ติดประตู รู้ใจ...


วันนี้ (๔ เมษายน ๒๕๕๓) มีช่างมาติดประตู ซึ่งเรามีหน้าที่ที่จะต้องควบคุมให้เรียบร้อย สวยงาม แต่วันนี้หลังจากที่เราเดินไปดูความรู้สึกของเราเมื่อเห็นช่างทำงานไม่เรียบร้อย ไม่ดี ไม่ตรงเปลี่ยนไปจากวันก่อนมาก

ครั้งก่อน ๆ ถ้าเราเห็นแบบนี้เราก็จะบ่นบ้าง ทำเป็นไปดูใกล้ๆ เพื่อให้เขารู้ว่าทำงานไม่ดีบ้าง หรือพูดจากระทบกระแทกบ้าง หรือบางครั้งก็ถึงกับว่าแรง ๆ บ้าง แต่วันนี้เราไม่ได้ทำ ไม่ได้พูด ก็เพราะว่าอาทิตย์ที่ผ่านมา เราได้มีโอกาสลงไปทำงานจริง ๆ จัง ๆ

สัปดาห์ที่แล้ว เราเปลี่ยนหน้าที่เป็นคนทำงาน เป็นคนหน้างาน เป็น “กรรมกร” แล้วก็มีคนแบบเราเมื่อก่อน เดินมาติ มาพูดอย่างนั้น อย่างนี้ ซึ่งเขาใช้คำพูดแบบเราที่เราเคยใช้ เราเบื่อมาก เซ็ง บางครั้งถึงกระทั่งหมดอารมณ์ที่จะทำงาน

ในวันนี้เรามีโอกาสกลับมาสมมติตนว่าเป็น “คนคุมงาน” อีกครั้งหนึ่ง เราถึงเข้าใจการบ้านที่ได้รับมอบไว้ตั้งแต่คราวก่อนว่า “ห้ามด่าใคร ห้ามตีวัวกระทบคราด ให้ชมได้อย่างเดียว” นั้นเป็นอย่างไร...?

เมื่อก่อน เราประเมินตัวเองว่า “ไม่ผ่าน” เพราะเราละเลยการบ้านที่ได้รับมาทั้ง 3 ข้อนั้น (การบ้าน ๓ ข้อ...)
ถ้าสัปดาห์ก่อน เราไม่ตัดสินใจลงไปทำงาน “หิน ๆ” ครั้งนี้ด้วยตนเอง เราก็ไม่มีทางรู้ได้เลยว่า หัวจิต หัวใจของ “กรรมกร” นั้นเป็นอย่างไร

วันนี้ เราประหยัดคำพูดมาก รู้สึกตัวทุกครั้งที่จะพูดเหน็บแนม พูดกระทบ ยั้งใจไว้ และเปลี่ยนเป็น “คำชม”

เราสังเกตุได้อีกว่า เมื่อเราชมเขา เขาตั้งใจทำงานมาก จากงานที่เขาทำเสร็จแล้วซึ่งไม่ค่อยดีเมื่อก่อน เราเคยว่าช่าง ว่าทำไมทำแบบนี้ ไม่ดี ไม่ได้เรื่อง เขาก็แก้ให้ แต่นั่นเป็นการทำงานด้วยกันเป็นครั้งสุดท้าย
แต่ครั้งนี้เมื่อเห็นเขาทำงานไม่ได้ เราเปลี่ยนคำว่าเป็นคำชม ชมเขาว่า “มีฝีมือนะ” ทำเต็มที่เลยนะ เขาแก้งานให้เราด้วยรอยยิ้ม คุยกัน "ฉันท์มิตร"

ถึงแม้นว่าเราจะต้องทำงานติดตั้งประตูเพิ่มมากขึ้น จากครึ่งวันเป็นหนึ่งวัน เขาก็มีรอยยิ้มในการทำงานเสมอ

หัวจิต หัวใจของคนทำงาน ถ้าไม่เคยเป็นคนหน้างานจะไม่รู้
การจะเป็นผู้บริหารหรือการที่จะไปบอกคนอื่นให้ทำอะไรได้ เราพึงจะต้องทำอย่างนั้นมาก่อน เพื่อที่ให้ได้รู้หัวจิต หัวใจของคนทำ

เมื่อทำแล้ว รู้แล้ว อนาคตเราโตขึ้น ก้าวหน้าขึ้น เป็นผู้บริหาร ผู้วางแผน เราจึงจะได้รู้ว่าคนที่ทำงานอยู่หน้างานนั้นเหนื่อย หนักหนา สาหัสเพียงใด

การเรียนรู้งานนั้นไม่ยากเท่ากับการเรียนรู้จิตใจคน
การรู้จักทะนุถนอมจิตใจคน ย่อมทำให้ตนเป็นคนที่สมบูรณ์...

หมายเลขบันทึก: 349622เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2010 20:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อาจารย์ครับ...

ผมใช้เทคนิคแบบนี้เยอะมาในการกำกับงานที่บ้านครับ

แหะ แหะ รู้งี้ใช้ต้ังนานแล้วครับ

สวัสดีครับ ท่านหนานเกียรติที่เคารพ

ผมเสียช่าง ที่เป็นเหมือนพี่ เหมือนญาติ เหมือนน้องไปหลายคนก็เพราะสมมติตนผิดคำว่าความรู้แบบทางโลกที่เป็นวิชาการ วิชาการนั้นจะใช้กับการบริหารจิตใจคนได้

การบ้านสามข้อนี้ผมละเลยมาหลายครั้ง เพราะบางครั้งมีความคิดทางโลกเข้ามาแทรก ว่าความรู้ทางวิชาการนั่นเจ๋งกว่าการบ้านทางธรรม

ในความรู้สึกของผม ผมคิดว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นนักจิตวิทยาที่เก่งที่สุดในโลก และพระอรหันตขีนาสพทั้งหลายในยุคนี้เป็นผู้เลิศทางจิตวิทยา

บุคคลที่เรียนรู้จนเอาชนะจิตใจของตนเองจนสามารถเลื่อนชั้นจนปุถุชนเป็นอริยะบุคคลได้ ถือว่าเป็นผู้ที่เข้าใจจิตใจของคนอื่นได้อย่างลึกซึ้ง

การเรียนรู้ใบไม้ในกำมือ ก็คือการเรียนรู้จิตใจของตนเอง

สองสัปดาห์นี้ผมมีโอกาสดีที่ได้ลงมือคลุกคลี ร่วมหัวจมท้ายกับงานในตำแหน่งกรรมกรจริง ๆ ผมจึงได้เรียนรู้จิตใจเขา แล้วเอาใจเขามาใส่ใจเรา

ขอบคุณท่าน หนานเกียรติ ที่มาให้ความคิดเห็น ให้ข้อคิด ให้สติ เติมเต็มเพื่อการต่อยอดในครั้งนี้

รู้อื่นหมื่นแสนใดเท่าจะรู้จิตใจของเราเอง...

ขอแสดงความคิดเห็น ว่า การเป็นหัวหน้าคนนั้นว่ายากแล้วแต่การดูแลคนงานนั้นยิ่งยากกว่าเพราะแค่คำว่าหัวหน้านั้นไม่สามารถปกครองคนได้ต้องใช้ใจมาปกครองเขาใครที่เป็นหัวหน้าจะเข้าใจว่าไม่ง่ายเลยที่จะได้ใจคนงาน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท