การประชุมกลุ่มเภสัชกรสาขาโรคเบาหวาน ที่หัวหิน (3)


(ตอนที่1)  (ตอนที่2)

           ตอนค่ำของวันที่ 21 มีนาคม 2553 หลังจากเดินทางไปกินอาหารเย็นที่ร้านอาหารทะเลแถวตลาดหัวหิน พวกเราก็มีเวลาเดินเล่นกันเล็กน้อยที่เพลินวาน และนัดกันอีกครั้ง เพื่อประชุมแกนนำกลุ่มต่อ ที่ Lobby ของโรงแรม เวลา 4 ทุ่ม    หลังจากอาบน้ำผมไปยืนที่ระเบียงเพื่อรับลมทะเลสักหน่อย ให้สมกับที่มีถึงทะเลแต่ยังไม่ได้สัมผัสเลย จนเผลอดูการจุดพลุจากงานวัดใกล้ๆโรงแรมจนเลยเวลา จึงรีบลงมาจากห้องพักชั้น 10       

     

           ที่ lobby มี อ.เนติ นั่งรออยู่แล้ว กับน้องๆที่เคยเป็น adviser ให้ตอนเรียนโท ที่มหิดล คือน้องแอน ภญ.จิตตวดี กมลพุทธ จาก รพ.กมลาไสย   ภญ.ธราณี สิริชยานุกุล และภญ.ธีรนุช องอาจบุญ จาก รพ.แพร่  ภญ.ปิยวรรณ เหลืองจิรโณทัย และภญ.ศุภธิดา สิทธิหล่อ จาก รพ.ลำปาง  พี่แอน ภญ.อุไลลักษณ์ เทพวัลย์ ภญ.ชุติมา รุ่งอร่ามศิลป์ รพ.บุรีรัมย์ และ ภญ.นุชนาฏ ดัสโต รพ.ท่าศาลา ส่วนทีม รพ.สมุทรสาคร ก็ตามมาสมทบในเวลาไล่เลี่ยกัน หลังกลับจากช้อบปิ้งในหัวหินกัน (พี่มด พี่เก๋ พี่ภางค์ น้องแนน และน้องเอื้อม)  ซึ่งนับองค์ประชุมได้ 14 คนพอดีรวมทั้งตัวผม (สังเกตที่รูป มีขาด เกิน แจ้งได้นะคับ)

           พวกเราปรึกษาหารือกัน ต่อเนื่องมาจากประเด็นที่คุยตั้งแต่ห้องประชุมตอนเย็น  ต่อไปถึงร้านอาหารตอนค่ำ แต่ยังไม่ได้ข้อสรุป จึงต้องคุยต่อในตอนดึกอีกครั้ง  โดยมีพี่แอน เป็นผู้สรุปประเด็นการประชุม  โดยมีข้อเสนอดังนี้ ครับ (ข้อมูลจากที่ส่งมาให้ทาง e mail)

          1.สอบถามความคิดเห็นการสมัครเป็นสมาชิก CoPs  DM จากผู้ร่วมประชุมหัวหิน ในวันพรุ่งนี้(22 มีนาคม 53)

         2.เสนอรูปแบบกิจกรรมต่อเนื่องทุกปี   เช่น

     2.1 work shop 

        - สมาคมจัดร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์  อบรม และมอบประกาศนียบัตร   

        - กำหนดเนื้อหาในหลักสูตรทำสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง  เนื่องจากอาจารย์สอนแต่ในตำรา แต่ไม่ตรงกับ practice     

    -  เนื้อหาไม่ควรซ้ำซ้อนกับการประชุมเบาหวานที่มีการจัดเป็นประจำทุกปี  เช่น ของสมาคมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวาน ของสมคมต่อมไร้ท่อ  ร.พ. เทพธารินทร์   (ซึ่งเนื้อหาส่วนใหญ่ไม่ได้เน้นเรื่องยาเฉพาะ)

       -  ใช้ model คนที่ประสบความสำเร็จ  จาก best practice ในเวทีต่างๆ เช่น สมาคมผู้ให้ความู้โรคเบาหวาน เครือข่าย DM KM  ที่จัดประกวดเรื่องเล่าเบาหวาน   หรือจาก เวที HA   หรือเริ่มจากในที่ประชุมครั้งนี้ 

       -  update ความรู้.ใหม่ จากอาจารย์มาหาวิทยาลัย    

     2.2 ทำ pocket book  เพื่อรวมรวมเรื่องเล่าของเภสัชกร ให้เป็นความรู้จากผู้ปฏิบัติ

     2.3 จัดทำ web site หรือ web board  หรือ blog  โดยเนื้อหาควรเป็นในเชิงบวก อาจต้องมีwebmaster   แต่มีข้อเสนอว่าอาจให้เปิดกว้างเพื่อรับฟังความคิดเห็นหลายแง่  ที่น่าสนใจ

    3. การประชุมครั้งต่อไป

           ควรมีหนังสือเชิญทีมคณะทำงาน CoPs จากสมาคมเภสัชกรรม โดยครั้งต่อไปจะใช้เวทีการประชุมวิชาการประจำปีของสมาคม ในวันที่ 19-21 พฤษภาคม 2553 นัดประชุมกันอีกครั้ง โดยช่วงนี้ใช้การประสานผ่าน e-mail เป็นหลัก

      - ภก.เอนก ประสานกับสมาคมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวาน และ สรพ.  เพื่อหารายชื่อ Best practice ที่ส่งเรื่องเข้าประกวด โดยเลือกมาเฉพาะเภสัชกรที่ทำงานเบาหวานโดดเด่น   

      - หารือต่อ เรื่อง กำหนดรูปแบบกิจกรรม ของเวทีวิชาการของกลุ่ม  จากปัญหาเรื่องที่ต้องการให้คนที่ไม่ได้เริ่มงานเบาหวานเข้าร่วมประชุมด้วย   ซึ่งที่ประชุมเสนอว่า ควรเริ่มจากการสร้างความเข้มแข็งให้กับทีมก่อน ให้ระบบแน่น แล้วค่อยนำไปสู่การขยายเครือข่าย   

          ดังนั้นจึงเสนอประชุม Best Practice ในวันที่ 11-12 พฤศจิกายน จัดให้มีกิจกรรมรวม   2 วัน – 2 วันครึ่ง  ครึ่งวันแรกเป็นของคณะทำงาน CoP  วันต่อไปเป็นกลุ่มเภสัชกรที่ทำงานเบาหวาน มานำเสนอ best practice นำผลงานมาแลกเปลี่ยนกันเพื่อขยาย CoP    และในวันสุดท้ายให้เภสัชกรทั่วไปที่สนใจมาลงทะเบียนฟังวิชาการ   เนื้อหาควรมีทั้ง basic และ advance  ได้แก่    case study    SMBG   INSULIN    ในกรณี hypo หรือ hyper  เน้นการนำข้อมูลไปสอนผู้ป่วย     

 

ภก.เอนก ทนงหาญ ผู้เล่าเรื่อง

 

หมายเลขบันทึก: 348851เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2010 18:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท