ความจริงเรื่อง ระบบหลักประกันสุขภาพ


บริการที่ผู้ให้บริการทุกท่านได้ช่วยกันนั้นก็ดีจริงๆสำหรับทุกคน ไม่ใช่แค่บริการชั้นสองสำหรับคนจน แต่ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงได้จริง โดยเฉพาะโรคค่าใช้จ่ายสูง ที่ผู้ให้บริการทุกหน่วยได้ช่วยให้เขาไม่ต้องล้มละลายจากการเจ็บป่วย

ความจริงเรื่อง...ระบบหลักประกันสุขภาพ 

         น่าสนใจว่าแปดปีที่ผ่านมาของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ งบประมาณจาก  1202.4 บาทต่อหัว ในปี 2545 เพิ่มเป็น 2,401.3 บาท ในปี2553 เม็ดเงินที่เพิ่มขึ้นจาก 23,796 ล้านบาท มาเป็น 89,385 ล้านบาท เรียกได้ว่าเพิ่มขึ้นกว่า 224% ส่วนงบฯบริหารของสปสช.นั้นแยกต่างหากได้มาปีแรกคือปี 45 จำนวน 1,600 ล้านบาทคิดเป็น 3% ของงบกองทุน หลังจากนั้นมาก็ได้รับลดลงอยู่ราวๆ 600กว่าถึง 900กว่าล้าน ปี 52 ได้ 1 พันล้าน หากเทียบเปอร์เซ็นต์ก็ 0.9%ของงบกองทุน ซึ่งน้อยมาก

 

 

       เงินกองทุนแต่ละปีที่มีจำนวนมากไหลเข้ามาในระบบหลักประกันฯส่วนหนึ่งต้องตัดไปเป็นเงินเดือนซึ่งมีสัดส่วนไม่สูงและแนวโน้มไม่เพิ่มขึ้นมาก เพราะจำนวนบุคลากรเพิ่มไม่มาก(ยกเว้นปีที่ผ่านมาที่โรงพยาบาลต้องจ่ายค่าตอบแทนสูงขึ้นแบบก้าวกระโดดจนตั้งตัวไม่ทัน)            งบประมาณที่ได้มาหักเป็นค่าเงินเดือนไม่มากอย่างเช่นปี 52 งบฯ 8.9 หมื่นล้าน ก็หักเป็นเงินเดือนเพียง 2.8 หมื่นล้าน เงินส่วนที่เหลือก็ชดเชยบริการทั้งนั้นแต่อาจจะมาด้วยรูปแบบและเงื่อนไขแตกต่างกันตามลักษณะของการบริการในแต่ละประเภท เร็วบ้างช้าบ้างขึ้นกับหลายปัจจัยรวมทั้งเรื่องการส่งเบิกของหน่วยบริการด้วย แต่ในที่สุดเม็ดเงินทั้งหมดก็ไปสู่หน่วยบริการหรือภาคประชาชนในพื้นที่ โดยจะไม่เหลือไว้ที่สปสช.

         หลายคนคิดว่าระบบหลักประกันจะทำให้รพ.ล้มระเนระนาด ซึ่งก็ต้องยอมรับว่ามี แต่เป็นบางแห่ง และ ความจริงคือตั้งแต่มีระบบหลักประกันฯมีข้อมูลชัดเจน ว่าแนวโน้มเงินสดคงเหลือของรพ.ในสังกัดสป.สธในภาพรวมเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากปี45มี1.46หมื่นล้าน พอมาปี 52 เพิ่มเป็น 4.29 หมื่นล้าน วัสดุคงคลังก็เพิ่มขึ้นมาก แต่ มีข้อสังเกตว่า ข้อมูลการรับรู้รายได้ของรพ.ในสังกัดสธ.ในปี 52 มีประมาณ 4.5ล้าน ขณะที่ข้อมูลของสปสช.ระบุว่ามีการโอนเงินให้หน่วยบริการไปทั้งสิ้นห้าหมื่นกว่าล้าน เรียกว่าข้อมูลขาดหายไปหมื่นกว่าล้าน นี่คงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดความไม่เข้าใจกัน ท่านผู้บริหารคงต้องตรวจสอบให้ดีว่ารพ.ตนเองประสบปัญหาลักษณะนี้หรือไม่ และหากมีปัญหาจริงก็คงต้องช่วยกันคิดว่า ในขณะที่ภาพรวมไปได้ คือมีเงินบำรุงคงเหลือในระบบค่อนข้างมาก แต่บางรพ.กลับขาดสภาพคล่อง

        ในขณะที่ปริมาณผู้ป่วยก็เพิ่มขึ้นจริงเพราะที่ผ่านมาเขาขาดโอกาสมานาน แต่ก็เพิ่มขึ้นปีละไม่มาก นับสะสม ตลอดแปดปีที่ผ่านมาจาก 119 ล้านครั้งในปี 45 เป็น 140 ล้านครั้งหรือประมาณ 30% ซึ่งที่จริงแล้วหากเอาจำนวนประชากรมาหารก็ตกคนละ2ครั้งกว่าๆเท่านั้น พวกเราบางคนอาจป่วยและใช้บริการมากกว่านี้เสียอีก เมื่อมองทางด้านผู้ป่วยในก็เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 3-4%ต่อปีเพิ่มไม่มาก แม้แต่ช่วงหลังยกเลิกการเก็บ 30 บาท การใช้บริการก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นมากมายอย่างที่หลายฝ่ายกลัวกัน

       ก็ต้องขอยกย่องผู้ให้บริการทุกท่านจริงๆที่ได้ให้บริการด้วยความเสียสละไม่ย่อท้อ และชาวบ้านก็เห็นความดีอันนี้ เพราะจากการสำรวจของเอแบคโพลล์พบว่าประชาชนพอใจบริการถึง 90%  และบริการที่ผู้ให้บริการทุกท่านได้ช่วยกันนั้นก็ดีจริงๆสำหรับทุกคน ไม่ใช่แค่บริการชั้นสองสำหรับคนจน แต่ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงได้จริง โดยเฉพาะโรคค่าใช้จ่ายสูง ที่ผู้ให้บริการทุกหน่วยได้ช่วยให้เขาไม่ต้องล้มละลายจากการเจ็บป่วย

----------------------------------------------------------------

ที่มา: เรียบเรียงจาก เนื้อหาบางส่วนของ เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง "แปดปีที่ผ่านมาของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ...ความสำเร็จและความเสี่ยง"  โดย นพ.ประทีป  ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการ สำนักงานหลักประกันุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)

12  มีนาคม  2553

-----------------------------------------------

  

หมายเลขบันทึก: 351259เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2010 15:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ขอบคุณข้อมูลนี้ค่ะมีประโยชน์กับผู้ให้บริการอย่าง By Jan ที่บังเอิญแวะมาเจอ

 และขอแทนคำขอบคุณด้วย http://gotoknow.org/blog/manorom/351155 ค่ะ

ขอบคุณครับ

หากมีข้อเสนอแนะหรือเพิ่มเติมสิ่งใดก็ยินดีนะครับ เป็นการแลกเปลี่ยนเรีนรู้ซึ่งกันและกันครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

เป็นพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยโรคไตอยู่หนองคายค่ะ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลนี้

คนไข้โรคไตตอนนี้สามารถเข้าถึงบริการได้มากขึ้นเพราะโครงการของสปสช.ค่ะ

ดีครับ

มีอะไรก็ส่งข่าวสารกันครับ แลกเปลี่ยนกันเป็นสิงที่ดีครับ

พอลล่ากับพี่นางจะไปจัดกิจกรรม เพื่อผป.โรคไต เรียนเชิญ อาจารย์มาเร่วมด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

ที่นี่ค่ะ  http://gotoknow.org/blog/paula-story/351312

แล้วจะ หาค่าใช้จ่าย จากกิจกรรมนี้คะ

http://gotoknow.org/blog/sha-paula/351792 

ขอแสดงความชื่นชมนะครับ

และจะไปร่วมกิจกรรมครับ

จะไม่เหลือไว้ที่สปสช...แต่เหลือไว้ในหน่วยงานของ สป. สสจ. อีกมากครับพี่

ผมว่าการอ่านข้อมูลการเงินมีปัญหามากครับ....คิดง่ายๆ หลักการดี แต่การเก็บข้อมูลมั่ว(แปลนิยามต่างกัน) แล้วยิ่งมาเจอผู้บริหารที่มั่วๆอีก ลองคิดดูว่าเกิดอะไรขึ้น สถิติบางตัวแปลความหมายอย่างโดดๆไม่ได้ ต้องดูข้อมูลอื่นประกอบ ต้องพัฒนาให้ง่ายกว่านี้ครับ

สุดท้ายกระทรวง กับ สปสช. ใครบริหาร รพ.กันแน่ครับ

ขอบคุณที่เสนอความคิดเห็นที่น่าสนใจครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท