ประสบการณ์เชิงปฏิบัติการในการประเมินระดับกลุ่ม


เมื่อประมาณช่วงปลายปีที่แล้วได้รับโอกาสดีๆๆจากอาจารย์สิริพรรณ  อาจารย์คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ให้ไปแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากการทำงานในเรื่องการประเมินระดับกลุ่มและการทำกิจกรรมกลุ่มบำบัดในการช่วยเหลือผู้ป่วยยาเสพติดให้กับรุ่นน้อง (จริงๆแล้วอาจเป็นรุ่นหลาน...) ที่คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ได้ฟัง จึงทำให้ต้องปัดฝุ่นตัวเอง วิชาความรู้ที่เล่าเรียนมาอาจเลือนลางไปบ้างจึงพยายามไปรวบรวมข้อมูลและไม่อยากให้เลือนหายไป...จึงขอมาแบ่งปันให้กับผู้ที่สนใจ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะคะ....

ประสบการณ์เชิงปฏิบัติการในการประเมินระดับกลุ่ม 

 Social Assessment & Social Diagnosis

  • Social Assessment การประเมินทางสังคม
  • Social  Diagnosis    การวินิจฉัยทางสังคม

การประเมิน  คือ การรวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์

  • Assessment คือ ขั้นต้นของการประเมินข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่จะทำ ประเมินเบื้องหลังข้อมูลพื้นฐานซึ่งได้จากแหล่งที่มาของข้อมูล
  • Evaluation คือ การประเมินผลการทำงาน เป็นการตรวจสอบการทำงานทั้งหมด

กระบวนการให้ความช่วยเหลือ

                                         Evaluation

Assessment            Planning       Action        Termination

การวินิจฉัยทางสังคม

-ปี 1917 Mary Richmon เขียนเรื่อง Diagnosis เป็นหนังสือที่เกี่ยวกับสังคมสงเคราะห์เล่มแรก ดูเรื่อง สภาวะแวดล้อมทางสังคมและบุคลิกภาพที่เกี่ยวข้อง เป็นสาเหตุหรือเป็นผลจากบุคคลอื่นที่ส่งผลต่อปัญหา ( ชื่อเป็นการวินิจฉัยแต่รายละเอียดเป็นประเมิน)

-ปี 1936  Functional School ใช้การประเมิน   ดังนี้

Diagnosis  เน้นหาคำตอบ What / Why

Evaluative เน้นหาคำตอบ how

วัตถุประสงค์ของการประเมิน

  • เพื่อให้เกิดความเข้าใจในสถานการณ์ของClient
  • เพื่อประเมินความสัมพันธ์ของ Client  ครอบครัว และสิ่งแวดล้อม
  • เพื่อเป็นพื้นฐานของการวางแผนว่าควรทำอะไร เพื่อช่วยให้ Client ทำหน้าที่ให้ดีขึ้น หรือ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสภาวะแวดล้อมที่ดีขึ้น

เป้าหมายของการประเมิน

  • เข้าใจสภาพปัญหา รู้ถึงปัญหาความต้องการที่แท้จริง
  • นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้อง
  • กำหนดกระบวนการทำงานได้อย่างเหมาะสม
  • เกิดทางเลือกการทำงาน ( Intervention)

ประโยชน์ของการประเมิน

การประเมินเป็นเครื่องมือที่จะช่วยในการวางแผนการทำงาน พิจารณาส่วนที่มีการพัฒนาด้านต่างๆ   เช่น วุฒิภาวะ อารมณ์ สติปัญญา และส่วนที่เป็นปัญหาที่ต้องเปลี่ยนแปลง เพื่อให้นำส่วนที่ดีมาช่วยพัฒนาจุดด้อย

ระดับการประเมินปัญหาของผู้ใช้บริการ

  • ระดับจุลภาค               ได้แก่ บุคคล , ครอบครัว , กลุ่ม ,  ชุมชน
  • ระดับมัชฌิมภาค           ได้แก่ องค์กร และกลุ่มที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
  • ระดับมหภาค               ได้แก่ ชุมชนต่างๆ, สังคม

ประสบการณ์ในการประเมินระดับกลุ่มในกลุ่มผู้ป่วยยาเสพติดสถาบันธัญญารักษ์

แนวทางในการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วย

โดยสรุป...

  • บำบัดแบบรายบุคคลหรือร่วมกับครอบครัว
  • บำบัดแบบกลุ่ม
  • ค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ( สำหรับผู้เสพ )

ความรู้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานกลุ่ม

  • ความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด    เช่น สมองติดยา , ระยะการติดและการเลิกยาผลของสารเสพติดแต่ละชนิด ฯลฯ
  • ทฤษฎีพื้นฐานทางสังคมวิทยาและจิตวิทยา
  • กิจกรรมบำบัด
  • ระบบสวัสดิการสังคม

ปัจจัยที่ควรพิจารณาในการจัดตั้งกลุ่ม

  • สถานที่
  • ขนาดของกลุ่ม
  • การเลือกสมาชิก
  • การจัดสมาชิกเข้ากลุ่ม
  • ลักษณะกลุ่มเปิด / ปิด
  • ระยะเวลาและจำนวนครั้ง

ลักษณะของกิจกรรมกลุ่มแต่ละขั้นตอน

  • ขั้นเตรียมการรักษา   กลุ่มให้ข้อมูล/ความรู้
  • ขั้นบำบัดด้วยยา       กลุ่มบำบัดทางสังคม
  • ขั้นฟื้นฟูสมรรถภาพ  กลุ่มทักษะทางสังคม , กลุ่มเพื่อฟื้นฟูทักษะการเลิกยาและ  ป้องกันไม่ให้เสพซ้ำ , กลุ่มจิตบำบัด ฯลฯ
  • ขั้นติดตามการรักษา  กลุ่มปัญญาสังคม Social Support

กระบวนการทำกลุ่ม( Group Process )

  • ขั้นเริ่มต้น

                - การสร้างความมั่นคงปลอดภัยในกลุ่ม

                - การยอมรับกลุ่ม

                - การสร้างความรับผิดชอบ

  • ขั้นดำเนินการ
  • ขั้นสิ้นสุด ( ยุติ )

ขั้นเริ่มต้น

การสร้างความมั่นคงปลอดภัยในกลุ่ม

การทำความคุ้นเคย ( การสร้างสัมพันธภาพ )

กิจกรรม Warm up

ขอบเขตและระเบียบกลุ่ม ( ตกลงบริการ )

การสร้างความไว้วางใจ

การยอมรับกลุ่ม

การแบ่งปันความรู้สึกส่วนตัว

การให้ข้อมูลย้อนกลับ

การสร้างความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียว

การเรียนรู้ต่อการยอมรับตนเองและผู้อื่น

การสร้างความรับผิดชอบ

การประเมินตนเอง

ความรู้สึกเป็นเจ้าของตนเอง

การสร้างความรับผิดชอบ

การให้ความเคารพนับถือ

ความเท่าเทียม

ขั้นดำเนินการ

การทำตามวัตถุประสงค์ของกลุ่ม เช่น

การแก้ไขปัญหา

ระดมพลังกลุ่ม

การตรวจสอบความเป็นจริง

การมีส่วนร่วม ( การเสนอประสบการณ์  การสะท้อนและอภิปราย ความคิดรวบยอด การทดลอง / ประยุกต์ใช้ )

 ขั้นยุติกลุ่ม

การให้การสนับสนุน

การยอมรับ/ยืนยันในการพัฒนา

การติดตามผล

ปิดกลุ่ม หรือนัดหมายครั้งต่อไป

ทักษะที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม

  • การสัมภาษณ์ / การสื่อสาร
  • การฟัง
  • การสังเกต
  • การควรคุมอารมณ์
  • การจดบันทึก / การรายงาน
  • การประเมิน
  • การให้ข้อมูลย้อนกลับ
  • การเสนอแนะ
  • การเป็นตัวแบบ
  • การเป็นผู้ประสาน
    • การเข้าขัดขวาง
    • การเปิดเผยตนเอง
    • การยุติ
    • ฯลฯ

แนวคิดการทำกิจกรรมกลุ่ม

  • แนวคิดการพัฒนา    Developmental  Approach
  • ปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกในกลุ่ม   Interactionist  Approach
  • การป้องกันและฟื้นฟู   Preventive & Rehabilitative

แนวคิดการพัฒนา

จุดมุ่งหมาย คือ ทำให้สมาชิกปฏิบัติหน้าที่ของตนได้ดีที่สุด

                - ขจัดความรู้สึกที่ทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่

                - ส่งเสริมให้กลุ่มมีพลัง

                - แนะนำให้เข้าสู่โลกของความจริง

หน้าที่นักสังคมสงเคราะห์

  • พยายามค้นหาความสามารถของสมาชิกแต่ละราย
  • สนับสนุนให้สมาชิกมีความเข้มแข็ง
  • ให้กลุ่มแสดงออกในสิ่งที่ตนเองต้องการ
  • ส่งเสริมให้สมาชิกสนองตอบซึ่งกันและกันรู้จักการให้ – รับ ต่อกันมากขึ้น

ปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกในกลุ่ม

  • เน้นการเรียนรู้เรื่องระบบความสัมพันธ์ของสมาชิกกับนักสังคมสงเคราะห์
  • เน้นให้สมาชิกแก้ปัญหาและทำหน้าที่ของตนเอง
  • มองในแง่ของการสนับสนุนซึ่งกันและกัน

หน้าที่นักสังคมสงเคราะห์

  • เป็นตัวกลางที่ทำให้สมาชิกทุกคนช่วยกันแก้ปัญหาที่ตนเองหรือกลุ่มเผชิญอยู่
  • กระตุ้นให้สมาชิกมีปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างกัน

การป้องกันและฟื้นฟู

  • เน้นการแก้ไขฟื้นฟูพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์หรือผิดปกติ
  • เน้นการแบ่งงานกันทำ เน้นระเบียบ ข้อตกลงร่วมกัน ฟื้นฟูตนเอง
  • กลุ่มเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา

หน้าที่นักสังคมสงเคราะห์

  • เข้าใจทฤษฎีที่เกี่ยวกับบทบาท ความสัมพันธ์ปฏิกิริยาตอบสนองกลับ และการประสานทรัพยากร ทฤษฎีระบบและพฤติกรรมมนุษย์
  • ช่วยแนะนำ/แก้ไขเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
  • ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและจัดบริการที่จำเป็นสำหรับสมาชิก

การประเมินผล

  • ประเมินผลจาก  การสังเกต

                                - พฤติกรรมของสมาชิกในกลุ่ม

                                - ความคิดที่แสดงออกของสมาชิก

  •  ประเมินผลจาก การสัมภาษณ์
  • ประเมินผลจาก การใช้เครื่องมือต่างๆ

ประโยชน์ของการทำกลุ่ม

  • ช่วยฟื้นฟู
  • ป้องกันปัญหา
  • เกิดพัฒนาการที่เหมาะสม
  • พัฒนาทักษะ
  • แก้ไขปัญหา

องค์ประกอบของความสำเร็จการทำกลุ่ม

  • การยอมรับความแตกต่างของบุคคล กลุ่ม
  • การทำความเข้าใจจุดเด่น จุดด้อย
  • สัมพันธภาพ
  • ความเข้าใจ Empathy
  • การรับรู้คุณค่าในตนเอง
  • การประสาน จัดสรรทรัพยากร

 

 

หมายเลขบันทึก: 348657เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2010 23:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 18:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณสำหรับสาระความรู้เรื่องการประเมินระดับกลุ่ม

กำลังสนใจเรื่องการประเมิน จึงค้นคว้าอ่านและอ่าน......

กำลังจะสอบตำแหน่งนักสังคมสงเคราะห์ของสถาบันธัญญารักษ์ค่ะ เลยสนใจของมูลของพี่ ดีจังค่ะ ส่วนใหญ่แล้วที่นี่นักสังคมสงเคราะห์มีหน้าที่อะไรค่ะ

 

 

นักสังคมสงเคราัะห์ที่ธัญญารักษ์ปฏิบัติงานหลากหลายค่ะ.....แต่ก็อยู่ในขอบเขตลักษณะงานทางสังคมสงเคราะห์ทั้ง 6 ลักษณะงาน เช่น ประเมิน วินิจฉัย บำบัด ฟื้นฟู การจัดสรรทรัพยากร ชุมชน วิจัย ....ประมาณนี้อะค่ะ ลองทำความเข้าใจความรู้ หลักและวิธีการ กระบวนการทางสังคมสงเคราะห์ และก็อย่าลืมนะคะ "สังคมสงเคราะห์เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์" มีศาสตร์อย่างเดียวก็ไม่ได้ มีแต่ศิลป์แต่ไม่มีองค์ความรู้ก็ไม่ได้....ต้องบูรณาการทั้ง 2 อย่าง

ป.ล. ขออภัยด้วยค่ะ...พี่ตอบอะไรมากไม่ได้เพราะมีชื่อในกรรมการออกข้อสอบด้วย...ขอให้โชคดีก็แล้วกันนะคะ...

ขอบคุณนะค่ะ แต่ห่างหายงานสังคมสงเคราะห์มานานแล้วค่ะ ปัจจุบันก็ทำแต่ส่งคนไปบำบัดยาเสพติดที่ธัญญารักษ์และสถานที่ต่างๆ(กรมคุมประพฤติ) ความรู้ไม่ค่อยจะได้ใช้เท่าที่ควรค่ะ จะต้องรื้อใหม่เยอะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท