ส่งงาน online (เสาร์ เที่ยง)


ส่งงาน online

นักศึกษาสามารถส่งงาน Online (เฉพาะงานที่กำหนดให้ส่ง online เท่านั้นค่ะ)

อย่าลืม!

กรุณาบอกรหัสประจำตัว 3 ตัวหลัง และวันที่เรียน จะได้เช๊คชื่อได้ถูกต้องค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #ส่งงาน
หมายเลขบันทึก: 349267เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2010 14:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2012 01:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (46)

คำถาม online ครั้งที่ 1

จงยกตัวอย่างโจทย์เพื่อคำนวณค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ พร้อมแสดงวิธีคำนวณ

1) ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้

หรือ

2) ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาสินค้าอื่น (ความยืดหยุ่นไขว้)

หมายเหตุ: กำหนดโจทย์และตัวเลขด้วยตนเอง แต่ห้ามซ้ำกันค่ะ

****วันหยุดสงกรานต์ขอให้มีความสุขและเดินทางโดยสวัสดิภาพค่ะ (^_^)*****

โจทย์ นางสาวสมฤดีพนักงานแห่งหนึ่ง มีการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการซื้อสินค้าทั้ง 2 ชนิด ซึ่งในระดับรายได้ในแต่ละเดือนก็มีความแตกต่างกัน ดังนี้

ระดับรายได้         ปริมาณการซื้อสินค้า ก         ปริมาณการซื้อสินค้า ข

5,000                 220                                150

6,000                 200                                250

จงหาค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้(Income Elasticity of Demand) ของสินค้า ก และ ข และระบุว่าเป็นสินค้าประเภทใด (สินค้าปกติ หรือ สินค้าด้อย)

ตอบ

1.ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้

ตัวอย่าง   ผู้บริโภคมีรายได้ เดือนละ 500 บาท เขาจะซื้อนม เดือนละ 3 ขวด ต่อมารายได้เขาเป็นเดือนละ 600 บาท  เขาจะซื้อนมเพิ่มขึ้นเป็นเดือนละ 4 ขวด  จงหาค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้และระบุว่าเป็นสินค้าประเภทใด(สินค้าปกติหรือสินค้าด้อย)

                 วิธีคำนวณ

 

เป็นสินค้าปกติ

Edi=1.57  หมายความว่า

หากรายได้เปลี่ยนแปลงไป 1% ปริมาณซื้อจะเปลี่ยนแปลงไป 1.57% ในทิศทางเดียวกัน

หรือ หากรายได้เพิ่มขึ้น 1% ปริมาณซื้อจะเพิ่มขึ้น 1.57%

หรือ หากรายได้ลดลง 1% ปริมาณซื้อจะลดลง 1.57%

195เสาร์เที่ยง

1.ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้

ตัวอย่าง   ผู้บริโภคมีรายได้ เดือนละ 500 บาท เขาจะซื้อนม เดือนละ 3 ขวด ต่อมารายได้เขาเป็นเดือนละ 600 บาท  เขาจะซื้อนมเพิ่มขึ้นเป็นเดือนละ 4 ขวด  จงหาค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้และระบุว่าเป็นสินค้าประเภทใด(สินค้าปกติหรือสินค้าด้อย)

                 วิธีคำนวณ

 

เป็นสินค้าปกติ

Edi=1.57  หมายความว่า

หากรายได้เปลี่ยนแปลงไป 1% ปริมาณซื้อจะเปลี่ยนแปลงไป 1.57% ในทิศทางเดียวกัน

หรือ หากรายได้เพิ่มขึ้น 1% ปริมาณซื้อจะเพิ่มขึ้น 1.57%

หรือ หากรายได้ลดลง 1% ปริมาณซื้อจะลดลง 1.57%

โจทย์ นางสาวสมฤดี พนักงานสาวสวยแห่งหนึ่ง มีการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการซื้อสินค้า ทั้ง 2 ชนิด ซึ่งในระดับรายได้ใน

         แต่ละเดือนก็มีความแตกต่างกันอีก ดังนี้

          ระดับรายได้                   ปริมาณการซื้อสินค้า ก                     ปริมาณการซื้อสินค้า ข

          5,000                           220                                              150

          6,000                           200                                              250

          จงหาค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้ (Income Elasticity of Demand) ของสินค้า ก และ ข และระบุด้วยว่าเป็นสินค้าประเภทใด

          (สินค้าปกติ หรือ สินค้าด้อย)

วิธีทำ  Q1 - Q2   x  y1 + y2
        Q1 + Q2      y1  - y2

      = 200 - 220   x  5,000 + 6,000
         200 + 220      5,000 - 6,000


      = -20    x   11,000
         420         -1,000


      = -22
         -42


      = 0.52  

ถือเป็นสินค้า ปกติ

ตอบ  ถ้ารายได้เปลี่ยนแปลงไป 1% ปริมาณซื้อจะเปลี่ยนไป 0.52% ในทิศทางเดียวกัน

และ

วิธีทำ Q1 - Q2   x   y1 + y 2
        Q1 + Q2       y1 - y 2


      = 150 - 250  x   5,000 + 6,000
         150 + 250      5,000 -  6,000


      = 100    x    11,000
         400          -1,000

      = 11
         -4

      = -2.75

ถือเป็นสินค้า ด้อย

ตอบ  ถ้ารายได้เปลี่ยนแปลงไป 1% ปริมาณซื้อจะเปลี่ยนแปลงไป 2.75% ในทิศทางเดี่ยวกัน

สวัสดีปีใหม่ไทย ค่ะ

2) ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาสินค้าอื่น (ความยืดหยุ่นไขว้)

ตัวอย่างโจทย์ การคำนวณค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาสินค้า (ความยืดหยุ่นไขว้) โดยราคาไข่เป็ดในตลาดแห่งหนี่ง

เปลี่ยนจากแผงละ 70 บาท เป็นแผงละ 80 บาท ผู้บริโภคจึงหันไปซื้อไข่ไก่แทน ซึ่งเดิมไข่ไก่ขายแผงละ 60 บาท

เพิ่มขึ้นเป็นแผงละ 70 บาท คำนวนหาค่าความยืดหยุ่นไขว้ของอุปสงค์สำหรับไข่ไก่ในตลาดแห่งนี้ดังนี้

แทนค่า โดยให้ X แทนค่า ปริมาณไข่ไก่ Qx1 = 60 , Qx2 = 70

Y แทนค่า ราคาไข่เป็ด Px1 = 70 , Px2 = 80

จากสูตร จากสูตร Edc = Qx1 - Qx2 x Py1 + Py2

Qx1 + Qx2 Py1 – Py 2

= 60 - 70 x 70 + 80

60 + 70 70 - 80

= -10 x 150

130 -10

= 150

130

Edc = 1.15 เป็นสินค้าทดแทนกันได้

* - การเปลี่ยนแปลงของราคาไข่เป็ด และราคาไข่ไก่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

- หากราคาไข่เป็ดเปลี่ยนแปลงไป 1 % ปริมาณการซื้อจะเปลี่ยนแปลงไป 1.15 % ในทิศทางเดียวกัน

หรือราคาไข่เป็ดเพิ่มขึ้น 1 % ปริมาณไข่ไก่จะเพิ่มขึ้น 1.15 %

หรือ ราคาไข่เป็ดลดลง 1 % ปริมาณไข่ไก่ก็จะลดลง 1.15 %

( หมายเหตุค่ะ : เส้นใต้ไม่มาค่ะอาจารย์ ) ขอบคุณค่ะ

  นางเกษศิรินทร์ กุฎีพันธ์ รหัส 174 (เสาร์เที่ยง)

2. ความยืดหยุนของอุปสงค์ต่อราคาสินค้าอื่น (ความยืดหยุ่นไขว้)

โจทย์ โรงเรียนแห่งหนึ่งมีโครงการทำอาหารกลางวันให้เด็กนักเรียนมีปริมาณการซื้อเนื้อไก่กิโลกรัมละ 80 บาท ต่อมาราคา เนื้อไก่มีราคาสูงขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 120 บาท จึงได้ไปซื้อเนื้อหมูแทนโดยเดิมใข้เนื้อหมู 50 กิโลกรัม เป็นใช้เนื้อ หมู 80 กิโลกรัม

           จงหาค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ไขว้ของราคาเนื้อไก่และปริมาณเนื้อหมู

กำหนด        ให้ โดย X แทนปริมาณเนื้อหมู  Qx1 = 50 , Qx2 = 80

                      โดย y แทนราคาเนื้อไก่      Py1 = 80 , Py2 = 120

                            Edi = Qx1 - Qx2 x  Py1 +P y2

                                     Qx1 + Qx2   Py1 - Py2

 

                           วิธีทำ     =      50 - 80 x 80 + 120 

                                               50+ 80    80 - 120

                                        =    -30 x 200

                                               130 - 40

                                       =      -60

                                                52

                                       =     -1.15

 

         Edi   =    1.15   หมายความว่า

หากราคาเนื้อไก่เปลี่ยนแปลงไป 1% ปริมาณซื้อเนื้อหมูจะเปลี่ยนแปลงไป 1.15% ในทิศทางเดียวกัน

หรือ หากราคาเนื้อไก่เพิ่มขึ้น 1% ปริมาณซื้อเนื้อหมูจะเพิ่มขึ้น 1.15%

หรือ หากราคาเนื้อไก่ลดลง 1% ปริมาณซื้อเนื้อหมูจะลดลง 1.15%

185  เสาร์เที่ยง

 ผู้บริโภคมีรายได้ เดือนละ 300 บาท เขาซื้อขนม 10 ถุง ต่อมารายได้ เดือนละ 400 บาท เขาซื้อขนมเพิ่มเป็น 12 ถุง

จงหาค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้และระบุว่าเป็นสินค้าประเภทใด(สินค้าปกติหรือสินค้าด้อย)

  วิธีคำนวณ Edi = Q1-Q2  x  Y1+y2

                         Q1+Q2      Y1-Y2 

                  =  10 - 12  x   300 + 400

                      10 + 12     300  -  400

                 =    -2      x      700

                       22            -100

                =     -14

                        -22

 

                =     -0.63                   

    เป็นสินค้าปกติ

ตอบ ถ้ารายได้เปลี่ยนไป 1% ความต้องการซื้อสินค้าเปลี่ยนไป 0.52 % ในทิศทางเดียวกัน

  นางมาริษา พรหมมาต 186 (เสาร์เที่ยง)

  2. ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาสินค้าอื่น (ความยืดหยุ่นไขว้)

 โจทย์ ครอบครัวมีสมาชิกทั้งหมด   4   คน บริโภค  ส้มเป็นประจำราคาส้ม กิโลกรัมละ  15   บาท ต่อมาราคาส้มมีราคาสูงขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 30  บาทแม่บ้านจึงซื้อมะม่วงมาบริโภคแทน โดยปกติจะซื้อในปริมาณ   6  กิโลกรัม  เป็น  10  กิโลกรัม 

              จงหาค่าความยืดหยุ่นไขว้ของราคาส้มกับปริมาณการซื้อมะม่วง

              โดยให้   x   แทนปริมาณมะม่วง    Qx1  =  6 , Qx2   =  10

              โดยให้   y   แทนราคาส้ม            Py1   = 15 , Py2  =  30

     

                        Edi    =      Qx1    -  Qx2     x     Py1   +   Py2

                                         Qx1    + Qx2           Py1   -   Py2

                                 =        15   -   30       x      6     +   10

                                            15   +  30              6     -    10

                                 =             -15           x           16

                                                 45                        -4

                                 =                     -240

                                                         -180

 

                                  =            -1.33   

         Edi    = 1.33     หมายความว่า

 หากราคาส้มเปลี่ยนแปลงไป 1% ปริมาณซื้อมะม่วงจะเปลี่ยนแปลงไป 1.33% ในทิศทางเดียวกัน

หรือ หากราคาส้มเพิ่มขึ้น 1% ปริมาณซื้อมะม่วงจะเพิ่มขึ้น 1.33%

หรือ หากราคาส้มลดลง 1% ปริมาณซื้อมะม่วงจะลดลง 1.33%

 

185 เสาร์เที่ยง *เนื่องจากครั้งที่ 1 พิมพ์คำตอบผิด จึงส่งใหม่ค่ะ

ผู้บริโภคมีรายได้ เดือนละ 300 บาท เขาซื้อขนม 10 ถุง ต่อมารายได้ เดือนละ 400 บาท เขาซื้อขนมเพิ่มเป็น 12 ถุง

 จงหาค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้และระบุว่าเป็นสินค้าประเภทใด(สินค้าปกติหรือสินค้าด้อย)

วิธีคำนวณ     Edi    =    Q1-Q2 x Y1+y2

                                 Q1+Q2   Y1-Y2

                     =   10 - 12300 + 400

                           10 + 12   300 - 400

                      =   -2 x  700

                            22   - 100

                          =     -14  

                                 -22

                           =  -0.63

                    เป็นสินค้าปกติ

ตอบ ถ้ารายได้เปลี่ยนไป 1% ความต้องการซื้อสินค้าเปลี่ยนไป 0.63 % ในทิศทางเดียวกัน

สวัสดีค่ะ ชื่อ ทิพวรรณ  นิรพาธ  รหัส  ....181 ค่ะ

ตัวอย่างโจทย์  การคำนวณค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาสินค้า (ความยืดหยุ่นไขว้) โดยราคาไข่เป็ดในตลาดแห่งหนี่ง  เปลี่ยนจากแผงละ 70 บาท เป็นแผงละ 80 บาท ผู้บริโภคจึงหันไปซื้อไข่ไก่แทน ซึ่งเดิมไข่ไก่ขายแผงละ 60 บาท   เพิ่มขึ้นเป็นแผงละ 70 บาท  คำนวนหาค่าความยืดหยุ่นไขว้ของอุปสงค์สำหรับไข่ไก่ในตลาดแห่งนี้ดังนี้

  แทนค่า    โดยให้  X  แทนค่า ปริมาณไข่ไก่   Qx1  =  60    ,  Qx2  =  70   

                      Y แทนค่า   ราคาไข่เป็ด     Px1  =  70    ,   Px2  =  80

 

   จากสูตร    Edc  =  Qx1 -  Qx2       x      Py1 +  Py2

                            Qx1 + Qx2                Py1 – Py 2

 

                        =   60  -  70        x    70  +  80      

                             60  + 70               70  -  80

 

                        =   -10   x  150

130              -10

 

                        =  150

                            130

                     

               Edc  =  1.15     เป็นสินค้าทดแทนกันได้

 *   -   การเปลี่ยนแปลงของราคาไข่เป็ด และราคาไข่ไก่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

      -   หากราคาไข่เป็ดเปลี่ยนแปลงไป 1 % ปริมาณการซื้อจะเปลี่ยนแปลงไป  1.15 %   ในทิศทางเดียวกัน

          หรือราคาไข่เป็ดเพิ่มขึ้น  1 %  ปริมาณไข่ไก่จะเพิ่มขึ้น  1.15 %   

          หรือ  ราคาไข่เป็ดลดลง  1 %  ปริมาณไข่ไก่ก็จะลดลง 1.15 %   

 

 

สวัสดีค่ะ ชื่อ ทิพวรรณ  นิรพาธ  รหัส  ....181 ค่ะ 

ตัวอย่างโจทย์  การคำนวณค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาสินค้า (ความยืดหยุ่นไขว้) โดยราคาไข่เป็ดในตลาดแห่งหนี่ง  เปลี่ยนจากแผงละ 70 บาท เป็นแผงละ 80 บาท ผู้บริโภคจึงหันไปซื้อไข่ไก่แทน ซึ่งเดิมไข่ไก่ขายแผงละ 60 บาท   เพิ่มขึ้นเป็นแผงละ 70 บาท  คำนวนหาค่าความยืดหยุ่นไขว้ของอุปสงค์สำหรับไข่ไก่ในตลาดแห่งนี้ดังนี้

  แทนค่า    โดยให้  X  แทนค่า ปริมาณไข่ไก่   Qx1  =  60    ,  Qx2  =  70   

                           Y แทนค่า   ราคาไข่เป็ด   Px1  =  70    , Px2  =  80

 จากสูตร    Edc  =  Qx1 -  Qx2       x      Py1 +  Py2                               

                           Qx1 + Qx2                Py1 – Py 2

 

                        =   60  -  70        x    70  +  80      

                             60  + 70               70  -  80

 

                        =   -10   x  150

                             130      -10

 

                        =  150

                            130

                     

               Edc  =  1.15     เป็นสินค้าทดแทนกันได้

 *   -   การเปลี่ยนแปลงของราคาไข่เป็ด และราคาไข่ไก่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

      -   หากราคาไข่เป็ดเปลี่ยนแปลงไป 1 % ปริมาณการซื้อจะเปลี่ยนแปลงไป  1.15 %   ในทิศทางเดียวกัน

          หรือราคาไข่เป็ดเพิ่มขึ้น  1 %  ปริมาณไข่ไก่จะเพิ่มขึ้น  1.15 %   

          หรือ  ราคาไข่เป็ดลดลง  1 %  ปริมาณไข่ไก่ก็จะลดลง 1.15 %   

 

 

 

ชื่อ น.ส.กัญญาพัชร สมนึก รหัส 173 เรียน เสาร์ เที่ยง ค่ะ

ตัวอย่างโจทย์ การคำนวณค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาสินค้า (ความยืดหยุ่นไขว้)กิจการผลิตหมอนแห่งหนึ่งใช้นุ่นเป็นวัสดุในการทำหมอน ราคานุ่น ก.ก. ละ 90 บาท ต่อมาราคาปรับขึ้นเป็น 100 บาท กิจการจึงเปลี่ยนมาใช้ฝ้ายแทน เดิมใช้ฝ้าย 80 ก.ก. เพิมขึ้นเป็น 90 ก.ก แทนค่า

                         โดยให้ X แทนค่า ปริมาณฝ้าย Qx1 = 80 , Qx2 = 90

                                 Y แทนค่า   ราคานุ่น      Px1  = 90    , Px2  =  100

Edi = Qx1 –Qx2    X      Py1-Py2

         Qx1 + Qx2          Py1-Py2

         80-90         X    90+100

         80+90              90-100

         -10    X   190        =   -1,900

         170        -10               -1,700

    

           =  1.12

 Edi    = 1.12     หมายความว่า

หากราคานุ่นเปลี่ยนแปลงไป 1% ปริมาณซื้อฝ้ายจะเปลี่ยนแปลงไป 1.12% ในทิศทางเดียวกัน หรือ หากราคานุ่นเพิ่มขึ้น 1% ปริมาณซื้อฝ้ายจะเพิ่มขึ้น 1.12%

  หรือ หากราคานุ่นลดลง 1% ปริมาณซื้อฝ้ายจะลดลง 1.12%

196 เรียน เสาร์ เที่ยง ค่ะ

ตัวอย่าง นายสมชายมีรายได้ต่อเดือน เดือนละ 10,000 บาท เขาจะซื้อเสื้อเดือนละ 5 ตัว ต่อมานายสมชายมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 15,000 บาท เขาจะซื้อเสื้อเพิ่มขึ้นเป็น เดือนละ 8 ตัว จงหาค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้และระบุว่าเป็นสินค้าประเภทใด (สินค้าปกติหรือสินค้าด้อย)

วิธีคำนวณ

จากสูตร Edi = Q1 –Q2  X  y1+y2

                    Q1 + Q2     y1-y2

                 = 5-8   x   10,000+15,000

                    5+8       10,000-15,000

                 = -3 x 25,000

                     13 -5,000

                 = -75,000

                    -65,000

                 = 1.15

ตอบ เป็นสินค้าปกติ

หากรายได้เปลี่ยนแปลงไป 1% ปริมาณซื้อจะเปลี่ยนแปลงไป 1.15% ในทิศทางเดียวกัน หรือ หากรายได้เพิ่มขึ้น 1% ปริมาณซื้อจะเพิ่มขึ้น 1.15% หรือ หากรายได้ลดลง 1% ปริมาณซื้อจะลดลง 1.15%

188 ยุวดี (เสาร์เที่ยง)

โจทย์ นายแดงได้รับเงินเดือนเดือนแรก10,000 บาทได้ซื้อสินค้า A จำนวน 40 ชิ้น และสินค้า B จำนวน 150 ชิ้นเป็นต่อมาเดือนที่สองได้รับเงินเดือน 15,000 บาท ได้ซื้อสินค้า A จำนวน 30 ชิ้น และสินค้า B จำนวน 200 ชิ้น จงหาว่าค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้ของสินค้า A และ B และระบุว่าเป็นสินค้าประเภทใด (สินค้าปกติ หรือ สินค้าด้อย)

วิธีทำสินค้า A

Edi = Q1- Q2 X Y1+Y2

Q1+Q2 Y1-Y2

40 - 150 X 10,000 + 15,000

40 + 150 10,000 - 15,000

-110 X 25,000

190 5,000

-0.57 X -5

2.85

ถ้ารายได้เปลี่ยนไป 1% ความต้องการซื้อสินค้าเปลี่ยนไป 2.85 % ในทิศทางเดียวกัน

สินค้า B

Edi = Q1- Q2 X Y1+Y2

Q1+Q2 Y1-Y2

30 - 200 X 10,000 + 15,000

30 + 200 10,000 - 15,000

-170 X 25,000

230 5,000

-0.73 X -5

3.65

ถ้ารายได้เปลี่ยนไป 1% ความต้องการซื้อสินค้าเปลี่ยนไป 3.65 % ในทิศทางเดียวกัน

สินค้า A และสินค้า B เป็นสินค้า ปกติ

194 สุกัญญา (เสาร์เที่ยง)

โจทย์ สมศรีไปจ่ายตลาดโดยต้องการซื้อเนื้อหมูแต่วันนี้ราคาเนื้อหมูเพิ่มขึ้นเป็นกิโลกรัมโลละ30 บาท สมศรีจึงหันไปซื้อเนื้อไก่แทน 50 โล วันต่อมาเนื้อหมูราคาเพื่มขึ้นอีกเป็นกิกรัมโลละ 60 บาท สมศรีจึงหันไปซื้อเนื้อไก่เพิ่มขึ้นอีกเป็น 90 โล ถามว่าเนื้อหมูและเนื้อไก่เป็นสินค้าประเภทใด (ไม่ข้องเกี่ยวกัน ประกอบกัน หรือ ทดแทนกัน ) และการเปลี่ยนแปลงเนื้อหมูและเนื้อไก่เป็นไปในทิศทางใด

วิธีคำนวณ

Edc = Qx1 - Qx2 X Py1 + Py2

Qx1 + Qx2 Py1 - PY2

50 - 90 X 30 + 50

50 + 90 30 - 50

-40 X 80

140 -20

-0.28 X -4

= 1.12

แสดงว่าเนื้อหมูและเนื้อไก่เป็นสินค้าทดแทนกัน

การเปลี่ยนแปลงของเนื้อหมูและเนื้อไก่หากราคาเนื้อหมูเปลี่ยนแปลงไป 1 % ปริมาณซื้อเนื้อไก่ก็จะเปลี่ยนแปลงไป 1.12 % ในทิศทางเดียวกัน หรือหากเนื้อหมูราคาเพื่มขึ้นปริมาณความต้องการซื้อเนื้อไก่ก็จะเพิ่มขึ้น และหากราคาเนื้อไก่ราคาเพิ่มขึ้นความต้องการซื้อเนื้อหมูก็จะเพิ่มขึ้น

187 มาลัย (เสาร์เที่ยง)

โจทย์ มาลีมีรายได้ 500 บาท ซื้อไข่ไก่ไป 30 แผง ในราคาแผงละ 90 บาท ต่อมามาลีมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 1,000 บาท มาลีซื้อไข่ไก่เพิ่มขึ้นเป็น 50 แผง ในราคาเดียวกัน จงหาว่าค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้ของไข่ไก่เป็นสินค้าประเภทใด (สินค้าปกติ หรือ สินค้าด้อย)

วิธีทำ Edi = Q1 - Q2 x y1 + y2

Q1 + Q2 y1 - y2

30 - 50 x 500 + 1,000

30 + 50 500 - 1,000

-20 x 1,500

80 -500

-.25 x -3

Edi = 0.75

แสดงว่าไข่ไก่เป็นสินค้า ปกติ

แสดงให้ทราบว่า การเปลี่ยนแปลงของรายได้และปริมาณการเสนอซื้อ มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน

หมายความว่า หากรายได้เปลี่ยนแปลงไป 1% ปริมาณการซื้อจะเปลี่ยนแปลงไป 0.75% ในทิศทางเดียวกัน

198  อัจฉราภรณ์  เสาร์เที่ยงค่ะ

โจทย์   นางมาประกอบกิจการร้านเบเกอรี่ และต้องไปจ่ายตลาดเพื่อซื้อน้ำตาลทรายมาเป็นส่วนผสม แต่วันนี้ราคาน้ำตาลทรายเพิ่มขึ้นจาก กก. ละ 20 บาท เป็น 30 บาท นางมาจึงหันมาใช้น้ำตาลปีบแทน ซึ่งจากเดิมใช้ 50 กก. เพิ่มเป็น 90 กก. จงหาค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาสินค้าอื่น (ความยืดหยุ่นไขว้) และระบุว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร (ทดแทน/ประกอบกัน/ไม่เกี่ยวข้อง)

              แทนค่าโดย  x  แทน ปริมาณน้ำตาลปีบ 

                               y  แทน ราคาน้ำตาลทราย

วิธีทำ   Edc   =   Qx1-Qx2   X   Py1+Py2

                        Qx1+Qx2      Py1-Py2

      แทนค่า  =   50-90   X   20+30

                       50+90       20-30

                  =   -40   X   50

                       140       -10

                  =   -20

                       -14

                  =   1.43

แสดงว่า  น้ำตาลทรายและน้ำตาลปีบเป็นสินค้า ทดแทนกัน  เพราะการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำตาลทรายและปริมาณน้ำตาลปีบมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน

Edc  = 1.43  หมายความว่า  ถ้าราคาน้ำตาลทรายเปลี่ยนแปลงไป 1% ปริมาณการซื้อน้ำตาลปีบก็จะเปลี่ยนแปลงไป 1.43% ในทิศทางเดียวกัน

 

น.ส.ดวงรัตน์ เอี่ยมสุด 179 (เสาร์เที่ยงค่ะ)

ลูกตาลมีเงิน 200 บาท ซื้อแตงโมได้ 20 ลูก วันต่อมา ลูกตาลมีเงินเพิ่มขึ้นเป็น 300 บาท ลูกตาลจะซื้อแตงโมเพิ่มขี้นเป็น 30 ลูก จงหาค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้และระบุว่าเป็นสินค้าประเภทใด (สินค้าปกติหรือสินค้าด้อย)

วิธีคำนวณ Edi = Q1 - Q2 X Y1 + Y2

Q1 + Q2 Y1 - Y2

= 20 – 30 X 200 + 300

20 + 30 200 – 300

= -10 X 500

50 -100

= -5000

-5000

= 1

ตอบ เป็นสินค้าปกติ

หากรายได้เปลี่ยนแปลงไป 1% ปริมาณการซื้อแตงโมจะเปลี่ยนแปลงไป 1% ในทิศทางเดียวกัน

หรือ หากรายได้เพิ่มขึ้น 1% ปริมาณการซื้อแตงโมจะเพิ่มขึ้น 1%

หรือ หากรายได้ลดลง 1% ปริมาณการซื้อแตงโมจะลดลง 1%

ราคาน้ำตาลทรายแดงในห้างโลตัสเปลี่ยนแปลงราคาจากกิโลกรัมละ 25 บาท เป็นกิโลกรัมละ 40 บาท ทำให้ผู้บริโภคหันมามาซื้อน้ำตาลทรายขาวแทนจึงทำให้น้ำตาลทรายขาวที่เคยขายได้วันละ 50 กิโลกรัม เพิ่มเป็นวันละ 60 กิโลกรัม จงคำนวณค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาสินค้าอื่น (ไขว้)

วิธีคำนวณ Edc = Qx1 – Qx2 X Py1 + Py2

Qx1 + Qx2 X Py1 – Py2

= 50 – 60 X 25 + 40

50 + 60 X 25 – 40

= - 10 X 65

110 X -15

= - 1 X 65

11 X -15

= - 65

- 165

= 0.39

ถ้าราคาน้ำตาลทรายแดงเปลี่ยนแปลงไป 1% ปริมาณการซื้อน้ำตาลทรายขาวจะเปลี่ยนแปลงไป 0.39

คือถ้าราคาน้ำตาลทรายแดงเพิ่มขึ้น 1 % ปริมาณการซื้อน้ำตาลทรายขาวจะเพิ่มขึ้น 0.39

นางสาวชลิดา ละม้ายพันธุ์ ( 177 ) เรียนเสาร์เที่ยง

ราคาน้ำตาลทรายแดงในห้างโลตัสเปลี่ยนแปลงราคาจากกิโลกรัมละ 25 บาท เป็นกิโลกรัมละ 40 บาท ทำให้ผู้บริโภคหันมามาซื้อน้ำตาลทรายขาวแทนจึงทำให้น้ำตาลทรายขาวที่เคยขายได้วันละ 50 กิโลกรัม เพิ่มเป็นวันละ 60 กิโลกรัม จงคำนวณค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาสินค้าอื่น (ไขว้)

วิธีคำนวณ Edc = Qx1 – Qx2 X Py1 + Py2

Qx1 + Qx2 X Py1 – Py2

= 50 – 60 X 25 + 40

50 + 60 X 25 – 40

= - 10 X 65

110 X -15

= - 1 X 65

11 X -15

= - 65

- 165

= 0.39

ถ้าราคาน้ำตาลทรายแดงเปลี่ยนแปลงไป 1% ปริมาณการซื้อน้ำตาลทรายขาวจะเปลี่ยนแปลงไป 0.39

คือถ้าราคาน้ำตาลทรายแดงเพิ่มขึ้น 1 % ปริมาณการซื้อน้ำตาลทรายขาวจะเพิ่มขึ้น 0.39

สวัสดีหลังสงกรานต์ค่ะ (^_^)

หวังว่าทุกคนจะกลับจากสงกรานต์อย่าง happy กันถ้วนหน้า  ดีใจจังค่ะที่นักศึกษาเข้ามาส่งงานกันเกือบครบ ขาดแค่ 2 คนเอง (182,183)  ฝากบอกเพื่อนให้ส่งก่อนที่เราจะเจอกันวันเสาร์นี้น่ะค้ะ (ช้าอดส่ง!) (^_^)

แล้วเจอกันค่ะ (^_^)

 

นางสาวปริณดา บรรดาศักดิ์ นางสาวปริณดา บรรดาศักดิ์

นายโอ๋ทำกิจการขายลูกชิ้นปิ้งทุกวันต้องไปจ่ายตลาดเพื่อซื้อลูกชิ้น แต่วันนี้นายโอ๋ไปซื้อก็พบว่าราคาลูกชิ้นเพิ่มขึ้นจาก กก. ละ 40 บาท เป็น 50 บาท นายโอ๋จึงหันมาใช้ฮอทดอกแทน ซึ่งจากเดิมใช้ 100 กก. เพิ่มเป็น 140 กก. จงหาค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาสินค้าอื่น (ความยืดหยุ่นไขว้) และระบุว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร (ทดแทน/ประกอบกัน/ไม่เกี่ยวข้อง)

แทนค่าโดย x แทน ลูกชิ้น

y แทน ฮอทดอก

วิธีทำ Edc = Qx1-Qx2 X Py1+Py2

Qx1+Qx2 Py1-Py2

แทนค่า = 100-140 X 40+50

100+140 40-50

= -40 X 90

240 -10

= -3,600

-2,400

= 1.50

แสดงว่า ลูกชิ้นและฮอทดอกเป็นสินค้า ทดแทนกัน เพราะการเปลี่ยนแปลงของราคาลูกชิ้นและฮอทดอกมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน

Edc = 1.50 หมายความว่า ถ้าราคาลูกชิ้นเปลี่ยนแปลงไป 1% ปริมาณการซื้อฮอทดอกก็จะเปลี่ยนแปลงไป 1.50% ในทิศทางเดียวกัน

คำถาม online ครั้งที่ 2

หากนักศึกษาเป็นผู้ผลิตหรือนักธุรกิจ จะนำความรู้เกี่ยวกับอุปทานไปใช้ประโยชน์ต่อกิจการของตนเองได้อย่างไร

กรุณาส่งคำตอบภายในวันอาทิตย์ที่ 2 พ.ค. 53 ค่ะ

นางวลัยพร สัมมาธนะ 25042030

หากนักศึกษาเป็นผู้ผลิตหรือนักธุรกิจ จะนำความรู้เกี่ยวกับอุปทานไปใช้ประโยขน์ต่อกิจการของตนเองได้อย่างไร

ตอบ อุปทานระดับมหภาค ของตลาดเงิน ตลาดทุน ตลาดผลผลิต เมื่ออุปสงค์และอุปทาน ของแต่ละตลาดที่กล่าวมา ผิดปกติ จะต้องทำอย่างไร เพื่อให้กลับเข้าสู่ สมดุล หรือมีความผิดปกติ น้อยที่สุด

เช่น กรณีที่ ค่าเงินบาทแข็งตัว เนื่องจากมีเงินตราต่างประเทศไหลเข้าประเทศมาก อันเป็นผลมาจากนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทย เมื่อเงินตราต่างประเทศมีมาก ก็คือ อุปทานของเงินตราต่างประเทศมีมากนั่นเอง ความต้องการ(อุปสงค์)ของปริมาณเงินดอลลาร์จึงลดลง เมื่อเทียบผ่านเงินบาท จึงกลายเป็นว่า ค่าเงินบาทแข็งตัว ในกรณีเช่นนี้ จะต้องลดอุปทานของเงินต่างประเทศในไทย ให้ลดลง โดยธนาคารแห่งประเทศไทย และกระทรวงการคลัง กำลังประกาศมาตราการต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการลดปริมาณของเงินตราต่างประเทศไม่ให้ไหลเข้ามาในประเทศเพิ่มขึ้น คือลดอุปทานของเงินตราต่างประเทศ ให้น้อยลง เพื่อให้ค่าเงินบาทอ่อนตัว ลงมาอยู่ในอัตราที่เหมาะสม...ซึ่งอาจจะลดอัตราดอกเบี้ยลงมา เมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลง นักลงทุนต่างชาติ ก็จะดึงเงินออกไปลงทุนที่อื่นแทน นี่ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะลดอุปทานของเงินตราต่างประเทศ

ส่งงานครั้งที่ 1 นางสาวนิตยา มหาวงค์ กศ.บป.ส-อ (บัญชี) รหัส 25143182

นายเอ ได้รับเงินเดือนมีนาคม เดือนละ 8,000.- บาท ในระหว่างเดือนนายเอ ชอบดูหนัง ในเวลาว่าง จึงซื้อซี่รี่เกาหลี 5 เรื่อง ต่อมานายเอ ได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้นเป็นเดือนละ 10,000.-บาท นายเอจึงซื้อซี่รี่เกาหลีเพิ่ม เป็น 7 เรื่อง

คำนวณค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้ ดังนี้

วิธีทำ Edi = Q1 – Q2 X Y1 + Y2

Q1 + Q2 X Y1 – Y2

= 5 - 7 X 8,000 + 10,000 = - 2 X 18,000

5 + 7 8,000 – 10,000 12 X - 2,000

= - 36,000

-24,000

= 1.50

หมายความว่าหากเงินเดือนของนายเอเพิ่มขึ้น 1 % ปริมาณการซื้อซี่รี่เกาหลีจะเพิ่มขึ้น 1.5 %

น.ส.ดวงรัตน์ เอี่ยมสุด 179 (เสาร์เที่ยงค่ะ)

หากนักศึกษาเป็นผู้ผลิตหรือนักธุรกิจ จะนำความรู้เกี่ยวกับอุปทานไปใช้ประโยขน์ต่อกิจการของตนเองได้อย่างไร

ตอบ หากดิฉันเป็น ผู้ผลิตเสื้อผ้า จะนำความรู้เกี่ยวกับอุปทานไปใช้ในการปริมาณการผลิตเสื้อผ้าเพื่อเสนอขาย ณ ระดับราคาต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ได้กำไรสูงสุด ดังนี้ โรงงานผลิตเสื้อผ้า ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน เป็นช่วงหน้าร้อน เสื้อผ้าที่ทำจากเนื้อผ้าบาง ๆ แขนกุด แขนสั้น ใส่สบาย ๆ จะมีราคาเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เสื้อผ้าหนา ๆ แขนยาว ที่ใส่ช่วงหน้าหนาวลดลง ดิฉันในฐานะผู้ผลิตจะลดการผลิตเสื้อผ้าหนา ๆ แขนยาว ที่ใส่ช่วงหน้าหนาวลง และหันไปผลิตเสื้อผ้าที่ทำจากเนื้อผ้าบาง ๆ แขนกุด แขนสั้น ใส่สบาย ๆ ในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันเมื่อถึงหน้าหนาวก็จะผลิตเสื้อผ้าที่ทำจากเนื้อผ้าบาง ๆ แขนกุด แขนสั้น ใส่สบาย ๆ ลดลง เพื่อให้ได้กำไรมากขึ้น และเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า

   เกษศิรินทร์  กุฎีพันธ์   174  เสาร์เที่ยง

 หากนักศึกษาเป็นผู้ผลิตหรือนักธุรกิจ จะนำความรู้เกี่ยวกับอุปทานไปใช้ประโยขน์ต่อกิจการของตนเองได้อย่างไร

           ตอบ   ธุรกิจของดิฉัน เป็น ธุรกิจนำผลไม้ในท้องถิ่นมาแปรรูป โดย ใช้วิธี

  เชื่อม และ อบแห้ง  ส่งออกต่างประเทศ ต่อมา น้ำตาลซึ่งเป็นปัจจัยในการผลิตมี

  ราคาสูง และ ขาดตลาด จึงทำให้ปริมาณการขายโดยการแปรรูปเชื่อมลดลง และ

  เพิ่มการแปรรูปอบแห้งแทน

    โดยดิฉันได้นำอุปทานการเปลี่ยนแปลงปริมาณขายแต่ในขณะที่ระดับราคาสินค้า

     เท่าเดิมแต่มีปัจจัยอื่นเช่น  วัตถุดิบที่ใช้ผลิตราคาสูง ก็จะทำให้ปริมาณขายลดลง

     คือการเปลี่ยนแปลงอุปทานของสินค้า

  185  พรทิพย์  เดชรอด  เสาร์เที่ยง

  หากนักศึกษาเป็นผู้ผลิตหรือนักธุรกิจ จะนำความรู้เกี่ยวกับอุปทานไปใช้ประโยขน์ต่อกิจการของตนเองได้อย่างไร

      ดิฉันนำอุปทานโดยการเปลี่ยนแปลงปริมาณขายไปตามการขึ้นลงของราคา

    ตอบ  ธุรกิจของดิฉัน เป็น การจักสานกระเป๋าจากผักตบชวา ส่งออกต่างประเทศ

    โดยให้คนหมู่บ้านทำ และส่งให้ดิฉันโดย ราคากระเป๋า  250  ต่อใบ  ต่อมา ได้มี 

    กระเป๋าที่ทำจากเชือกฟางที่ราคาถูกกว่าเข้าตีตลาดทำให้ มีผลกระทบต่อสินค้า

    ของดิฉันมากดิฉันจึงต้องลดราคาสินค้าลงมา จากเดิม เป็น  200 บาท จึงทำให้

    ดิฉันส่งขายกระเป๋าปริมาณน้อยลง และได้เปลี่ยนจากกระเป๋าเป็นเฟอร์นิเจอร์

    แทน เช่นเก้าอี้ เปล เพื่อเพิ่มปริมาณการขายให้กับธุรกิจ

       

 

177 ชลิดา ละม้ายพันธุ์ เสาร์เที่ยง

หากนักศึกษาเป็นผู้ผลิตหรือนักธุรกิจ จะนำความรู้เกี่ยวกับอุปทานไปใช้ประโยชน์ต่อกิจการของตนเองได้อย่างไร

ตอบ ถ้าดิฉันเป็นนักธุรกิจ ดิฉันจะนำความรู้เรื่องอุปทานไปใช้วางแผนทางด้านการคาดคะเนราคาสินค้า

ถ้ากิจการของดิฉันเป็นโรงงานผลิตเงาะกระป๋อง แต่อีก3 เดือนข้างหน้า ราคาของเงาะกระป๋องจะเพิ่มขึ้น

ดิฉันก็จะลดปริมาณการผลิตในปัจจุบันลดลง เพื่อสำรองวัตถุดิบในการผลิตไว้เมื่อราคาเงาะกระป๋องสูงขึ้นในอนาคต

แต่ถ้าเกิดว่าราคาเงาะกระป๋องลดลงดิฉันก็จะเร่งผลิตสินค้าสู่ตลาดมากขึ้น

นางมาริษา พรหมมาต 186 เสาร์เที่ยง

หากนักศึกษาเป็นผู้ผลิตหรือนักธุรกิจ จะนำความรู้เกี่ยวกับอุปทานไปใช้ประโยชน์ต่อกิจการของตนเองได้อย่างไร

- ดิฉันจะนำความรู้เกี่ยวกับอุปทานไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดราคาสินค้า การประเมินช่วงของผลิตภัณฑ์ว่าอยู่ในช่วงไหน

แล้วก็นำความรู้เกี่ยวกับอุปทานมาใช้ในการตั้งราคาผลิตภัณฑ์ เช่น ถ้าช่วงของผลิตภัณฑ์อยู่ในช่วงแนะนำ การกำหนดราคา

ก็จะตั้งราคาที่มีกำไรไม่มาก ถ้าช่วงของผลิตภัณฑ์อยู่ในช่วงเติบโตก็จะตั้งราคาที่มีกำไรสูงขึ้นแต่ก็ยังคำนึงถึงความสามารถใน

การซื้อของลูกค้า ถ้าช่วงของผลิตภัณฑ์อยู่ในช่วงถดถอยก็จะตั้งราคาผลิตภัณฑ์ที่ราคาทุน

นางสาวปริณดา บรรดาศักดิ์ นางสาวปริณดา บรรดาศักดิ์

นางสาวปริณดา บรรดาศักดิ์ 183 (เสาร์เที่ยง)

หากนักศึกษาเป็นผู้ผลิตหรือนักธุรกิจ จะนำความรู้เกี่ยวกับอุปทานไปใช้ประโยชน์ต่อกิจการของตนเองได้อย่างไร

ตอบ ถ้าเป็นดิฉันเป็นผู้ผลิต จะทำการผลิตวัสดุการเกษตร จะนำอุปทานไปใช้ในการผลิต คือ ถ้าเป็นช่วงที่มีการทำนาและข้าวมีราคา

สูง ยาฆ่าแมลง เมล็ดพันธุ์ข้าว ก็จะมีราคาสูง ก็จะนำออกขายมาก และจะผลิตเพิ่มขึ้น เพราะจะได้กำไรมาก แต่เมื่อข้าวมีราคาถูก

ลง ยาฆ่าแมลง และเมล็ดพันธุ์ข้าว จะขายได้น้อยลง ก็จะผลิตให้น้อยลง และผลิตวัสดุการเกษตรอื่น ๆ ที่มีราคาสูงแทน เพราะถ้า

ผลิตได้มาก เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า ก็จะทำให้มีกำไรมากขึ้น

188 ยุวดี (เสาร์เที่ยง)

หากนักศึกษาเป็นผู้ผลิตหรือนักธุรกิจ จะนำความรู้เกี่ยวกับอุปทานไปใช้ประโยชน์ต่อกิจการของตนเองได้อย่างไร

ตอบ หากดิฉันเป็นนักธุรกิจจะนำความรู้เกี่ยวกับอุปทานไปใช้ในการผลิตสินค้าและตรวจสอบราคาสินค้าในท้องตลาดว่าสินค้าชนิดไหนที่ลูกค้ามีความต้องการมากที่สุด และสินค้ามีราคาเท่าใดที่ลูกค้าสามารถซื้อได้มากที่สุด ดิฉันจะนำความรู้เกี่ยวกับอุปทานซึ่งเป็นการต้องการขายของผู้ผลิตสินค้าที่มีต่อลุกค้า ผลิตสินค้าที่ลูกค้าต้องการมากที่สุดและมีผลกำไรมากที่สุดเช่นดียวกัน

ทิพวรรณ 181 (เสาร์เที่ยง)

ตอบ ธุรกิจของกิจการเป็นผลิตภัณฑ์จากไม้แปรรูปซึ่งนำมาประกอบเป็นฟอนิเจอร์ส่งขายภายในประเทศไปทั่วภูมิภาค เดิมจะซื้อต้นไม้ภายในประเทศราคาไม้แพง แต่ปัจจุบันต้นไม้เหลือน้อยลงทำให้ต้องสั่งซื้อไม้แปรรูปจากประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อราคาสินค้าที่ผลิตต้องเพิ่มราคาสินค้า เมื่อราคาสินค้าแพงขึ้นความต้องการสินค้าก็ลดน้อยลง กิจการจึงต้องลดต้นทุนการผลิตโดยเปลี่ยนจากใช้ไม้เป็น ไม้อัดที่ทำจากชานอ้อยแทน ซึ่งต้นทุนการผลิตต่ำ และสามารถใช้ทดแทนกันได้ ราคาไม่แพง รวมถึงสามารถตกแต่งดีไซด์ได้หลากหลายแบบทำให้มีลูกค้ามีความต้องการ เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

187 มาลัย (เสาร์เที่ยง)

หากนักศึกษาเป็นผู้ผลิตหรือนักธุรกิจ จะนำความรู้เกี่ยวกับอุปทานไปใช้ประโยชน์ต่อกิจการของตนเองได้อย่างไร

ตอบ หากดิฉันเป็นนักธุรกิจจะนำความรู้เกี่ยวกับอุปทานไปใช้ประโยชน์ต่อธุรกิจของตนคือ

1. ทำการผลิตสินค้าที่เป็นที่นิยมของผู้บริโภค

2. กำหนดราคาสินค้าอย่างเป็นมาตรฐาน

3. คำนวนหาต้นทุนในการผลิตเพื่อผลิตสินค้าที่มีผลกำไรต่อธุรกิจ

4. ผู้ผลิตนำเสนอสินค้าต่อลุกค้าด้วยราคาที่น่าสนใจ

5. ผู้ผลิตต้องคำนึงถึงเศรษฐกิจในการผลิตสินค้าว่าจะมีผลกระทบต่อธุรกิจหรือไม่

6. ผู้ผลิตต้องผลิตสินค้าที่สามารถทดแทนกันได้ในราคาที่ต่ำกว่าแต่ยังมีกำไรอยู่

194 สุกัญญา (เสาร์เที่ยง)

หากนักศึกษาเป็นผู้ผลิตหรือนักธุรกิจ จะนำความรู้เกี่ยวกับอุปทานไปใช้ประโยชน์ต่อกิจการของตนเองได้อย่างไร

ตอบ หากดิฉันเป็นนักธุรกิจจะนำความรู้เกี่ยวกับอุปทานไปใช้ประโยชน์ต่อธุรกิจของตนคือ ในการผลิตสินค้าจะต้องคำนึงถึงลูกค้าก่อนว่า ลูกค้ามีความสนใจเกี่ยวกับสินค้าที่เราผลิตหรือนำเสนอไปมากน้อยแค่ไหน เพื่อที่เราจะได้คำนึงถึงผลกำไรที่ตามมาว่าสินค้าของเราเป็นที่นิยมของลูกค้าหรือไม่ และเปรียบเทียบราคาสินค้าชนิดเดียวกันกับท้องตลาดว่าราคาต่างกันหรือไม่เพื่อที่เราจะได้นำเสนอสินค้าที่แตกต่างจากเดิม สังเกตความเปลี่ยนแปลงของลูกค้าว่าลูกค้ายังต้องการสินค้าของเราอย่างสม่ำเสมอหรือไม่ เพื่อที่เราจะได้เปลี่ยนแปลงสินค้านั้นและพัฒนาใหม่ขึ้นกว่าเดิม

<p>นิตยา มหาวงค์ กศ.บป.เสาร์-อาทิตย์ (เที่ยง) 25143182

หากนักศึกษาเป็นผู้ผลิตหรือนักธุรกิจ จะนำความรู้เกี่ยวกับอุปทานไปใช้ประโยชน์ต่อกิจการของตนเองได้อย่างไร

ตอบ หากข้าพเจ้าเป็นนักธุรกิจ ข้าพเจ้าจะนำความรู้เกี่ยกับอุปทาน ไปใช้ดังนี้

1. กำหนดการผลิตว่าจะผลิตสินค้าแบบใดที่ตรงความต้องการของลูกค้ามากที่สุด

2. การตั้งและกำหนดราคาสินค้าในแต่ละช่วงที่มีการ เปลี่ยนแปลง

3. สามารถคำนวณว่าสินค้าที่จะผลิตนั้นควรผลิตในช่วงไหนที่มีต้นทุนต่ำและทำกำไรได้สูง

4. รักษาลูกค้าได้ เพราะการตั้งราคาที่เหมาะสมตามช่วงเวลามีผลต่อการซื้อสินค้าของลูกค้า ถ้าเราตั้งราคาสินค้าสูงกว่าที่อื่นในขณะที่ ร้านอื่นตั้งราคาต่ำกว่า ทำให้เสียลูกค้าได้

195 เสาร์เที่ยง น.ส.สุศิรา วงค์มูล

หากนักศึกษาเป็นผู้ผลิตหรือนักธุรกิจ จะนำความรู้เกี่ยวกับอุปทานไปใช้ประโยชน์ต่อกิจการของตนเองได้อย่างไร

     ตอบ ถ้าดิฉันเป็นผู้ผลิตหรือนักธุรกิจ ดิฉันจะนำความรู้เกี่ยวกับอุปทานไปใช้ประโยชน์ต่อกิจการ ก็คือ พยายามตรวจสอบราคาสินค้ากับสินค้าที่เรากำลังผลิตอยู่ว่าผลิตแล้วจะขายได้ในราคาเท่าไหร่ หรือว่าต้นทุนที่เราใช้ อยู่ในช่วงที่ราคาลดหรือราคาเพิ่ม เมื่อราคาสินค้าที่เราผลิตสูงขึ้น เราก็ควรที่จะเสนอขายในราคาที่สูงขึ้นหรือเสนอขายจำนวนมาก แต่ถ้าราคาสินค้าที่เราผลิตนั้นลดลง เราก็ควรที่จะเสนอขายในราคาที่ลดลงหรือเสนอขายน้อยลงด้วย แต่เราก็ต้องดูด้วยว่าสินค้าของเราที่จะขายนั้นอยู่ในช่วงที่ลูกค้ากำลังต้องการมากหรือน้อย ถ้าลูกค้าต้องการเป็นจำนวนมากเราก็อาจจะผลิตมาก หรือลูกค้าต้องการน้อยลงหรือหมดช่วงของมันเราก็ผลิตให้น้อยลงตามช่วงระยะเวลาหรือความต้องการของลูกค้าด้วย 

25143173 น.ส กัญญาพัชร สมนึก (เสาร์-เที่ยง)

หากนักศึกษาเป็นผู้ผลิตหรือนักธุรกิจ จะนำความรู้เกี่ยวกับอุปทานไปใช้ประโยชน์ต่อกิจการของตนเองได้อย่างไร

ตอบ ถ้าดิฉันเป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องประดับที่ทำด้วยทอง ดิฉันจะนำความรู้เกี่ยวกับอุปทาน มาใช้ในกิจการ คือ

1 ราคาของปัจจัยการผลิตและวัตถุดิบ คือ ถ้าค่าจ้างแรงงานของช่างทองลดลง หรือ ราคาวัตถุดิบลบลง ทางบริษัทจะทำการผลิตเครื่องประดับมากขึ้น เพราะต้นทุนต่ำ ทำให้ได้กำไรมาก

2 ทางบริษัทจะปรับปรุงและพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตให้มีประสิทธิภาพ เพื่อที่จะผลิตเครื่องประดับได้รวดเร็ว และทันต่อความต้องการของตลาด

3 การคาดคะเนราคาสินค้าในอนาคต ถ้าบริษัทคาดการณ์ว่าราคาสินค้าในอนาคตจะสูงขึ้น บริษัทจะลดปริมาณการผลิตในปัจจุบันลงเพื่อรอทำการผลิตไว้ขายในอนาคต เช่น ถ้าราคาขายเครื่องประดับลดลง ทางบริษัทจะลดการผลิตเครื่องประดับลง แต่ถ้าราคาขายเพิ่มขึ้นทางบริษัทก็จะเพิ่มจำนวนการผลิตให้มากขึ้น

180 (เสาร์-เที่ยง) นางสาวทิพวรรณ ทองเชื้อ

หากนักศึกษาเป็นผู้ผลิตหรือนักธุรกิจ จะนำความรู้เกี่ยวกับอุปทานไปใช้ประโยชน์ต่อกิจการของตนเองได้อย่างไร

ตอบ  หากดิฉันเป็นผู้ผลิตหรือนักธุรกิจ ก็ตามดิฉันจะนำความรู้เกี่ยวกับอุปทานไปใช้ประโยชน์ต่อกิจการ ดังนี้

1.ตรวจสอบด้านราคาและปริมาณของสินค้าที่จะมีการผลิตอยู่เสมอ

2.มีการตรวจสอบสินค้าอยู่เสมอเพื่อให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าที่ใช้สินค้าของกิจการให้ได้มากที่สุด

3.นำอุปทานมาคำนวณเพื่อลดต้นทุนให้ต่ำลงและปริมาณการซื้อของสินค้าต้องสูงขึ้น

4.เป็นการสร้างปัจจัยในการผลิตให้กับกิจการเพื่อให้เส้นอุปทานมีการเปลี่ยนแปลงในระดับที่ดีขึ้นด้วย.

196 เสาร์เที่ยง น.ส.หอมจันทร์ ดวงประสาท

 หากนักศึกษาเป็นผู้ผลิตหรือนักธุรกิจ จะนำความรู้เกี่ยวกับอุปทานไปใช้ประโยชน์ต่อกิจการของตนเองได้อย่างไร

ตอบถ้าดิฉันเป็นนักธุรกิจดิฉันจะนำความรู้เกี่ยวกับอุปทานไปใช้ประโยชน์ต่อกิจการของดิฉันโดยการนำไปใช้ประโยชน์ดังต่อไปนี้

ข้อ 1  นำมาใช้ในการกำหนดการผลิดว่าธุรกิจของเราจะผลิตสินค้าในรูปแบบใด ชนิดใด ประเภทใด จึงจะสามารถทำให้ลูกค้าพึงพอใจในตัวสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ธุรกิจของเราให้มากที่สุด

ข้อ 2 นำมาใช้ในการกำหนดกรรมวิธีและเทคนิคการผลิตสินค้า ที่จะทำให้มีขั้นตอนการทำงานให้น้อยมากที่สุดก็เพื่อลดต้นทุนการผลิตให้มากที่สุดที่เราจะทำได้ก็เพื่อเพิ่มกำไร

ข้อ 3 นำมาใช้ในการคาดเดาหรือการคาดคะเนสินค้าในอนาคตว่าอนาคตจะเป็นอย่างไรเราสมควรที่จะผลิตสินค้าที่ละเยอะๆหรือตามคำสั่งซื้อของลูกค้า

ข้อ 4 นำมาใช้ในการผลิตสินค้าที่สามารถทดแทนกันได้

ข้อ 5 นำมากำหนดราคาสินค้าให้เหมาะสมกับฤดูกาลหรือช่วงเวลาการเปลี่ยนแปลง

198 อัจฉราภรณ์  เสาร์เที่ยงค่ะ

หากนักศึกษาเป็นผู้ผลิตหรือนักธุรกิจ จะนำความรู้เกี่ยวกับอุปทานไปใช้ประโยชน์ต่อกิจการของตนเองอย่างไร

ตอบ   ถ้าดิฉันเป็นผู้ผลิตหรือนักธุรกิจจะนำความรู้เกี่ยวกับอุปทานไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดราคาของสินค้าที่ผลิตและขายให้กับผู้บริโภคในราคาขายที่เหมาะสม เพราะราคาเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการตัดสินใจของผู้ผลิตและผู้ขายเป็นอย่างมากเพราะถ้าหากกำหนดราคาสินค้าสูงเกินไปก็จะทำให้ปริมาณขายลดลง แต่ถ้าราคาสินค้าอยู่ในระดับต่ำก็จะทำให้ขายได้ในปริมาณมากขึ้นแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็จะต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่างที่จะต้องใช้ในการกำหนดราคา ได้แก่ ต้นทุนที่ใช้ในการผลิต จำนวนผู้ขายหรือคู่แข่งขัน ฤดูกาล การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้องและจำนวนผู้ซื้อและอำนาจในการซื้อ  ดังนั้นแล้วการที่จะทำให้ขายสินค้าได้ในปริมาณที่มากก็จะต้องคำนึงถึงผู้ซื้อด้วยจึงจะทำให้การขายนั้นได้ผลกำไรเพิ่มมากขึ้น

 

สวัสดีค่ะ

ขณะนี้เราปิดรับการส่งงานครั้งที่ 1 และ 2 แล้วน่ะค้ะ

สำหรับการสรุปการส่งงาน อาจารย์จะหมุนวงล้อหลักที่ 1 หลักที่ 2 และหลักที่ 3 และหยิบลูกบอลให้ครบตามจำนวน  .............................

สรุปผลการส่งงาน

คำถามครั้งที่ 1  มีผู้ส่งงานจำนวน 17 คน  ดังเลขท้าย 3 ตัวที่ออก .......

" 173 174 177 179 180 181 182 183 184 185 186 187 188 194 195 198 "

(ขาดส่ง 1 คน)

คำถามครั้งที่ 2  มีผู้ส่งงานจำนวน 17 คน  ดังเลขท้าย 3 ตัวที่ออก .......

" 173 174 177 179 180 181 182 183 185 186 187 188 194 195 198 030"

(ขาดส่ง 1 คน)

นักศึกษาสามารถตรวจผลการส่งงานได้ตั้งแต่บัดนี้  สำหรับงวด(งาน)ครั้งหน้า  จะประกาศให้ทราบโดยทั่วกันเร็วๆนี้

..............................จบข่าว..................................................

นางสาว หอมจันทร์  ดวงประสาท อาจารย์ค่ะ หนูส่งงานไปแล้วแต่ยังไม่ได้เช็คว่าส่งงานค่ะทั้ง 2 ครั้งเลยค่ะอาจารย์ เลขประจำตัว 25143196

ประกาศผู้ที่ส่งงานครั้งที่ 1 & 2 (เพิ่มเติม)

ขอแสดงความยินดีกับหมายเลข.........1......9.......6   ค่ะ

ป.ล.ขออภัยที่ตกหล่นค่ะ

(^_^)

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท