เปิดห้องเรียน สู่โลกกว้าง...นำนักศึกษา กศน./ผู้สูงอายุ ศึกษาดูงานวัฒนธรรมอีสานใต้


เปิดห้องเรียน สู่โลกกว้าง ให้สิ่งรอบข้างเป็นครู

โครงการ ศึกษาดูงาน แหล่งท่องเที่ยว วัฒนธรรมอีสานใต้

โดย กศน.ตำบลขามป้อม (คณะครู กศน.)และ วัดสระโนน โดย ท่านพระครูปรีชาธรรมาภิวัฒน์ ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมทัศนศึกษา ดูงานวัฒนธรรมอีสานใต้ จังหวัดอุบลราชธานี มี ผู้เข้าร่วมกิจกรรม เป็นนักศึกษา กศน.และกลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 98 คน

แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่..
1. ศึกษาดูงานอุทยานแห่งชาติผาแต้ม(ชมภาพเขียนสีโบราณ 3,000 ปี)

2. ศึกษาดูงานแม่น้ำสองสี แม่น้ำโขง
3. ศึกษาดูงาน การค้าขาย ช่องเม็ก
4. ศึกษาดูงาน แก่งสะพือ

สืบเนื่องจากการที่ ชุมชนตำบลขามป้อม โดยเฉพาะวัดสระโนน และศูนย์การเรียนชุมชนตำบลขามป้อม (กศน.ตำบลขามป้อม) ได้รับการชนะเลิศ "ศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนระดับจังหวัดขอนแก่น" โดยมีการอนุรักษ์ และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งมีการจัดตั้ง "พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน" มีการปรับปรุง"สิมโบราณ" ฯลฯรวมทั้งมีกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มเยาวชน กลุ่มนักศึกษา กศน.

เพื่อเป็นการทำให้ชาวบ้านมองเห็นคุณค่า ภูมิใจและเข้าใจ ความสำคัญของวัฒนธรรมที่นำไปสู่แหล่งท่องเที่ยว และเป็นการเปิดโลกทัศน์ ได้สังเกต ได้คิด ได้ถาม ได้เรียนรู้และนำไปใช้ประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ชุมชน มากยิ่งขึ้น

หมายเลขบันทึก: 350323เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2010 07:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผาแต้ม : แหล่งศิลปกรรม 3,000 ปี

 " ผาแต้ม " เป็นภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่และสำคัญที่สุดในกลุ่มศิลปะถ้ำ ของจังหวัดอุบลราชธานี มีอายุ ๓,๐๐๐ ปีก่อนประวัติศาสตร์

 

  • ลักษณะทั่วไป

เป็นภาพเขียนสี สีแดง และภาพสลักบนผนังหินเรียงกันเป็นแนวยาวประมาณ ๙๐๐ เมตร ภาพเขียนที่ปรากฏมีมากกว่า ๓๐๐ ภาพ มีภาพคน ภาพสัตว์ขนาดใหญ่ เช่น ช้าง ปลาบึก เต่าหรือตะพาบน้ำ ภาพวัตถุ ภาพสัญลักษณ์และภาพมือ ซึ่งภาพเป็นแบบทาบและแบบพ่น

  • หลักฐานที่พบ ภาพที่ปรากฏบนผาแต้ม ชี้ให้เห็นถึง

๑. เรื่องราวการดำรงชีวิต แสดงชีวิตความเป็นอยู่และสภาพแวดล้อมของผู้เขียนภาพขณะนั้น เช่น การล่าสัตว์ การจับปลา หรือแสดงความเป็นเจ้าของสถานที่ด้วยการวาดภาพปะปนไปกับกลุ่มภาพ
๒. การประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ดังปรากฏการเขียนรูปคนที่อิริยาบถแปลก แต่งตัวพิเศษกว่าเพื่อน สันนิษฐานว่าอาจจะหมายถึงบุคคลที่มีความสำคัญ อาทิ พ่อหมอที่สามารถสื่อสารกับอำนาจเหนือธรรมชาติ และเป็นสิ่งที่คนเกรงกลัว
๓. กลุ่มชนที่เขียนภาพ ไม่อาจกำหนดได้ชัดเจนว่าเป็นคนในสมัยใด แม้จะพบเครื่องมือหินขัดที่ถ้ำลายมือ บ้านปากลา หรือเครื่องมือ หินกระเทาะของชุมชนสังคมล่าสัตว์ที่สำนักสงฆ์ถ้ำช้างสี อำเภอเขมราฐ ก็ไม่อาจกล่าวได้ว่าผู้เป็นเจ้าของเครื่องมือจะเป็นผู้เขียนภาพหรือไม่
๔. จากภาพอนุมานได้ว่า การแกะสลักบนผนังหินต้องใช้เครื่องมือที่มีความแข็งแกร่ง ซึ่งอาจจะเป็นเครื่องมือโลหะ ส่วนสีแดงที่ใช้ในการเขียนลวดลาย และเคลือบน้ำดินสีแดง ก็ปรากฏบนภาชนะดินเผาของชุมชนสังคมเกษตรกรรมที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามที่ราบใน เขตอีสานล่างเมื่อ ๓,๐๐๐-๒,๐๐๐ ปี

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท