ทำไมจัดประชุมแบบมีส่วนร่วมไม่สำเร็จ


ทำร้อยครั้งแม้กับคนกลุ่มเดียวกัน แต่ละครั้งก็ไม่เหมือนกัน

ทำไมจัดประชุมแบบมีส่วนร่วมไม่สำเร็จ

หลายครั้งที่เราได้เข้าร่วมกระบวนการดีๆ แล้วอยากมาทำในที่ทำงานของเรา  แล้วผลที่เกิดขึ้น  มันไม่สำเร็จตามที่คาดหวังไว้    เพื่อนร่วมงานของผมมาเล่าให้ฟังถึงปัญหาที่เกิดขึ้นหลังจากที่ทดลองนำการประชุมแบบมีส่วนร่วมไปใช้ในการทำงานจริงๆและเมื่อไม่สำเร็จก็เกิดความไม่เชื่อมั่นในกระบวนการที่ได้เรียนรู้มา

ทำไมจึงไม่ประสบความสำเร็จเหมือนใน workshop 

-                   กลุ่มผู้เข้าร่วมมีความแตกต่างกัน  ถ้าเป็น workshop ที่มีการเสียเงินลงทะเบียน ผู้เข้าร่วมมักจะเปิดใจเรียนรู้ได้ง่าย  ในขณะที่การทำงานจริง ผู้เข้าร่วมไม่ได้มีความศรัทธาต่อกระบวนการดังกล่าว  คุ้นเคยกับรูปแบบการประชุมแบบเดิมๆ  ที่ใครพูดเก่งที่สุดจะเป็นที่ยอมรับ  ในขณะที่การประชุมแบบมีส่วนร่วมเน้นที่การฟังเป็นหลักก่อน

-                   ช่วงที่เหมาะสมในการโยนประเด็นที่อ่อนไหวหรือสุ่มเสี่ยงลงไปในวงการเรียนรู้  ในการจัดกระบวนการ  เรื่องราวที่อ่อนไหวมักจะถูกจัดไว้ในวันกลางๆหรือท้ายๆซึ่งเป็นช่วงที่เกิดความไว้วางใจมากพอ  หรือถ้ามีเวลาสั้นๆก็มักจะพูดถึงแง่ดี ชื่นชมหรือด้านสว่างก่อนพูดในแง่ลบ  วิพากษ์ วิจารณ์

-                   การเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมพูดระบายในสิ่งที่ค้างคาใจก่อน  เหมือนกับถังน้ำ  ถ้ายังเต็มหรือล้นอยู่  แล้วไม่ได้ระบายออก  จะเติมน้ำเข้าไปก็ลำบาก  ฉะนั้นถ้าคิดว่าผู้เข้าร่วมยังมีสิ่งที่ค้างคาใจ  อาจจะเปิดโอกาสให้ระบายกันก่อน

-                   การตั้งเป้าหมายของกระบวนกร  ที่บางครั้งก็เผลอไปตั้งธงไว้ว่า ต้องตกลงกันให้ได้  ต้องทำให้สำเร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด  ทำให้ลืมเป้าหมายที่แท้จริงของวงไป  หรือพยายามให้วงมีข้อตกลงหรือข้อยุติในเวลาที่ไม่เหมาะสม

-                   ประสบการณ์น้อย  ไม่รู้ว่าถ้าเจอสถานการณ์แบบต่างๆ  จะแก้ไขปัญหาได้อย่างไร  การทำบ่อยๆจะช่วยสอนว่า  ทำร้อยครั้งแม้กับคนกลุ่มเดียวกัน  แต่ละครั้งก็ไม่เหมือนกัน

-                   ความรู้  เรารู้ Know how รู้ว่าต้องทำอย่างไร  แต่ไม่เข้าใจ Know why  ว่าทำไมถึงต้องทำอย่างนั้น

แล้วจะทำอย่างไร  เราจึงจะพัฒนาได้

-                   ทำแล้ว  ต้องมีการทบทวน feedback กันและกัน  ระหว่างผู้จัดกระบวนการด้วยกันด้วยกัน  รวมถึงเสียงสะท้อนจากผู้เข้าร่วมได้  ตั้งแต่ความรู้สึกของผู้จัดและผู้เข้าร่วมเป็นอย่างไร  ใช้แนวคิดอะไรในการนำพาวงไปพูดคุย  อะไรบ้างที่ทำได้ดี  และอะไรบ้างที่ควรเพิ่มเติม

-                   หาครูที่เป็นเซียนเพื่อเป็นที่ปรึกษาเวลาที่เกิดติดขัดระหว่างการทำกระบวนการ

 

ผมยังจดจำคำพูดของพี่เล็ก ปรีดา  เรืองวิชาธร  ได้ดีว่า การเรียนรู้แบบนี้ ไม่สามารถเรียนรู้ได้เพียงคนเดียว  ต้องอาศัยการเรียนรู้ร่วมกัน  เหมือนกับการเล่นดนตรีที่เราเล่นคนเดียว  ซ้อมคนเดียว  ฝีมือก็ไม่พัฒนา แต่ถ้าตั้งเป็นวง  ฝีมือจะพัฒนาได้รวดเร็ว

 

                แล้ววันนี้  มีวงกันยังครับ

หมายเลขบันทึก: 349458เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2010 04:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 10:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท