สังคมแห่งการเรียนรู้ คุณภาพที่แตกต่าง


มนุษย์แสวงหาความรู้ก็เพื่อบำบัดความต้องการของตนเอง การเรียนรู้จึงเป็นหนทางของการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ หากมนุษย์ปราศจากการเรียนรู้ก็จะไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปรกติ สังคมแห่งการเรียนรู้ต้องอยู่บนพื้นฐานแห่งการอยู่ร่วมกัน การแบ่งปัน และการหยิบยื่นสิ่งดีๆให้แก่กัน หากการแสวงหาความรู้เป็นไปเพื่อสนองตัณหา เพิ่มพูนกิเลส และคอยเอาเปรียบผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา ย่อมนำมาซึ่งภาวะวิกฤตแห่งการเรียนรู้ โอกาสของบุคคลที่จะได้เรียนรู้ก็จะถูกเบียดบัง ทุกวันนี้ต้องยอมรับว่า ความเหลื่อมล้ำ ทางการศึกษามีมาก การอ้างว่าเป็นเพราะปัจจัยทางเศรษฐกิจทำให้สังคมแห่งการเรียนรู้อยู่ในขอบเขตจำกัด (ฟังไม่ขึ้น) คนที่มีฐานะดีก็จะได้โอกาสมากกว่า คนที่มีฐานะยากจน โอกาสก็จะลดลง แล้วอะไรเป็นเหตุให้คนยากจนไม่ได้รับโอกาสทางการศึกษาเท่าที่ควรจะเป็น  เพราะระบบการศึกษาของเราอยู่บนพื้นฐานของการแย่งชิง ไปดูสังคมของนักการศึกษาดูซิ ว่าทุกวันนี้แย่งชิงกันมากเพียงใด คุณภาพการศึกษาที่ดี เป็นเพียงภาพมายาที่สร้างขึ้นทั้งสิ้น การศึกษาไม่ได้ยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นมากเท่าใด (คุณภาพชีวิตที่ดีเกิดได้เฉพาะบุคคลบางกลุ่มเท่านั้น) โดยภาพรวมคนไทยยังด้อยโอกาสทางการศึกษา แล้วเมื่อใดหละ ที่ประเทศของเราจะเป็นสังคมอุดมปัญญาอย่างแท้จริง ฝันไปเถอะ ถ้าพ่อแม่คุณมีรายได้ต่ำกว่าวันละ 200 บาท โอกาสทางการศึกษาของคุณก็แทบจะริบหรี่เหลือเกิน จะกินเข้าไปยังไม่มี แล้วคิดจะเรียนให้มีคุณภาพชีวิตดี บอกได้เลยว่าไม่มีทางเป็นไปได้ นอกเสียจากคุณจะมีทางลัดเท่านั้น นี่แหละสังคมไทย สังคมทุนนิยมที่ทุกคนใฝ่ฝัน แต่หาได้แบ่งปัน โอกาสทางการศึกษาอย่างแท้จริงไม่ รออีกกี่ชาติ สังคมไทยถึงจะเป็นสังคมอุดมปัญญา

ด้วยความหวังลมๆ แล้งแล้ง จาก คนไทยคนหนึ่งที่อยากเห็นคนด้อยโอกาสได้รับการศึกษาที่ดี อย่างแท้จริง จาก ชมรมคลังปัญญา

หมายเลขบันทึก: 350003เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2010 15:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 13:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท