เครือข่ายประชาชนเสนอ-ปฎิรูปประเทศไทย


เครือข่ายพลเมืองเสนอทางออก “ปฎิรูปประเทศไทย”  

               เมื่อ วันที่ 3 เมษายน 2553  ได้มีการประชุมเครือข่ายภาคประชาชนจากทั่วประทเศ    สภาพัฒนาการเมือง  ศูนย์ราชการ ถ.แจ้งวัฒนะ จ.นนทบุรี  ข้อสรุปมีความหมายสำคัญต่อทิศทางประเทศไทย

                สรุปสำคัญ - ต้นตอปัญหาคือ คอร์รับชั่น และ ความไม่เป็นธรรม     ใช้วิกฤตเป็นโอกาส  ประชาชนมองก้าวข้ามยุบหรือไม่ยุบสภา  มุ่งปฎิรูปประเทศไทยทั้งระบบ    มีการประชุมคู่ขนานกันทุกตำบล  ถือ ประโยชน์ชาติ ประโยชน์ประชาชนเป็นตัวตั้ง  เน้นที่สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างกว้างขวาง ก้าวให้พ้นการเรียกร้องสิทธิส่วนบุคคล ไปสู่ ความเอื้ออาทร ความมีเมตตา ซึ่งกันและกัน

 วิเคราะห์ปัญหา

            เหตุการณ์ครั้งนี้เป็น วิกฤติของกลุ่มอำนาจเบื้องบน  เคลียร์ลงตัวก็ยุติ  ปัญหาประชาชนจะถูกทอดทิ้ง ละเลยเช่นทีเป็นมาในอดีต   ปัญหาสำคัญประชาชนคือ ขาดสิทธิการเข้าถึงทรัพยากร และ ไม่ได้รับความเป็นธรรม ในกระบวนการรัฐ ประชาชนมีวิกฤตมากกว่า  เช่น ความยากจน  คนไม่มีสัญชาติ  เกษตรกรถูกขับออกจากที่ทำกิน  คนในเมืองถูกไล่ที่   

            วิชัย  เรียบร้อย จ.เพชรบุรี  “การเมืองเหมือนเสื้อผ้า ชาวบ้านถูกบังคับให้ใส่  .. หรือ ชาวบ้านมอบให้คนอื่นใส่  ไม่สนองประโยชน์ประชาชน”     จุดอ่อนการเมืองไทยคือ “เป็นการเมืองไม่มีราก  มีแต่ต้นตระกูล สืบทอบอำนาจ” (อุบล)

            สุทธิชัย เอี่ยมเจริญยิ่ง (เครือข่ายนักธุรกิ) :ประเทศไทยมีวิกฤตการเมืองมาหลายครั้ง รุนแรงและเสียชีวิต แก้ได้โดย เอาคนเดียวออกไป ระบบที่เป็นปัญหายังอยู่   การยุบหรือไม่ยุบสภายังไม่ใช้คำตอบ  ต้องแก้ที่คอร์รับชั่น และระบบที่ไม่เป็นธรรมต่อสังคม ซึ่งเป็นต้นตอปัญหา      ขณะนี้เป็นโอกาส เพราะคนกำลังตื่นตัวมองที่สาเหตุปัญหา

            ณัชพล  เกิดเกษม (ประธานสมัชชาองค์กรชุมชน กทม.): ชาวบ้านในชุมชนแม้มีความคิดทางการเมืองต่าง แต่ ไม่ขัดแย้งกัน เครือข่ายพลเมืองกรุงเทพได้แถลงการณ์ว่ามีจุดยืนเพื่อปกป้องความปลอดภัย และเรียกร้องการเข้ามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาพื้นฐานของชุมชน 

                ชาญ  รูปสม (สภาองค์กรชุมชน กทม.): ใช้วิกฤตเป็นโอกาส การเรียนรู้ใหญ่ของประชาชน ต้องรู้ทัน เอาปัญหาของประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในเหตุการณ์  

     ราชพฤกษ์  สิงห์พรม (เครือข่ายเขตพระโขนง) :  การแก้ปัญหาควรเริ่มที่ “การมีส่วนร่วม” แต่มีปัญหาว่าจะได้มาอย่างไร ที่ผ่านมาเหมือนถูกภาครัฐหลอก เพราะภาครัฐยังไม่สนองเรื่องการมีส่วนร่วม

                สุมน  เจริญสาย (เครือข่ายเขตคลองเตย) :  แม้จัดตั้งสภาองค์กรชุมชนแล้ว ระบบราชการ กทม.ยังไม่เอื้อการมีส่วนร่วม  เป็นอุปสรรค ชาวบ้านต้องก้าวพ้นการทำกิจกรรมไปสู่การเรียกร้องสิทธิการการมีส่วนร่วมที่เป็นจริง

             สมพงษ์ พัดปุย (มูลนิธิการพัฒนาพื้นฐาน) : ชุมชนและองค์กรปกครองท้องถิ่นยังเป็นความลับ  มีวิถีการเมืองเป็นแบบของตัวเอง  ต้องการผู้มีอำนาจ เข้าใจให้โอกาส  ให้ประชาชนเรียนรู้ และพัฒนาด้วยตัวเอง จะเป็นการวางรากฐานการเมืองที่มั่นคงจากข้างล่าง

ควรมองปัญหาขัดแย้งการเมืองครั้งนี้อย่างไร

                พระมหาพงษ์นรินทร์  -  เหตุการณ์ ครั้งนี้มีความก้าวหน้ากว่าครั้งก่อน คือ   ก้าวพ้นความตื่นตระหนก  ไปสู่ความเป็นปกติ    ทั้งฝ่ายชุมนุมและรัฐ พยายามหลีกเลี่ยงความรุนแรง   สังคมกำลังมองหาต้นตอและเรียกร้องปฏิรูปประเทศไทย        ให้ก้าวให้พ้นเรียกร้อง “สิทธิ” ซึ่งเป็นของบุคคล  ไปสู่ความเอื้ออาทร มีเมตตา

                นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม  - มองข้ามยุบหรือไม่ยุบสภา  ใช้โอกาสจากวิกฤติ ทำการ ปฎิรูปประเทศไทย”  ให้วางรากฐานมุ่งแก้ปัญหาวิกฤตของประชาชน ถือประโยชน์ชาติ ประโยชน์ประชาชนเป็นตัวตั้ง  เน้นที่สร้างกระบวนการมีส่วนร่วม ให้ประชาชนเป็นผู้ริเริ่ม ไม่ต้องรอภาครัฐ ขอให้สภาพัฒนาการเมืองเป็นกองเลขา

แนวทางการแก้ปัญหา

            อ.นนทวัชร์ นวตระกูลพิสุทธิ์ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) : “ เสนอให้ปฎิรูปประเทศ  ให้ประชาชนเข้าร่วมทางตรง (Deliberative Democracy)  ไม่ใช่แค่ปฎิรูปการเมือง  แต่ คือปฎิรูปประเทศไทย  สาระสำคัญได้แก่ ปฎิรูประบบการเมือง  ระบบการบริหารและความยุติธรรม   ระบบเศรษฐกิจและสังคม

                สุรศักดิ์ อินทรประสิทธิ์ (สภาพัฒนาการเมือง) :  เสนอมาตรการรวม 4 ข้อ  คือ  1) มีเวทีภาคประชาชนคู่ขนานกับการแก้ปัญหาของรัฐ ทำในทุกตำบล  2) เสนอสาระที่ ประโยชน์ประชาชน ประเทศชาติ (ไม่ใช้ประโยชน์ของนักการเมือง)  3) ทำโรดแมป ประเทศไทย กำหนดยุทธศาสตร์ประเทศไทยใหม่ เริ่มจากข้างล่าง           

                พระมหาพงษ์นรินทร์  “ ให้ประชาชนร่วมเจรจา  ให้คู่กรณี นายก-เสื้อแดง  มานั่งคู่ภาคประชาชน   ให้ประชาชนเข้าร่วมแก้ความขัดแย้ง “

จดหมายข่าวสภาองค์กรชุมชนกรุงเทพมหานคร       ฉบับที่ 2  วันที่ 4 เมษายน 2553

 

หมายเลขบันทึก: 351004เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2010 11:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 17:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท