สรุปการอบรมสภาองค์กรชุมชน กทม.รุ่นที่ 1


"พลเมือง" คือ ผู้ตื่นตัว มีสำนึกต่อสังคม ทำงานร่วมกับรัฐด้วยความเท่าเทียม

สรุปย่อ – การประเมินผลการอบรมผู้นำสภาองค์กรชุมชน กทม. รุ่นที่ 1

วันที่ 28  มีนาคม  2553  ณ  คณะสังคมวิทยาและมานุษวิทยา  มหาวิทยาลัยธรรมศษสตร์  ท่าพระจันทร์ 

 ผู้ดำเนินการ : ศูนย์ศึกษาชุมชนและวัฒนธรรมเมือง คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ร่วมกับ  สภาพัฒนาการเมือง  (สพม.)      มูลนิธิการพัฒนาพื้นฐาน  และ  สมัชชาสภาองค์กรชุมชน กทม.  คณะอำนวยการอบรม         ผศ.ปฐมฤกษ์  เกตุทัต (085-108-4726)      สมพงษ์ พัดปุย    (081-866-3596)     นิพนธ์  กลิ่นวิชิต    (081-441-8016)      สุรศักดิ์  อินทรประสิทธิ์ (084-754-2669)    ณัชพล  เกิดเกษม  (081-433-5158)       ชาญ  รูปสม ( 089-048-8558)      สุมน  เจริญสาย  (086-533-9665)   ไพชุมพล  นิ่มเฉลิม  (089-982-9145)     พรรณี  หมานหมัด (081-772-7736)   

ความคาดหวัง

            คาดหวัง กทม.เป็นต้นแบบ ยกระดับจาก ราษฎร/ไพร่  เป็นพลเมือง   ผู้นำมองสถานการณ์ออก  มีกำลังใจ  มีความเข้าใจ  มีทักษะทำงาน          สพม.จะมีโครงการสนับสนุนในการทำงานจริงเพื่อ “นำเสนอเป็นนโยบายสาธารณะ”     (สุรศักดิ์   อินทรประสิทธิ์)

            หลักสูตรมุ่งให้ผู้เข้าอบรมได้ “เรียนรู้” คือ รู้กฎเกณฑ์ของเรื่องราว  คือ “วิชาการ”     สิ่งที่จะได้จากการอบรม คือ ความรู้  ทักษะ  การปฎิบัติงานสนาม  มีพื้นที่ทำจริงในชุมชนตนเอง  (อ.สมพงษ์  พัดปุย)

                โลกกำลังเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้ต้องสอดคล้องกับกระแส     เราได้ มีบันทึกความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัย- สภาองค์กรชุมชน-มูลนิธิการพัฒนาพื้นฐาน  เพื่อการพัฒนาความรู้ของมหาวิทยาลัยและชุมชน (ดร.พรชัย ตระกูลวรานนท์ คณบดีคณะสังคมวิทยาฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

ประเมินผลการอบรม

ระยะเวลาการอบรม  -    รวม   12  ครัง (วันอาทิตย์)  ระหว่าง 10  ม.ค. 2553  ถึง 28  มี.ค.

ผู้เข้าร่วมการอบรม   -    รวม 129  คน  จาก 23  เขต

สัมฤทธิผล มีผู้ผ่านการอบรมเกรดที่เยี่ยม จำนวน 55 คน  มีความพร้อมเป็นผู้นำในการประสานเครือข่าย  และ

                      จัดตั้ง และ พัฒนา   สภาองค์กรชุมชน กทม.

เรื่อง  : ราษฎร   พลเมือง    ไพร่

                “ราษฎร”คือ ประชาชน ที่ว่านอนสอนง่าย ปฎิบัติตามกฎหมาย และเสียภาษี

              “พลเมือง” หมายถึงคนที่มีสำนึกว่าบ้านเมืองเป็นของเรา  ทำงานร่วมกับรัฐด้วยสำนึก มีจิตสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของชาติ

                 “ไพร่” คือกลุ่มคนที่คอยพึ่งพา  ไม่กล้าเป็นอิสระ   ตกอยู่ใต้อำนาจ   มีจิตรสาธารณะ อย่างเดียวไม่พอ ต้อง ทำงานสาธารณะเป็นด้วย

               วันนี้แบ่งคนได้  3 กลุ่ม (ต้านรัฐ อยู่ใต้รัฐ ร่วมกับรัฐ)  พลเมืองคือคนที่รับผิดชอบต่อบ้านเมือง พร้อมทำงานร่วมกันรัฐอย่างเท่าเทียม  ( ดร.นครินทร์  เมฆไตรรัตน์  )

            ตัวชี้วัดความเป็นพลเมือง ก็คือ   ร่วมจริง ๆ    ร่วมต่อสู้  สร้างองค์ความรู้ (ไม่ใช่ความเชื่อ)    มีการจัดองค์กรที่คล่องตัว   ทำอย่างมีศักดิ์ศรี ไม่เป็นหัวคะแนน  ไม่ง้อราชการ ( ผศ.พงศพร  สุดบันทัด)

                ความเป็นพลเมืองต้องมีการจัดการที่ดี  เด็กดีต้องมีเบ้าหลอมที่ดี   ผู้นำอย่าติดตำแหน่ง ให้โอกาสคนอื่นได้มาทำแทน   ระบบราชการล่าช้า ติดระเบียบ กลยุทธใหม่คือใช้สภาองคกรชุมชนเป็นกลไก ต่อยอดเครือข่ายสวัสดิการชุมชน (ผอ.ธนพล  โลห์สุวรรณ)

            การเมือง / การเมืองภาคพลเมือง

            ความขัดแย้งการเมืองไทย เป็นการต่อสู้ของชนชั้นนำ (ฝ่ายอนุรักษ์นิยม อำนาจนิยม และ เสรีนิยม) โดยมีประชาชนเป็นแรงผลักดัน  ในอดีตผู้มีอำนาจ มีโกงเลือกตั้ง  ปฎิวัติ  ใช้ความรุนแรงฝ่ายตรงข้ามและประชาชน   

                ปัจจุบันโครงสร้างอำนาจเดิมสั่นคลอน  เกิดการปรับเปลี่ยน แต่กลุ่มทุนยังคงมีอิทธิพล  ขณะที่ประชาชนชนชั้นกลางเริ่มเข้ามามีส่วนในโครงสร้างอำนาจมากขึ้น ความรุนแรงอาจเกิดขึ้นได้ (ดร.พิชาย  รัตนดิลก ณ ภูเก็ต)

                คนไทยเก่ง ปัญหาคือการเมือง   นโยบายการเมืองไม่เป็นพันธะ  และ ไม่ผูกพันประชาชน   ต้องรู้จักเลือกนักการเมือง พลเมืองต้องเปลี่ยนแปลงนักการเมือง  ไม่รังเกียจบุคคล  เริ่มคุยกัน เชื่อมโยงภาคประชาชน   เรียกร้องประโยชน์ชาติ     ติดตามนักการเมือง  พรรคการเมือง  ให้มีสัญญาประชาคม   เพื่อประโยชน์คนทั้งชาติ    (ม.ล.สุทธิฉันทร์  วรวุฒิ   - หม่อมช้าง)

 

            “การมีส่วนร่วม” คือ ความสัมพันธ์ของกลุ่มคน ต่างฐานะ (ราชการ คน  ราษฎร  พลเมือง) ต้องการหา “สูตรร่วม” ที่ลงตัว   คือ ร่วมกันจริง ๆ  มีกฎกติกา   จุดวัดสำคัญคือการได้รับประโยชน์ (ผศ..ปฐมฤกษ์  เกตุทัต)

                             ทิศทางห้าสิบปี กรุงเทพมหานคร

                พัฒนาการ กทม. ใน ๓๐ ปี  สรุปว่า  กทม.ได้รับผลสะเทือนจากกระแสการต่อสู้ เพื่อประชาธิปไตยของประชาชน    กทม.ไม่มีนโยบายยุทธศาสตร์และทิศทางพัฒนา  ขึ้นกับตัวบุคคลที่เป็นผู้ว่า  ชุมชนถูกครอบงำ อุปถัมภ์ โดย นักการเมืองและหน่วยราชการ  วัฒนธรรมชุมชนถูกทำให้อ่อนแอ (อ.สมพงษ์  พัดปุย)

            แผนพัฒนาใหม่ กำหนดให้กรุงเทพ ฯ เป็นเมืองท่องเที่ยว ที่มีการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน ในห้าสิบปีข้างหน้า  มีวิสัยทัศน์3 มิติการพัฒนาได้แก่ Gateway (เชื่อมโยง)  Green (สิ่งแวดล้อม ธรรมาภิบาล)  และ Good Life  (มีชีวิต  มีชีวา ทันโลก)  

ข้อจำกัดที่อาจทำให้แผนไม่เป็นจริง ได้แก่   1)การส่งเสริมทุน เกิดการไล่ที่และทำลายชุมชน ทำลายวัฒนธรรม      2) ปัญหาประสิทธิภาพของ ระบบ และการบริหาร กทม. ประชาชนไม่ได้ร่วม     3)ราชการส่วนกลางยังครองงำ กทม.  พรรคการเมืองใช้เป็นเวทียื้อแย่งอำนาจการเมือง

  เรื่อง ชุมชน สภาองค์กรชุมชน กทม.

จุดแข็ง – สามัคคี มีอำนาจต่อรอง มีระเบียบ ประเพณี  จุดอ่อน– ความสามัคคี  นักการเมืองกำหนด  ผู้นำเห็นแก่ตัว ผลประโยชน์ทับซ้อน  ขาดความรู้  ขาดความต่อเนืองบริหาร   อุปสรรค – ประชาชนทำแผนแต่ราชการไม่สนับสนุนงบประมาณ   กทม.ยังไม่เปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วม. รัฐบาลเปลี่ยนบ่อย นโยบายเปลี่ยน  (โซนรัตนโกสินทร์)

                คุณสมบัติผู้นำที่ต้องการ:     มีเวลา             มีความรู้ มีความสามารถ  มีประสบการณ์   มีความโปร่งใส  มีอุดมการณ์    มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี   มีคุณธรรมจริยธรรม มีจิตอาสา เสียสละ  (โซนเจ้าพระยา)

                วันนี้ ชุมชนถูกครอบงำ  ส่วนใหญ่ต้องการเป็นไพร่มากกว่าเป็นพลเมือง  ชุมชนที่ตื่นตัวจะเปลี่ยนผู้นำ  ผู้นำเปลี่ยนแปลงตัวเองหรือยัง  ตัวเองไม่ดีจะเปลี่ยนคนอื่นไม่ได้    การเปลี่ยนแปลงผู้นำ จะต้อง “เปลี่ยนที่สำนึก”  ต้องทำงานเชิงรุก  มีกลวิธีให้ชาวบ้านคล้อยตามผู้นำไปในทางดี   (อ.นิพนธ์  กลิ่นวิชิต)

            ชุมชนต้องตื่นตัว  มีความรู้     เป็นผู้นำต้องรู้จริง  มีข้อมูล มีเหตุผล  ชุมชน กทม.ต้องเชื่อมร้อยกับ อบต.ต่างจังหวัด เพื่อสร้างพลังของภาคประชาชน (อ.ชาญ  รูปสม)

เรื่อง สภาองค์กรชุมชน กทม.

            “สภาองค์กรชุมชน ไม่ใช่สภาอำนาจ  องค์กรชุมชนต้องพึ่งพาตนเอง  เอื้ออาทร ปรึกษาหารือกัน  มีสำนึก  มีจิตสาธารณะ ไม่ติดยึดกับตำแหน่งประธานชุมชน    สภาฯ ทำเรื่องใหญ่  เป็นร่ม เป็นเวทีแลกเปลี่ยน ประสานงานสนับสนุนเครือข่ายกิจกรรม       (ณัชพล  เกิดเกษม)

             ค่านิยมสภาองค์กรชุมชน - สภาของประชาชน เป็นสภาแห่งความดี  สภาแห่งความรู้ เสริมสร้างประชาธิปไตยชุมชน   มุ่งมั่น ประสานพลัง สร้างที่ยืน และเป็นหุ้นส่วนพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ด้วยจิตสาธารณะ  วิสัยทัศน์  เป็นองค์กรชุมชนเข้มแข็ง จัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน”  (ไพชุมพล  นิ่มเฉลิม)

 

จาก ... จดหมายข่ายสมัชชาองค์กรชุมชน กทม. ฉบับที่ 1 ( 29 มี.ค. 2553)

สมพงษ์ พัดปุย   บรรณาธิการ

 

               

 

หมายเลขบันทึก: 351098เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2010 20:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 18:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท