจีโอ .สนับสนุนชุมชนนำความคิด     ปี 2529  ทำโครงการเขตปลอดยาเสพติด   กิจกรรมเยาวชนเฟื่องฟู  สร้างสนามกีฬากลาง ต้านยาเสพติด

       ปี 2526   ร่วมเครือช่ายชุมชนแออัด  รณรงค์เลือกตั้ง ชูคำชวัญ  “บริการน้ำไฟ ไม่ไล่ที่   มีทะเบียนบ้าน คือความต้องการสลัม”         

                ปี 2534  ปฎิวัติ  รสช.  มีผลกระทบต่อบทบาทการเคลื่อนไหวประชาธิปไตยของชุมชน  สารเคมีในท่าเรือระเบิด ไฟไหม้ชุมชน มีคนตาย นำสู่การเรียกร้อง  ศาลสั่งให้ท่าเรือชดเชยค่าเสียหายชาวบ้าน

ยุค 4  (2535-2544)    การพัฒนาถดถอย  ยาเสพติดระบาดหนัก

ปี 2534  เกิดรัฐประหาร รสช.สารเคมีระเบิด ยุบสนามกีฬาเป็นที่อยู่ชั่วคราว   ชาวคลองเตยเข้าร่วมในเหตุการณ์  “พฤษภาทมิฬ”      กลุ่มผู้นำเติบโต  แบ่งขั้ว   สมาพันธ์ฯ หมดสถานะตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์    กทม.ยุค ดร.พิจิตต  ส่งเสริมชุมชน   ลานกีฬา   ตั้งประชาคม    จัดตั้ง “สถาบันการพัฒนาพื้นฐาน” อยู่ในสังกัดมูลนิธดวงประทีป          ยาเสพติดระบาดหนัก  ผู้ค้ายาฯ มีอิทธิพล  ไล่รื้อล็อก 7-12  จัดตั้ง “โครงการบ้านมั่นคงโรงหมู”

ยุค 5 (2545- ปัจจุบัน)  สงครามสู้ยาเสพติด  การไล่รื้อครั้งสุดท้าย

พ.ต.ท.ทักษิณ  ชินวัตร  นายกรัฐมนตรี  ส่ง พล.ต.ท.นพดล  สมบูรณ์ทรัพย์  นำกำลัง ตชด.กวาดล้างยาเสพติดคลองเตย          กลุ่มพัฒนาเริ่มฟื้นตัว  ตั้งเครือข่ายเรียนรู้คลองเตย   รวบรวมประวัติศาสตร์     นายกทักษิณ ให้ท่าเรือใช้ที่ดินเพื่อเศรษฐกิจ  จัดทำแผนคลองเตยคอมเพล็ก  เตรียมรื้อย้ายใหญ่           

2548  ผู้นำชุมชนประสานงานกันใหม่   จัดตั้งออมทรัพย์  พัฒนางานฝึกอบรมขยายตัว  ตั้งวิทยาลัยชุมชนคลองเตย สังกัด กทม.

              2549-51 เกิดความขัดแย้งการเมือง เสื้อเหลือง-เสื้อแดง  ชาวคลองเตยเข้าร่วมปรากฏตัวทั้งสองฝ่าย  แต่ภายในไม่ขัดแย้งกันเอง

             2550-51  ท่าเรือเริ่มแผนไล่รื้อ  ให้เอกชนเช่าช่วง แฟลต 1-10  ชุมชนเจ็ดสิบไร่   กำหนดไล่รื้อชุมชนพัฒนาใหม่  เปลี่ยนผู้เช้าตลาดคลองเตย ชุมนุมประท้วง ปาระเบิด

              2551  จัดตั้งสภาองค์กรชุมชนคลองเตย    ยกฐานะ สถาบันการพัฒนาพื้นฐาน เป็น มูลนิธิการพัฒนาพื้นฐาน มีสำนักงานอยู่ในชุมชนคลองเตย 

             2 ก.พ.2553  การท่าเรือแถลงโครงการ 30 ปี  ปรับใช้ที่ดินสองพันไร่   เพื่อการพัฒนาคอมเพล็กซ์ เพื่อการท่องเที่ยว  ไล่รื้อชุมชนทั้งหมด ให้ขึ้นอาศัยในแฟลต 12 ชั้น   การรื้อย้ายชุมขนเสร็จใน 10 ปี

สรุปประสบการณ์ชุมชนคลองเตย

คุณค่าของคลองเตย

            สร้างนักพัฒนาชุมชนเมืองสู่ขบวนการพัฒนา   และระดับนโยบาย 

                เป็นพื้นที่ทดลองแก้ปัญหาคนจน  ที่อยู่อาศัย  ยาเสพติด  ระบบสวัสดิการชุมชน

เป็นพื้นที่ปฎิบัติการสนาม เพื่อพัฒนางานวิชาการ

จุดแข็งคลองเตย

                ชาวบ้านสู้เรื่องไล่ที่ต่อเนื่อง  มีเครือข่ายและสร้างผู้นำรุ่นใหม่  มีองค์กรพัฒนาเอกชนในพื้นที่ ให้การสนับสนุนชาวบ้าน

                องค์กรเอกชน และ ผู้นำ ประสานติดต่อกับภายนอกได้ทั้งทางวิชาการ และ องค์กรพัฒนา

จุดอ่อนในอดีต

                ผู้นำชุมชน ขาดความรู้ไม่ทัน ภาคราชการ  กลุ่มผลประโยชน/การเมือง    ชาวบ้านไม่มีส่วนร่วม มีความคิดหวังพึ่ง     มีกลุ่มมิจฉาชีพ  ยาเสพติด  อิทธิพล เติบโตจนแก้ยาก

                องค์กรพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ.)   เน้นงานสงเคราะห์  แก้ปัญหาเฉพาะหน้า   ขาดการพัฒนาคนที่มีแผน

โอกาสการพัฒนา

                จัดทำรูปแบบงานพัฒนาขึ้นเป็นพื้นที่ตัวอย่าง เช่น  โครงการที่อยู่อาศัยยั่งยืน   สภาองค์กรชุมชน   ยุติธรรมชุมชน   แก้ปัญหายาเสพติด   สหกรณ์ออมทรัพย์   

                พัฒนาคน  สร้างองค์ความรู้  เป็นต้นทุนสู่การพัฒนาคลองเตยในอนาคต

ภัยคุกคามอันตราย

                เผชิญถูกไล่ที่โดยการดำเนินการของทุนข้ามชาติ    อิทธิพลมิจฉาชีพที่เติบโตจากภายใน

                ชาวบ้านถูกนำเข้าสู่ความขัดแย้งทางการเมืองใหญ่โดยไม่รู้เท่าทัน

 

เสนอทิศทางใหม่คลองเตย

: ชุมชนเข้มแข็ง   มีระบบสวัสดิการ   มีที่อยู่อาศัยมั่นคง

 สร้างองค์ความรู้คลองเตย คิดทะลุกรอบ เป็นต้นทุนสู่การพัฒนาคลองเตยในอนาคต

                พัฒนาคนสร้างผู้นำคุณภาพ   ให้มีคุณธรรม  มีความสามารถ    สร้างระบบทำงานเป็นทีม      มีแผน-มีข้อมูล   ไม่ส่งเสริมให้มิจฉาชีพ/อิทธิพล  เติบโต   ประสานกับเครือข่ายชุมชน กทม.

               สร้างความเข้มแข็ง “สภาองค์กรชุมชนคลองเตย” มีบทบาทเป็นองค์กรประสานหลักในเขตคลองเตย     ใช้แผนชุมชนบูรณาการกิจกรรม  เข้าเป็นองค์รวมในชุมชน  และ ในคลองเตย  เช่น แก้ยาเสพติด  การศึกษา  กีฬา  สาธารณสุข  ที่อยู่อาศัย สิ่งแวดล้อม ฯลฯ      ใช้วิกฤตถูกไล่รื้อเป็นโอกาส – คนร่วมอยู่กับเมืองทันสมัย  สร้างชุมชนคลองเตยใหม่ เป็นที่อยู่อาศัยยั่งยืน

มูลนิธิการพัฒนาพื้นฐาน – ปรับปรุง  53-04-14

หมายเลขบันทึก: 351559เขียนเมื่อ 14 เมษายน 2010 11:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท