สรุปเนื้อหาสาระวิจัยเล่มที่ 3


สรุปเนื้อหาสาระวิจัยเล่มที่ 3

สรุปสาระสำคัญของการวิจัย

1.  ชื่อเรื่อง  การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 

                  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย  เขต 2

2. ผู้วิจัย      ธวัชชัย  หอมยามเย็น

3. ปีที่วิจัย    พ.ศ.   2548

4. วัตถุประสงค์

    เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย  เขต 2

5. วิธีการวิจัย

    5.1  วิธีการ   เป็นวิจัยเชิงปริมาณ

    5.2  กลุ่มตัวอย่าง

    กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาอิสระครั้งนี้  คือ  ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็น

ประชากรจำนวน  23  คน และครูผู้สอน จำนวน 92  คน รวมทั้งหมด  115  คน

     5.3 เครื่องมือ

      เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้  เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  โดยแบ่งออกเป็น 2 ตอน ดังนี้

       ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบสำรวจรายการ (Checklist) โดยสอบถามเกี่ยวกับ เพศ อายุ วุฒิทางการศึกษา ตำแหน่งในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ อายุราชการ และประสบการณ์ในการบริหารงาน     ผู้ตอบแบบสอบถามประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครูผู้สอนในสถานศึกษา กิ่งอำเภอเฝ้าไร่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 2

       ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับการศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยกำหนดให้ครอบคลุมพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาทั้ง 4 ด้านได้แก่

       ด้านที่ 1 การมีอิทธิพลเชิงอุดมการณ์ จำนวน 17 ข้อ

       ด้านที่ 2 การสร้างแรงบันดาลใจ จำนวน 9 ข้อ

       ด้านที่ 3 การกระตุ้นทางปัญญา จำนวน 10 ข้อ

       ด้านที่ 4 การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล จำนวน 9 ข้อ

       สำหรับผู้ตอบแบบสอบถาม เกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และข้าราชการครูที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษากิ่งอำเภอเฝ้าไร่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 2 ซึ่งเป็นแบบสอบถามลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 45 ข้อ

      5.4  วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล

      ในการดำเนินการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ผู้ศึกษาได้ดำเนินการตามลำดับขั้นตอน  ดังนี้

            5.4.1 ขอความร่วมมือจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อทำหนังสือถึงผู้อำนวยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 2 เพื่อขออนุญาต     ในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรทางสถานศึกษาในสังกัด

            5.4.2  ผู้ศึกษานำหนังสือจากผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย     เขต 2  จังหวัดหนองคาย ถึงผู้อำนวยการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และข้าราชการครูและบุลากรทางการศึกษาในกิ่งอำเภอเฝ้าไร่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 2 เพื่อขอความอนุเคราะห์และความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม ให้ได้ข้อมูลตามสภาพความเป็นจริง

            5.4.3  ผู้ศึกษานำแบบสอบถามไปแจกด้วยตนเองทั้งหมด ในระหว่างวันที่ 10-19 สิงหาคม  2548

            5.4.4  เมื่อถึงกำหนดวันนัดหมาย ผู้ศึกษาไปขอรับและแบบสอบถามคืนตนเองพร้อมตรวจสอบถูกต้อง ความเรียบร้อย ความสมบูรณ์ของข้อมูล ในการตอบแบบสอบถามในแต่ละชุดและจำนวนข้อมูลที่ได้รับครบถ้วนหรือไม่

            5.4.5  แบบสอบถาม ผู้ศึกษาได้จัดส่งไปทั้งสิ้น จำนวน 115 ชุด ได้รับคืน 115 ชุด เป็นแบบสอบถามที่สมบูรณ์ 115 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100

            5.4.6  ผู้ศึกษานำแบบสอบถามหรือข้อมูลที่เก็บรวบรวมในแต่ละสถานศึกษา เพื่อนำไปวิเคราะห์และแปลผลข้อมูล

      5.5 วิธีวิเคราะห์ผล

       ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ศึกษาได้ดำเนินการตามลำดับขั้นตอน ดังนี้

            5.5.1  สถิติที่ใช้ในการวิจัย

                     5.5.1.1  ค่าร้อยละ

                     5.5.1.2  ค่าเฉลี่ย

                     5.5.1.3  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            5.5.2  การวิเคราะห์ข้อมูล

                    5.5.2.1 ตรวจสอบความถูกต้อง ความสมบูรณ์ของแบบสอบถามที่ได้รับคืน และเรียบเรียงตามลำดับของแบบสอบถาม

                    5.5.2.2  นำคะแนนที่ได้ ไปทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้เครื่องมือไมโครคอมพิวเตอร์โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows

                    5.5.2.3 นำข้อมูลที่เกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม มาวิเคราะห์โดยการแจกแจงความถี่ และหาค่าร้อยละ เสนอเป็นตารางประกอบคำบรรยายความเรียง

                    5.5.2.4  ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามความคิดเห็นที่เกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ของผู้บริหารสถานศึกษา และข้าราชการครูสายปฏิบัติการสอนนำมาวิเคราะห์ โดยหาค่าเฉลี่ย  และหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอ ในรูปตารางประกอบคำบรรยายความเรียง

       5.6 การแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูล

             5.6.1 ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พิจารณาเกณฑ์การตัดสินผลการวิเคราะห์ ดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด, 2545)

                    5  หมายถึง มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับ มากที่สุด

                    4  หมายถึง มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับ มาก

                    3  หมายถึง มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับ ปานกลาง

                    2  หมายถึง มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับ น้อย

                    1  หมายถึง มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับ น้อยที่สุด

            5.6.2 การแปลผลข้อมูล โดยนำค่าเฉลี่ย ไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์การวิเคราะห์ผลการประเมิน ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดเกณฑ์การแปลผลข้อมูลไว้ 5 ระดับ ตามเกณฑ์การประเมินของ (บุญชม ศรีสะอาด, 2545)

      4.51 – 5.00 หมายถึง ผู้บริหารมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง อยู่ในระดับมากที่สุด  

      3.51 - 4.50 หมายถึง ผู้บริหารมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง อยู่ในระดับมาก

      2.51 – 3.50 หมายถึง ผู้บริหารมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง อยู่ในระดับปานกลาง

      1.51 – 2.50 หมายถึง ผู้บริหารมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง อยู่ในระดับน้อย

      1.00 – 1.50 หมายถึง ผู้บริหารมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง อยู่ในระดับน้อยที่สุด

6.  ผลการวิจัย

     จากการศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมพบว่า ผู้บริหารสถานศึกษามีระดับ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับ“มาก”เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษามีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ตามระดับความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนอยู่ในระดับ “มาก” เรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ด้านการใช้อิทธิพลเชิงอุดมการณ์ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ และด้านการกระตุ้นทางปัญญา ตามลำดับ ส่วนด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล โดยเฉพาะผู้บริหารรับฟังเรื่องราว และความคิดเห็นของผู้ร่วมงานด้วยความสนใจ และตั้งใจจริง อยู่ในระดับ“มากที่สุด”

หมายเลขบันทึก: 349160เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2010 22:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 22:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท