Lucky Man
เวียงชัย นิลดวงดี ชายเวียง นิลดวงดี

สรุปเนื้อหาสาระเพื่อสอบผู้บริหารโรงเรียน


สรุปสาระสำคัญ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

 

สรุปพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.  2542

และที่แก้ไขเพิ่มเติม  (ฉบับที่ 2)  พ.ศ. 2545  มี  9 หมวด  78 มาตรา

ท่อง.... (หมาย   สิทธิ     ระ     แนว    หาร       มาตร      ครู       ทรัพย์     เทคฯ)

6 – 9 /   10- 14  / 15 – 21 / 22 – 30 /   31 – 46 /  47 – 51/  52 – 57 /  58 – 62/  63 – 69

ให้ไว้  14  ประกาศ  19 บังคับใช้  20  ส.ค. 42 ผู้สนอง นายชวน หลีกภัย แก้ไข ประกาศ 19 ใช้ 20 ธ.ค.45 ทักษิณ

 คำนิยาม

1.  การศึกษาเป็น  กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม

2.  การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายความว่า....การศึกษาระดับก่อนอุดม

-  ก่อนประถม ( 3-6 )   ประถม    มัธยมศึกษา ..ม. ต้น    ม. ปลาย---  สามัญ -  อาชีวะ

3.  การศึกษาตลอดชีวิต  ผสมผสาน   ใน   นอก   อัธ   เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

4.  สถานศึกษา หมายถึง  สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย  -  โรงเรียน  -  ศูนย์การเรียน  -  วิทยาลัย  -  สถาบัน   -  มหาวิทยาลัย-  หน่วยงานการศึกษา

5.  สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  หมายถึงจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

6.  มาตรฐานการศึกษา  ข้อกำหนด คุณลักษณะ คุณภาพที่พึงประสงค์ มาตรฐานที่ต้องการให้เกิดในสถานศึกษาทุกแห่ง เพื่อเทียบเคียงสำหรับส่งเสริมกำกับดูแล ตรวจสอบ การประเมินผลและประกันคุณภาพ

7.  การประกันคุณภาพภายใน การประเมินผล ติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานจากภายในโดยบุคลากรของสถานศึกษาเองหรือหน่วยงานต้นสังกัด

8.  การประกันคุณภาพภายนอก การประเมินผล ติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานจากภายนอก โดย สมศ.หรือหน่วยงานภายนอกที่ สมศ.รับรอง เพื่อประกันคุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษา

9.  ผู้สอน ครู คณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่าง ๆ

10.  ครู บุคลากรวิชาชีพหลักด้านการเรียนการสอน ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษารัฐ เอกชน

11.  คณาจารย์ .....สอนและวิจัยในระดับอุดมปริญญาของรัฐ เอกชน

12.  ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรวิชาชีพรับผิดชอบบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งรัฐและเอกชน

13.  ผู้บริหารการศึกษา บุคลากรวิชาชีพรับผิดชอบบริหารการศึกษานอกสถานศึกษา ระดับเขตขึ้นไป

14.  บุคลากรทางการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา บริหารการศึกษา ผู้สนับสนุนการศึกษา

หมวด  1 บททั่วไป ความมุ่งหมายและหลักการ  (หมาย)

มาตรา  6     การจัดการศึกษา เป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้ง กาย จิต สติปัญญา คุณธรรม

มาตรา  7   กระบวนการเรียนรู้ จิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมือง การปกครอง รู้รักษา สละ ส่งเสริม สิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ เคารพกฎหมาย ศักดิ์ศรี ความพร้อม

มาตรา  8  การจัด กศ. ยึดหลัก  3  ข้อ  ตลอด (เป็นการศึกษาตลอดชีวิต)  ร่วม (ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัด)       ต่อเนื่อง  (พัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง)                       

มาตรา  9  การจัดระบบ โครงสร้าง กระบวนการจัดการศึกษา  ยึดหลัก  6  เอก(นโยบาย)  กระ(กระจายอำนาจ)    มาตร (กำหนดมาตรฐาน กศ. ) ชีพ(ส่งเสริมวิชาชีพครู) ทรัพย์ (ระดมทรัพยากร)ร่วม(ส่วนร่วมบุคคล ครอบครัว) 

หมวด  2  สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา  (สิทธิ)

มาตรา  10  จัดให้บุคคลมีสิทธิ และโอกาส เสมอกัน การศึกษาไม่น้อยกว่า  12 ปี ทั่วถึง มีคุณภาพ ไม่เก็บ

                      -  ผู้มีความบกพร่อง ... ต้องจัดให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ

                      -  คนพิการ จัดตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการไม่เสียค่าใช้จ่าย

                      -  ผู้มีความสามารถพิเศษ จัดด้วยรูปแบบที่เหมาะสม

                                                   ( ตรงกับรัฐธรรมนูญ ปี 50   มาตรา49 )

*** ปัจจุบันรัฐอุดหนุนการศึกษาขั้นพื้นฐาน  15  ปี

อัตราการอุดหนุนค่าใช้จ่ายต่อหัวต่อคน จากมติ ครม.  ปี  50

ก่อนประถม   1,700   ประถม 1,900 มัธยมศึกษาตอนต้น 3,500  มัธยมศึกษาตอนปลาย 3,800

มติ ครม.  มีนโยบายเรียนฟรี  15  ปี        มี  5  อย่าง    ฟรีค่าเล่า   แบบเรียน  เครื่องแบบ  อุปกรณ์  กิจกรรม

หมวด  3  ระบบการศึกษา   (ระ)

มาตรา  15   ระบบการศึกษา  มี  3  รูปแบบ   ใน   นอก   อัธ

มาตรา  16  ในระบบ มี   2  ระดับ คือ 1.   ขั้นพื้นฐาน จัดไม่น้อยกว่า  12  ปี  ก่อนอุดม

 2.  อุดม      ต่ำกว่าปริญญา      ปริญญา         

มาตรา  17  การศึกษาภาคบังคับ  9  ปี  (ย่าง 7  ถึง  ย่าง  16 ) เว้นแต่...สอบได้ชั้นปีที่เก้าของภาคบังคับ

มาตรา  18  การจัดการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐานให้จัดที่ใดบ้าง....

                      1.  สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ศูนย์การเรียน / ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย

                      2.  โรงเรียน รัฐ เอกชน สังกัดศาสนา

                      3.  ศูนย์การเรียน  สถานที่  หน่วยงานจัดการศึกษานอกโรงเรียน  บุคคล  ครอบครัว

หมวด  4  แนวทางการจัดการศึกษา  (แนว) ...........  (ครูผู้สอนต้องศึกษาหมวดนี้เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ)

มาตรา  22   การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า

1.  ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้

2.  ให้ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด

3.  กระบวนการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ

มาตรา  23  การศึกษาทั้ง  3  ระบบ เน้น....ความรู้ คุณธรรม  กระบวนเรียนรู้และบูรณาการตามความเหมาะสม

                  ( 5  ด้าน  ....อัตตา  วิทยา  คณิตภาษา  ศาสนา  อาชีวะ )

มาตรา  24  การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ดำเนินการดังนี้

     1.  เนื้อหา / กิจกรรมสอดคล้อง สนใจ ถนัด   2.  ฝึกหัดให้คิด   3.  ยอดฮิตประสบการณ์จริง รักการอ่าน

     4.  ผสมผสานความรู้  ได้สัดส่วนกัน  5.  บรรยากาศก่อเกิดการเรียน  6.  จัดการเรียนรู้ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่

มาตรา  27  คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นผู้กำหนดหลักสูตรแกนกลาง

-       ให้สถานศึกษาทำสาระหลักสูตรในสัดส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชน

(ม. 30)  ส่งเสริมให้มีการวิจัย ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา

หมวด  5  การบริหารและการจัดการศึกษา   ( หาร )

                      -  ส่วนที่  1  การบริหารจัดการศึกษาของรัฐ

                      -  ส่วนที่  2  การบริหารจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                      -  ส่วนที่  3  การบริหารจัดการศึกษาของเอกชน

มาตรา  31  กระทรวงมีอำนาจหน้าที่

                      1.  ส่งเสริมกำกับดูแลการศึกษาทุกระดับทุกประเภท

                      2.  กำหนดนโยบาย แผนและมาตรฐานการศึกษา

                      3.  สนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา

                      4.  ส่งเสริม ประสานงานศาสนา ศิลปวัฒนธรรม กีฬา

                      5.  ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลการจัดการศึกษา

มาตรา  32  การจัดระเบียบบริหารราชการในกระทรวง  มี  4  องค์กรหลัก

         1.  สภาการศึกษา (คณะกรรมการสภาการศึกษามีไม่เกิน  59  คน ) สภาจะใหญ่มีคนเยอะ

          2.  คณะ กพฐ.  มีไม่เกิน  27  คน    

          3.  คณะ กกอ.  มีไม่เกิน  28  คน

          4.  คณะ กอศ.  มีไม่เกิน  32  คน

มาตรา  37  การบริหารและการจัดกศ.ขั้นพื้นฐานให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษา   โดยคำนึงถึง ปริมาณสถานศึกษา จำนวนประชากร วัฒนธรรมและความเหมาะสม ........(เศรษฐกิจไม่เกี่ยว)

-  รัฐมนตรีฯ  เป็นผู้กำหนดเขตฯ โดยคำแนะนำของสภาการศึกษา ปัจจุบันมี 185 เขต

คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา มี  15  *** คน

มาตรา  39  ให้กระทรวง กระจายอำนาจไปยังคณะกรรมการและ สพท.และสถานศึกษาโดยตรง

      4  งาน  วิชา  (17)   งบ (22)     บุคคล (20)   ทั่วไป(22)

มาตรา  40  องค์ประกอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 

 1.  ผู้แทนผู้ปกครอง           2.  ผู้แทนครู       3.  ผู้แทนองค์กรชุมชน

 4.  ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น    5.  ผู้แทนศิษย์เก่าของสถานศึกษา

 6.  ผู้แทนพระภิกษุสงฆ์หรือศาสนาอื่น   7.  ผู้ทรงคุณวุฒิ  8.  ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นกรรมการ – เลขานุการ

ท่อง...........ครอง  ครู  ชุมชน  ท้องถิ่น  ศิษย์เก่า  พระ  ทรง  ผอ.

จำนวนกรรมการสถานศึกษา   -  เล็ก  (นักเรียนไม่เกิน  300  คน  ) กรรมการ  9  คน

  -  ใหญ่   (นักเรียนเกิน  300  คน)    กรรมการ  15  คน

  • ส่วนที่  2   การบริหารจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

มาตรา  41  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิจัดการศึกษา ระดับใดระดับหนึ่ง หรือทุกระดับ

มาตรา  42  กระทรวงฯ เป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินความพร้อมในการจัด กศ.ของท้องถิ่น

  • ส่วนที่  3  การบริหารและการจัดการศึกษาของเอกชน

มาตรา  43  การบริหารและการจัดการศึกษาเอกชนให้อิสระโดยกำกับติดตาม ประเมินคุณภาพและ มฐ.จากรัฐ

มาตรา  45  สถานศึกษาเอกชน จัดการศึกษาได้ทุกระดับทุกประเภท

หมวด  6  มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา  (ฐาน )

ระบบประกันคุณภาพ    1.  ภายใน   2.  ภายนอก      หนึ่งครั้งในทุก  5  ปี

หมวด  7  ครูและบุคลากรทางการศึกษา

มาตรา 53ให้มีองค์กรวิชาชีพครู ผู้บริการสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา ** (มาตรานี้เกิด พรบ.สภาครูฯ 46)       

มาตรา 54 ให้มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู ** (มาตรานี้เกิด พรบ.ระเบียบครูฯ 47)      

บุคคลที่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้แก่

   1.  ครู           2.  ผู้บริหารสถานศึกษา          3.  บุคลากรทางการศึกษาทั้งรัฐ เอกชน

บุคคลที่ไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้แก่

 1.  บุคคลที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย           2.  ผู้บริหารระดับเหนือเขตขึ้นไป

 3.  วิทยากรพิเศษทางการศึกษา    4.  คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษาระดับปริญญา

  5.  สถานศึกษาตาม ม. 18 (3) - กศน. ครอบครัว ชุมชน อปท. สถาบันศาสนา สถานประกอบการ 

                                                                ฯลฯ

หมวด  8  ทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา (ทรัพย์)

มาตรา  59  ให้สถานศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคล มีอำนาจดังนี้

  1.  ปกครองดูแล บำรุงรักษา ใช้ จัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของสถานศึกษาทั้งที่เป็นที่ราชฯและทรัพย์สินอื่น            

  2.  จัดหารายได้จากบริการของสถานศึกษา      3.  เก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาที่ไม่ขัดนโยบาย

มาตรา  60  ให้รัฐจัดสรรงบประมาณแผ่นดินให้กับการศึกษาดังนี้

1.  จัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไป เป็นค่าใช้จ่ายรายบุคคลแก่ผู้เรียนการศึกษาภาคบังคับ

2.  ทุนกู้ยืมผู้มีรายได้น้อย

3.  จัดงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษาอื่นเป็นพิเศษ

4.  จัดค่าใช้จ่ายดำเนินการงบลงทุนให้สถานศึกษา

5.  จัดเงินอุดหนุนทั่วไปให้

6.  กองทุนกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำให้สถานศึกษาเอกชน

7.  ตั้งกองทุนพัฒนาการศึกษาของรัฐและเอกชน

หมวด  9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (เทคฯ)

( ม. 63)   รัฐต้องจัดสรรคลื่นความถี่

( ม. 64)   รัฐพึงส่งเสริม สนับสนุนการผลิตตำรา พัฒนาแบบเรียน

( ม. 65)   พัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิต ผู้ใช้เทคโนโลยี

( ม. 66)   ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนา

( ม. 67)   รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย

( ม. 68)   ระดมทุนเพื่อตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยี

  พบกันวันหลังนะครับ....

หมายเลขบันทึก: 351352เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2010 23:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอเชิญผู้รักการอ่านทุกคน แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะครับ ทุกความเห็นมีคุณค่าควรนำปรับปรุงและพัฒนา..ครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท