38 ความต้องการที่อยากให้เกิดขึ้นจริง เมื่อเกิดการรวมกลุ่ม "พัฒนาชุมชนเพื่อสิ่งแวดล้อม"


การรวมตัวเพื่อทำกิจกรรมเพื่อสังคมของคนที่มีอุดม การณ์และแนวทางเดียวกัน  จับมือกันสร้างสรรค์ชุมชนท้องถิ่นให้ดีขึ้น โดยไม่ตั้งความหวังไว้กับทางการ นักการเมือง หรือองค์กรใดๆ นี่คือการวบรวมประเด็นจากการระดมสมองของนักพัฒนาท้องถิ่นหลายท่าน มีประสบการณ์ชีวิต และระดับการศึกษาหลายระดับ  ถึงแม้ว่าในช่วงเวลานี้ จะยังไม่เกิดขึ้นจริงๆ เพราะเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ และปากท้องของแต่ละคน แต่ความฝันของทุกคนยังคงอยู่

นายบอนขอรวบรวมประเด็นของเพื่อนๆนักพัฒนามานำเสนอไว้ ณ ที่นี้ ซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจในการนำไปต่อยอดความคิด หรือนำไปปรับใช้ในการทำงานของแต่ละฝ่ายต่อไป

38 ความต้องการที่อยากให้เกิดขึ้นจริง เมื่อเกิดการรวมกลุ่ม “พัฒนาชุมชนเพื่อสิ่งแวดล้อม”

1.) อยากให้จัดทำโครงการวิจัยและพัฒนาด้านการเกษตรควบคู่กับการอนุรักษ์สิ่งแวด ล้อม โดยในพื้นที่หนึ่งตำบล ไม่ว่าจะทำกี่โครงการก็ตาม ให้ชาวบ้านเป็นหลักในการทำโครงการ สามารถสร้างงานสร้างอาชีพได้อย่างยั่งยืน เพื่อที่ชาวบ้านจะได้ไม่ต้องละทิ้งถิ่นฐานเข้าไปหางานทำในกรุงเทพฯ

2) อยากให้จัดกิจกรรมที่เด็กและเยาวชนเข้าไปมีส่วนร่วม ให้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์  โดยเฉพาะกิจกรรมที่เน้นความเสียสละ จิตสำนึก คุณธรรม ดีกว่าปล่อยให้อยู่ว่างๆแล้วไปมั่วสุมยาเสพติด การพนัน

3) อยากให้นำงานวิจัยทั้งหลาย มาประยุกต์ใช้ในท้องถิ่นอย่างจริงจัง ดีกว่าเป็นรายงานวิชาการอย่างเดียว

4) อยากให้เด็กและเยาวชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในกิจกรรมของกลุ่มนักพัฒนา โดยเฉพาะกิจกรรมที่ดึงเอาทักษะและความสามารถของพวกเขาออกมาอย่างเต็มที่ และหาทางส่งเสริมความสามารถทางใดทางหนึ่งของพวกเขาด้วย เช่น เด็กมีทักษะทางวิทยาศาสตร์, ทางช่าง แต่ไม่มีโอกาสเรียน

5) อยากให้นำเอาความคิดของชาวบ้านมาพัฒนาและจัดทำโครงการ ไม่ว่าจะเป็นความคิดที่เข้าท่าหรือไม่ก็ตาม

6) อยากให้นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยมาคอยเป็นที่ปรึกษา เป็นเพื่อนของนักพัฒนาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง เมื่อหมดโครงการไม่ควรหายไปเลย

7) อยากให้หาแนวทาง นำเอาความรู้ไปช่วยกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ว่าราชการจังหวัด เกิดการสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

8) อยากเห็นแผนงานพิทักษ์สิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่เป็นรูปธรรม และทุกฝ่ายสามารถเข้าร่วมหรือนำไปพัฒนาต่อได้

9) อยากให้เชิญหน่วยงาน ผู้ประกอบการและชาวบ้านมาประชุมสัมมนาหาทางแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองที่ เกิดจากการก่อสร้างอาคาร การสร้าง-ซ่อมถนน

10) อยากให้นักวิชาการระดมสมองและวิธีการกำจัดผักตบชวาในแหล่งน้ำซึ่งยังไม่สามารถกำจัดได้หมดสิ้น

11) อยากให้จัดทำเอกสารเผยแพร่ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมระดับชาวบ้าน ที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย ไม่วิชาการจนเกินไป

12) อยากให้ทีมงานนักวิชาการมาคลุกคลีอยู่กับชาวบ้านมากขึ้น เพื่อจะได้มีเวลาทำความเข้าใจที่ถูกต้อง รับรู้ถึงปัญหา ความต้องการของชาวบ้านได้ตรงประเด็น

13) อยากให้จัดกิจกรรมค่ายเยาวชนรักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมที่มีประโยชน์ และรู้จักคุณค่าของทรัพยากรสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว ไม่ใช่ใช้เวลาเล่มเกมทั้งวัน

14) อยากให้จัดหาวิทยากรอบรมการปลูกผักปลอดสารพิษแก่ชาวบ้าน

15) อยากให้พัฒนาผู้นำชุมชน สตรีแม่บ้านและเยาวชนให้มีทักษะ สามารถเขียนแผน และโครงการสนับสนุนแผนพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาชุมชนได้

16)  อยากให้เผยแพร่ข่าวสารความรู้ เกี่ยวกับกฏระเบียบ โครงการก่อสร้าง-พัฒนาของหน่วยงาน บริษัทห้างร้านต่างๆว่า ชาวบ้านได้สิทธิหรือเสียสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง มีผลดีผลเสียอย่างไรต่อวิถีชีวิตและสิ่งแวดล้อมในชุมชน

17) อยากให้ทีมนักวิชาการช่วยกันระดมและประสานสรรพกำลังทางวิชาการให้เข้าถึง ชีวิตความเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็น ความเป็นตัวตนของชุมชนชาวบ้าน และสิทธิศักดิ์ศรีอันจะพึงมีตามมารวมทั้งฐานทรัพยากรอันเป็นรากฐานของชีวิต ชุมชน

18) อยากให้ทางกลุ่มจัดทำรายการสารคดีสิ่งแวดล้อม เผยแพร่ทางวิทยุหรือสื่อต่างๆในท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง

19) อยากให้จัดกิจกรรมส่งเสริมให้เด็กมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องและครบวงจร เพื่อผลของการอนุรักษ์ในอนาคต

20) อยากให้จัดอบรมให้ความรู้แก่ชาวบ้าน เรื่อง ยาปราบศัตรูพืชกับอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนและคุณภาพของสิ่งแวดล้อม

21) อยากให้มีโครงการวิจัยและพัฒนาที่เกษตรกรเป็นนักวิจัยเอง และได้รับผลการวิจัยโดยตรง โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการส่งเสริมและเผยแพร่เหมือนดังในระบบวิจัยทางวิชาการ ทั่วไป

22) อยากให้จัดทำโครงการรีไซเคิลขยะมูลฝอย เพื่อเสริมสร้างทัศนคติและความร่วมมือจากชาวบ้านในการแยกทิ้ง และแยกเก็บขยะมูลฝอยหมุนเวียนอย่างครบวงจร

23) อยากให้จัดกิจกรรมเดินป่าดูนกสำหรับเด็ก เพื่อฝึกทักษะการสังเกต การเรียนรู้ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว

24) อยากให้คนที่เข้าใจสิ่งแวดล้อม เข้าใจชุมชน เข้าใจปัญหาท้องถิ่น และมีความสามารถประยุกต์ใช้ เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของกลุ่ม

25) อยากให้ใช้ภาษาท้องถิ่นในการให้ความรู้ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและยกตัวอย่างที่ใกล้ตัวของชาวบ้าน

26) อยากให้ทำการศึกษาภูมิปัญญาของชาวบ้านในท้องถิ่นอย่างถ่องแท้ และนำเอามาใช้

27) อยากให้จัดกิจกรรมสร้างจิตสำนึกให้คนในชุมชนตระหนักถึงผลเสียของการระบายน้ำเสีย กรทิ้งขยะมูลฝอยของชุมชนลงสู่แหล่งน้ำ

28) อยากให้กระตุ้นจิตสำนึกของคนที่เห็นแก่วัตถุนิยม จนลืมคิดถึงสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นเรื่องอากาศ น้ำ ขยะ

29) อยากให้หาแนวทางให้ชุมชนท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทจัดการป่าอนุรักษ์ร่วมกับทาง ราชการ โดยสร้างความร่วมมือเพื่อให้เกิดความยั่งยืนของทรัพยากร การใช้ประโยชน์จากป่าเพียงเพื่อการยังชีพ

30) อยากให้มีการจัดตั้งสถาบันที่จะเน้นการวิจัย และค่อนข้างเป็นอิสระที่จะสามารถหาเงินเลี้ยงตัวเองได้ โดยอาศัยการเจริญเติบโตของภาคธุรกิจเป็นหลัก จะได้มีความคล่องตัวขึ้นมา สามารถที่จะดึงให้อาจารย์ต่างๆ ไม่ต้องพะว้าพะวงไปทำงานที่อื่น เน้นเรื่องวิจัยและนำมาประยุกต์ใช้ได้จริง

31) อยากให้แกนนำของกลุ่มสร้างทีมงานต้นแบบของกลุ่มขึ้นมา เพื่อให้ทีมงานของกลุ่มออกไปเป็นแกนนำในการพัฒนา เผยแพร่ความรู้ต่อไป โดยแกนนำคอยกำกับดูแลการปฏิบัติงานของทีมงานต้นแบบให้เป็นไปตามวัตถุ ประสงค์ที่วางไว้

32) อยากให้จัดหน่วยเคลื่อนที่เผยแพร่ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมไปตามชุมชนต่างๆ เพื่อยกระดับคุณภาพ สติปัญญา และกระบวนการเรียนรู้และความเข้าใจตรงกันในเรื่องสิ่งแวดล้อม

33) อยากให้จัดโครงการรณรงค์การแยกประเภทของขยะแก่ชาวบ้านให้ได้รับรู้ถึงความ จำเป็นและเข้าใจอย่างชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

34) อยากให้มีแนวทางการสร้างค่านิยม สร้างเจตคติ ในการพัฒนาแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม เริ่มจากในเด็กก่อนวัยเรียน เพราะถ้าเริ่มที่ผู้ใหญ่คงจะสายเกินไป

35) อยากให้มีการระดมสมองและเชื่อมโยงนักสิ่งแวดล้อมที่อยู่ตามมหาวิทยาลัยและ สถาบันต่างๆทั่วประเทศเป็นเครือข่าย เพื่อแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหาและจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพ ที่สุด

36)  อยากให้จัดทำโครงการวิจัย/พัฒนาในลักษณะของการวิจัยแบบมีส่วนร่วม โดยให้ผู้ศึกษา ชาวบ้าน และองค์กรอื่นๆ มีโอกาสร่วมคิด ร่วมทำกิจกรรมการจัดทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน ทำให้การแสวงหาความรู้กับการทำกิจกรรม มีความเกี่ยวโยงกันตลอดกระบวนการศึกษา

37) อยากให้นำนักศึกษาสิ่งแวดล้อมหรือที่สนใจเรื่อง สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้กิจกรรมเกิดรูปแบบและวิธีการใหม่ๆจากความคิดสร้างสรรค์และความ กระตือรือร้นของคนรุ่นใหม่ โดยเปิดโอกาสให้มีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้ามาเรื่อยๆ

38) ในการศึกษาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติรายกรณี ต้องศึกษากรณีที่ไม่มีความขัดแย้ง หรือมีความขัดแย้งน้อยที่สุด แต่มีผลสัมฤทธิ์ทางการจัดการทรัพยากรสูง เช่น ประสิทธิภาพในการอนุรักษ์ การใช้ประโยชน์ การควบคุม ป้องกันและพัฒนา ความสำเร็จต่างๆเหล่านี้ วิธีคิด วิธีปฏิบัติและกระบวนการอย่างไรจึงจะดำรงอยู่ได้ และสัมฤทธิ์ผล ตลอดทั้งความยืนยงและแนวโน้มในอนาคตของการจัดการที่สำเร็จนั้น เพื่อสรุปเป็นภูมิปัญญาไทย และลีลาท้องถิ่นไทยในการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชน

หมายเลขบันทึก: 35044เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2006 11:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 10:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท