สรุปเนื้อหาสาระวิจัยเล่มที่ 5


สรุปเนื้อหาสาระวิจัยเล่มที่ 5

สรุปสาระสำคัญของการวิจัย

1.  ชื่อเรื่อง        การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา

                        ขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1

2.  ผู้วิจัย           บุญโสม  ดีเลิศ

3.  ปีที่วิจัย         พ.ศ.   2550

4.  วัตถุประสงค์

     4.1 เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1

     4.2 เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  จำแนกตามการรับรู้  ตามตำแหน่งของบุคลากร  ประเภทของสถานศึกษาและขนาดของสถานศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1

     4.3 เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา  หัวหน้างานวิชาการและครูผู้สอน

5.  วิธีการวิจัย

     5.1 วิธีการ   เป็นวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

     5.2 กลุ่มตัวอย่าง

     กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย  คือ  ผู้บริหารที่ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนหรือรองผู้อำนวยการที่รักษาราชการแทนผู้อำนวยการ  ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1 กำหนดขนาดตัวอย่างในการเปิดตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน ได้ผู้บริหาร 181 คน ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 %

     5.3 เครื่องมือ

           5.3.1 ลักษณะของเครื่องมือ

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น  จำนวน 1 ฉบับ แบ่งออกเป็น 3 ตอน ดังนี้

           ตอนที่  1  เป็นข้อมูลสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม  คือ  ตำแหน่งของบุคลากร ประเภทของสถานศึกษาและขนาดสถานศึกษา  มีลักษณะคำถามเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check  List)

           ตอนที่  เป็นข้อมูลเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษา  มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale)  5  ระดับ  ดังนี้

5 หมายถึง ผู้บริหารสถานศึกษามีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับ มากที่สุด

4 หมายถึง ผู้บริหารสถานศึกษามีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับ มาก

3 หมายถึง ผู้บริหารสถานศึกษามีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับ ปานกลาง

2 หมายถึง ผู้บริหารสถานศึกษามีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับ น้อย

1 หมายถึง ผู้บริหารสถานศึกษามีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับ น้อยที่สุด

          ตอนที่  3  เป็นส่วนข้อมูลข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา  หัวหน้างานวิชาการและครูผู้สอน มีลักษณะคำถามเป็นปลายเปิด

      5.4 วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล

            ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูล  โดยมีขั้นตอน ดังนี้

            5.4.1 ผู้วิจัยประสานงานของหนังสือราชการจากสาขาวิชาการบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการออกหนังสือราชการไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1 จังหวัดสุรินทร์  เพื่อติดต่อประสานงานกับโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาขออนุญาตเก็บข้อมูลในการทำวิทยานิพนธ์

            5.4.2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1 แจ้งโรงเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างและขอความร่วมมือจากผู้บริหารโรงเรียนอำนวยความสะดวกในการตอบแบบสอบถาม

            5.4.3 ผู้วิจัยส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์  ไปยังสถานศึกษาต่าง ๆ ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างและขอความร่วมมือให้ตอบแบบสอบถาม  แล้วส่งกลับคืนเมื่อกลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามเรียบร้อยแล้วให้นำมาฝากไว้ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1 โดยผู้วิจัยได้ขอความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ให้เก็บรวมข้อมูลและตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถาม  ซึ่งเก็บได้ทั้งหมด 543 ชุด  คิดเป็นร้อยละ 100  ใช้ระยะเวลาเก็บรวบรวมประมาณ 1 เดือน 27 วัน

            5.4.4 ติดต่อขอรับแบบสอบถามส่วนที่เหลือจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1 เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาจัดหมวดหมู่เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป

     5.5  วิธีวิเคราะห์ผล

            5.5.1 สถิติที่ใช้ในการวิจัย

                   5.5.1.1 สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                   5.5.1.2 ทดสอบสมมติฐานโดยค่าเอฟ (F-test) (one-Way AVOVA)

                   5.5.1.3 เปรียบเทียบรายคู่ตามวิธีการของเชฟเฟ่

         5.5.2   การวิเคราะห์ข้อมูล

         นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้  ผู้วิจัยนำไปวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for  Windows (Statistical Package for Social Science )  โดยมีรายละเอียดดังนี้

                   5.5.2.1 ตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถาม เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป

                   5.5.2.2 ข้อมูลตอนที่ 1 เป็นข้อมูลสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์โดยการแจกแจงความพี่และหาค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม

                   5.5.2.3 ข้อมูลตอนที่ 2 เป็นข้อมูลระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง วิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  เพื่อทราบระดับการปฏิบัติ และการกระจายของคำตอบจากกลุ่มตัวอย่าง

                   5.5.2.4 เปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ ตำแหน่งของบุคลากร ประเภทของสถานศึกษา และขนาดของสถานศึกษาโดยใช้สถิติค่าเอฟ (F-test) (one-Way AVOVA) แล้วทำการเปรียบเทียบรายคู่ตามวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe)

                   5.5.2.5 ข้อมูลตอนที่ 3  เป็นข้อมูลความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ วิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

       5.6  การแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูล

              5.6.1 การแปลผลวิเคราะห์ข้อมูล โดยพิจารณาจากคะแนนค่าเฉลี่ย โดยใช้เกณฑ์ในการแปลผล 5 ระดับ (บุญชม ศรีสะอาด. 2538 : 103)

        4.51 – 5.00 หมายถึง ผู้บริหารมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับ มากที่สุด

        3.51 – 4.50 หมายถึง ผู้บริหารมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับ มาก

        2.51 – 3.50 หมายถึง ผู้บริหารมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับ ปานกลาง

        1.51 – 2.50 หมายถึง ผู้บริหารมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับ น้อย

        1.00 - 1.50 หมายถึง ผู้บริหารมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับ น้อยที่สุด

5.6.2  การแปลผลและวิเคราะห์ข้อมูลจากส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้เกณฑ์ในการแปลผล 5 ระดับ (ทองสุข  วันแสน. 2544 : 17)  ดังนี้

   0.00 - 0.30    หมายถึง   มีระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสอดคล้องกัน มากที่สุด

   0.31 - 0.60    หมายถึง   มีระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสอดคล้องกัน มาก

   0.61 - 0.90    หมายถึง   มีระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสอดคล้องกัน ปานกลาง

   091 - 1.20    หมายถึง   มีระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสอดคล้องกัน น้อย

   1.21  ขึ้นไป หมายถึง   มีระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสอดคล้องกัน น้อยที่สุด

6.  ผลการวิจัย

     6.1  ผู้บริหารสถานศึกษามีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ปรากฏว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน  โดยมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสูงสุด  คือ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ รองลงไปได้แก่  ด้านการคำนึงถึงปัจเจกบุคคล  ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์  และด้านการกระตุ้นทางปัญญา ตามลำดับ

     6.2  ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามการรับรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา  หัวหน้างานวิชาการและครูผู้สอนมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงโดยภาพรวมเป็นรายด้าน 4 ด้าน  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 05 ส่วนผู้ตอบแบบสอบถามที่สอนในโรงเรียนต่างประเภทกันและอยู่ในระดับสถานศึกษาขนาดต่างกันรับรู้ถึงภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงโดยภาพรวมและรายด้าน 4 ด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

     6.3  ข้อเสนอแนะการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่สำคัญในแต่ละด้าน มีดังนี้

           6.3.1 ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์  เสนอแนะให้ทำงานโดยมีการวางแผน  มีวิสัยทัศน์ เป็นแบบอย่างแก่คนอื่น  และปฏิบัติตนได้เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่

           6.3.2 ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ เสนอแนะให้แสดงศักยภาพในการทำงาน ส่งเสริมทักษะและส่งเสริมทัศนคติที่ดี  และมอบหมายงานตามความสามารถตามความต้องการของครู

           6.3.3 ด้านการกระตุ้นทางปัญญา  เสนอแนะส่งเสริมการทำงานเป็นทีมประสานงานให้มากและคำนึงถึงผลกระทบต่อส่วนร่วม

           6.3.4 ด้านการคำนึงถึงปัจเจกบุคคล  เสนอแนะให้ความสำคัญกับงานทุกคน พร้อมให้การสนับสนุน  มีความเป็นกันเองและรักษาสิทธิ์ของทุกคน

 

 

หมายเลขบันทึก: 349437เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2010 23:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 16:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท