หลักการสภาองค์กรชุมชน กทม.


สภาองค์กรชุมชนไม่ใช่สภาอำนาจ สร้างสรรค์ความดี มีจิตสำนึก

วัตถุประสงค์และทิศทาง ของ “ สภาองค์กรชุมชนกรุงเทพมหานคร”

จัดตั้งตาม พรบ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ.๒๕๕๑

สภาพในปัจจุบัน :

          ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมกับภาครัฐตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ 2550  เป็นเหตุให้ภาครัฐให้การบริการและแก้ปัญหาประชาชนไม่ทั่วถึง ไม่ต่อเนื่อง  ซ้ำซ้อน  ขาดประสิทธิภาพ  ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ณ เดือนมีนาคม 2553 จัดตั้งสภาองค์กรชุมชนเขตได้ 23 เขต  มีองค์กรสมาชิก 1,084 องค์กร

         ประธานสภาองค์กรชุมชน คือ นายณัชพล  เกิดเกษม     ผู้แทนสภาองค์กรชุมชน กทม.ในสภาพัฒนาการเมือง คือ  นายสุรศักดิ์  อินทรประสิทธิ์

วัตถุประสงค์ของ “สภาองค์กรชุมชน 

1)   รับรองให้ประชาชนมีฐานะทางกฎหมาย  เพื่อเสนอความเห็นและประสานงานกับภาคราชการ  

2)   ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพองค์กรของประชาชน ในการบริหารจัดการตนเอง ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น

3)  สร้างความสมานฉันท์ และวางรากฐานประชาธิปไตย  ในแนวทาง “การเมืองภาคพลเมือง”

หลักการของ สภาองค์กรชุมชน 

1)  เป็นสภาของประชาชน  มีศักยภาพในการจัดการตนเอง   เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

2)  เป็นสภาที่ไม่แสวงอำนาจ ไม่ขัดแย้งกับใคร สร้างสรรค์โดยทำความดี  มีจิตสำนึกต่อส่วนรวม  เสียสละ   มีจิตอาสา   ใช้กลไกสังคม/วัฒนธรรม เป็นเนื้อหาความร่วมมือ  โดยมีกฎหมายรับรอง

บทบาทสภาองค์กรชุมชน ใน กทม.

1)สภาองค์กรชุมชนเขต ทำเรื่องใหญ่ มีบทาทเป็น “สภาของประชาชนระดับเขต” จัดให้มีการประชุมกลุ่มกิจกรรมเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความร่วมมือกลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ ในพื้นที่   ประสานงานหน่วยราชการในพื้นที่ และนำเสนอนโยบายแก่สำนักงานเขต

2) สภาองค์กรชุมชน กทม. เป็นที่ประชุมระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนเขต  ประสานหน่วยราชการส่วนกลางและนำเสนอนโยบายต่อคณะบริหารกรุงเทพมหานคร

ทิศทางการดำเนินงานสภาองค์กรชุมชนใน กทม.

1)   เขตที่ยังไม่ได้จัดตั้ง- ส่งเสริมการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนให้ทั่วทุกเขตใน กทม.  (ไม่น้อยกว่า 30 เขต ในปี พ.ศ. 2553)

2)   ในเขตที่จัดตั้งแล้ว -  ขยายให้ครอบคลุมทุกชุมชนได้เข้าร่วมสภาองค์กรชุมชน   พัฒนาคุณภาพและส่งเสริมความเข้มแข็งของสภาองค์กรชุมชน   มี/เครือข่าย  มีระบบข้อมูล  เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

3)   นำข้อเรียกร้องของประชาชน เสนอต่อกรุงเทพมหานครและหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง

4)    ส่งเสริมประชาธิปไตยในระดับชุมชนรากหญ้า ในแนวทาง “การเมืองภาคพลเมือง” เพื่อประชาชนได้รับการบริการจากรัฐ  มีสิทธิ  มีหน้าที่  มีความรับผิดชอบ  ในการพัฒนาชุมชน และ พัฒนาท้องถิ่น

อุปสรรค อันตรายที่ต้องระมัดระวัง

1)   ไม่ใช้อำนาจบังคับ ครอบงำผู้อื่น  ส่งเสริมความดี  ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกกลุ่ม

2)   ไม่นำสภาองค์กรชุมชนไปเพื่อประโยชน์ของนักการเมืองหรือพรรคการเมือง

3)   ไม่ทุจริต คอรับชั่น  ทำงานด้วยคุณธรรมและความโปร่งใส

 

สมพงษ์  พัดปุย  ที่ปรึกษาสภาองค์กรชุมชนกรุงเทพมหานคร  รายงาน วันที่ 6 มีนาคม 2553

หมายเลขบันทึก: 351103เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2010 21:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 สิงหาคม 2012 16:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ภาคประชาชนดูเหมือนจะพูดคำเดิมย่ำอยู่กับที่ เช่น  การมีส่วนร่วม   จัดการตนเอง ... เพราะสถานการณ์จริงรัฐไม่ให้ความร่วมมือ  จังไม่ค่อยคืบหน้า ... แต่ประชาชนยังยืนหยัดทำ...  วันนี้สภาองค์กรชุนมีคำใหม่ " Back to Basic  - กลับสู่ฐานราก"

เป็นกลยุทธ์สร้างการมีส่วนร่วม และ จัดการตนเองให้เป็นจริง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท