โบราณสถานที่สำคัญในลุมพินี


โบราณสถานที่สำคัญในลุมพินี ๑.มหาวิหารมายาเทวี เป็นอาคารที่สร้างขึ้นใหม่เสร็จเมื่อปีพ.ศ.๒๕๔๖ ที่ผ่านมาทำการเปิดกษัตริย์คเยนทราวิกรมเทพชาห์ของเนปาล สร้างครอบมหาวิหารมายาเทวีเดิม ความยาวของวิหาร ๒๘.๔ เมตร กว้าง ๒๓.๘ เมตร สูง ๕.๓ เมตร ใช้งบประมาณ ๕๓ ล้านรูปีเนปาล บนยอดของวิหารทำเป็นสถูปคล้ายเจดีย์สยัมภูวนาถที่นครกาฏมัณฑุ โดยมีดวงตาทั้ง ๔ ด้าน เมื่อยามที่อากาศเปิดสามารถมองเห็นเทือกเขาหิมาลัยได้อย่างชัดเจนจากมุมข้างบน ด้านในเป็นซากมหาวิหารมายาเทวีเดิมที่สร้างสมัยพระเจาอโศกมหาราช ยังคงปรากฏซากอิฐขนาดใหญ่เป็นอาคารอย่างชัดเจน จากนั้นยังหินแกะสลักพระนางมายาเทวีกำลังประสูติพระโอรส แม้ภาพดูจะเลือนลางแต่สามารถมองเห็นได้ จากนั้นข้างล่างยังมีหินที่พึงจะขุดค้นพบใหม่ เป็นลักษณะหมือนรอยพระบาทของพระกุมาร ทางการนำกระจกมาครอบไว้อย่างดี ๒.เสาอโศก สูงจากพื้น ๑๓ ฟุต ๖ นิ้ว พบครั้งแรกในวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๘ ท่าน ดร. อะลอยส์ แอนตัน ฟูเรอร์(Dr. Aloise Anton Fuhter) ชาวเยอรมัน สามารถอ่านจารึกออกเป็นคนแรกโดยจอห์น ปรินเซป ยอดเสาหักลงมา สันนิษฐานว่าเป็นยอดเสาเป็นรูปม้า ทางการได้ทำรั้วเหล็กมากั้นไว้เอาไว้ เสาหินนี้หักพังลงมา เพราะฟ้าผ่ายังปรากฏหลักฐานอยู่ จารึกที่ปรากฏบนเสาหินนับว่าเป็นส่วนที่อยู่สำคัญที่สุดที่ทำให้ทราบว่าที่นี่คือลุมพินี เขียนเป็นภาษาปรากฤต อักษรพราหมี ข้อความว่า เทวาน ปิเยน ปิยทสินา ลาชินา วสติวสาภิสิเตน อตฺน อาตฉ มหียิตา หิทพุธ ชาเต สากยมุนีติ สิลาวิคฑภี จ กาลาปิต สิลากเภ จ อุสปาปิเต หิท ภควํ ชาเตติ ลุมฺพินีคาเม อุตลิเก อฏฺฐ ภาคิเย จ ฯ แปลว่า “ในปีที่ ๒๐ แห่งการครองราชย์สมบัติ พระเจ้าปิยทัสสีผู้เป็นที่รักของทวยเทพได้เสด็จเยี่ยมที่นี่และทำการบูชา เพราะว่าพระพุทธศากยมุนีได้ประสูติที่นี่ พระองค์ทรงโปรดให้ตั้งเสานี้เพื่อให้ทราบว่าที่นี่เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการเสด็จเยี่ยม ทรงโปรดให้งดเว้นภาษีหมู่บ้าน ๑ ใน ๘ ส่วน” ๓.สระน้ำ เป็นสระดั้งเดิมและต่อมามีการขุดแต่งทำทางลงด้วยคอนกรีตทั้ง ๔ ด้าน ในขณะที่นางสิริมหามายาให้พระการประสูติแก่พระโอรส พระนางได้ชำระพระวรกายด้วยด้วยน้ำในสระโบกขรณีแห่งนี้ มีน้ำขังตลอดปี ข้างสระน้ำทางทิศใต้ ยังมีต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ที่ผู้คนมักจะไปรอดที่โคนเสมอเพื่อขอพร และเพื่อความโชคดีมีชัย หรือ บางคนเพื่อขอบุตร ๔.ซากสังฆาราม เป็นซากของอารามที่อยู่รายรอบเสาอโศก ที่นี่เป็นสังฆารามหรือวัดสำหรับจำพรรษาของพระสงฆ์ตั้งแต่สมัยพุทธกาลเป็นต้นมา จนเริ่มรกร้างไปเมื่อพ.ศ.๑๖๐๐ เศษ เริ่มได้รับการขุดค้นโดยกรมโบราณคดีของอินเดียและเนปาล วัดนานาชาติ บริเวณสวนลุมพินีวัน ในปัจจุบันมีวัดพระพุทธศาสนานานาชาติเข้ามาสร้างมากมายหลายชาติ แต่ละชาติมีสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกันเป็นที่น่าสนใจยิ่ง รวมทั้งหมด ๑๗ วัด บางวัดสร้างในนามรัฐบาล บางววัดสร้างในนามเอกชน องค์กรชาวพุทธประเทศนั้นๆ วัดที่สร้างในนามรัฐบาลคือ ๑. วัดไทย ๒.วัดจีน ๓.วัดภูฐาน นอกนั้นสร้างในนามองค์กรเอกชนทั้งสิ้น แบ่งออกเป็น ๒ โซนคือ ๑. โซนฝ่ายเถรวาท ๒.โซนฝ่ายมหายาน ฝ่ายเถรวาท ๑.วัดเนปาล เรียกชื่อว่าลุมพินี ธัมโมทัย สมิติ ธรรมศาลา สร้างพ.ศ.๒๔๙๙ (๑๙๕๖) เป็นวัดที่อยู่ใกล้เขตลุมพินีมากที่สุด ด้านในมีภาพวาดที่สวยงาม เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการประสูติของพระพุทธองค์ ปัจจุบันมีหลวงพ่อวิมาลาเถระ ชาวเนปาลเป็นผู้ดูแล ๒.วัดพม่า อยู่ห่างจากเสาหินประมาณ ๑ กิโลเมตร ทางทิศเหนือ สร้างพ.ศ.๒๕๒๓ เสนาสนะ ๒ หลัง จุดเด่นอยู่ที่พระเจดีย์ขนาดใหญ่ ทาด้วยสีเหลืองอร่ามงดงามยิ่ง สูง ๒๘ เมตร ๓.วัดศรีลังกา อยู่ถัดจากวัดพม่าไป เป็นวัดชาวศรีลังกา ก่อสร้างโดยสมาคมมหาโพธิ์ ซึ่งนำโดยอนาคาริก ธรรมปาละ สร้างพ.ศ.๒๘๗ เสนาสนะมีอาคาร ๑ หลังที่พักผู้จาริกแสวงบุญอีก ๑ หลัง ๔.วัดไทยลุมพินี อยู่เลยจากวัดศรีลังกาไปทางทิศเหนือ สร้างโดยรัฐบาลไทย เมื่อพ.ศ.๒๕๓๕ มีเนื้อที่ ๑๓ ไร่เศษ ทำสัญญาเช่าจากรัฐบาลเนปาล ๙๙ ปี ใช้งบประมาณทั้งสิ้น ๖๐ ล้านบาท มีเสนาสนะมีกุฏิทรงไทย ๔ หลัง ที่พักผู้แสวงบุญ ๑ หลัง อาคารอเนกประสงค์ ๑ หลังโรงทานนำทอง ๑ หลัง พระอุโบสถทรงไทยทรงจตุรมุข ๑ หลัง ออกแบบโดยศิลบินห่งชาติคุณภิญโญ สุวรรณคีรี ปัจจุบันมีพระราชรัตนรังษี เป็นเจ้าอาวาส ๕.สำนักปฏิบัติธรรมโคอินก้า อยู่ใกล้กับไฟสันติภาพ ก่อตั้งโดยโคอินก้า เมื่อพ.ศ.๒๕๔๓ ขณะนี้อยู่ในช่วงก่อสร้าง ๖.วัดมหาปชาบดีโคตมี(เนปาล) อยู่ตรงกันข้ามกับสำนักปฏิบัติธรรมโคอินก้า สร้างพ.ศ.๒๕๓๔ เป็นสำนักของแม่ชีชาวเนปาล ฝ่ายมหายาน ฝ่ายมหายานมี ๑.วัดเกาหลี ๒.วัดจีน ๓.วัดเวียดนาม ๔.วัดธิเบต ๕.วัดญี่ปุ่น ๖.วัดมองโกเลีย สภาพปัจจุบันและการเดินทาง ลุมพินี เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ลุมมินเด อยู่ในเขตอำเภอสิทธารถนคร หรือไพราหว่าเดิม ประเทศเนปาล ห่างจากด่านโสเนาลี ด่านพรมแดนอินเดียเนปาล ๒๘ กิโลเมตร สภาพถนนเข้าลุมพินีเป็นถนน ๑ ช่องจราจร ก่อนเดินทางเข้าควรที่จะสอบถามสถานการณ์ในฝั่งอินเดียก่อน เพราะบางครั้งเมื่อสถานการณ์ไม่ดี ทางการเนปาลก็ปิดด่านชั่วคราว นักท่องเที่ยวไม่สามารถเข้าออกได้ เพราะกบฏที่นิยมลัทธิเหมาเจ๋อตุงยังคุกคามรัฐบาลอยู่ ถ้าไปกลับภายใน ๓ วันไม่ต้องจ่ายค่าวีซ่าเข้าประเทศ ถ้ามากกว่านั้นต้องจ่าย ๓๐ ดอลลาร์ต่อคน เมื่อข้ามด่านแล้ว ทำวีซ่าที่ฝั่งเนปาลจากนั้นนั่งรถสามล้อไปที่สถานีรถบัสซึ่งห่างจากด่านเบราหิย่า (ฝั่งเนปาลเรียกต่างจากอินเดีย) ๒ กิโลเมตร จากนั้นนั่งรถบัสเข้าลุมพินีคนละ ๒๐ รูปี หรือเช่ารถจากด่านเบราหิย่าของเนปาลก็ได้ไปกลับราว ๓๐๐ รูปีอินเดีย ลุมพินีเก็บค่าเข้าชมสำหรับต่างชาติ ๕๐ รูปีอินเดีย ส่วนพระสงฆ์และแม่ชีเข้าฟรี ค่ากล้องตัวละ ๑ ดอลลาร์ ส่วนกล้องวีดีโอประมาณ ๓๐๐ รูปี หรือ ท่านใดเดินทางจากนครกาฎมาณฑุ เมืองหลวงมีสายการบินมาลงที่ไพราว่าโดยสายการบินโรยัล เนปาลแอร์ไลน์ ใช้เวลา ๔๕ นาที มีทุกวัน ข้อแนะนำ การซื้อข้าวซื้อของในฝั่งเนปาลควรถามด้วยว่าเป็นราคารูปีเนปาลหรือรูปีอินเดีย เพราะค่าเงินของเนปาลต่ำกว่าอินเดียเกือบครึ่ง ปัจจุบัน ๑ ดอลลาร์ประมาณ ๖๕ รูปีเนปาล ในขณะที่อินเดีย ๑ ดอลลาร์ประมาณ ๔๒ รูปีอินเดีย ผู้คนที่พรมแดนสามารถพูดภาษาอังกฤษได้เกือบทุกคน โบราณสถานย่อยใกล้ลุมพินี ๑.เสาอโศกนิกลิฮ่าว่า(Niglihawa) หรือบางครั้งแรกว่า นิคลิสาคร ห่างจากกบิลพัสดุ์ไป ๘ กิโลเมตร ที่นี่มีเนินโบราณและเสาอโศกที่แตกหักเป็นชิ้นๆ เสาที่นี่มีจารึกอโศก เขียนด้วยอักษรพราหมีข้อความว่า “เทวานํ ปิเยน ปิยทสินา ลาชินา โจทสวส(ภิสิ)เตน พุธส โกนาคมน ถูเพ ทุติยํ วาทิเต สมิสิเตน จ อตนา อกจ มหิยเต ปปิเต” ความว่า พระเจ้าปิยทัสสี ผู้เป็นที่รักของเทวดา ในปีที่ ๑๔ ของการขึ้นครองราชย์สมบัติได้ขยายสถูปของพระพุทธเจ้าโกนาคมนะ ต่อมาในปีที่ ๒๐ แห่งการขึ้นครองราชย์สมบัติ ได้เสด็จมาเพื่อสักการะบูชา และทรงรับสั่งให้ตั้งเสาหินไว้ ต่อมาพระเจ้ารูปมัลละ แห่งราชวงศ์มัลละของเนปาลได้มาเพิ่มเติมจารึกว่า โอม มณีปัทเม หุม รูปมัลละ ไชรัน ชายุต นอกจากนั้นยังจารึกนกยูง ๒ ตัว ๒.เสาอโศกที่โกติฮาว่า เป็นสถานที่สำคัญอีกแห่ง ที่นี่มีซากโบราณและพบเสาหินของพระเจ้าอโศกมหาราช ตั้งอยู่ห่างจากกรุงกบิลพัสดุ์ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณ ๕ กิโลเมตร เสาอโศกต้นนี้ถูกทุบจนแตกหัก เหลือเพียงส่วนที่ปักอยู่ในดินเท่านั้น ที่นี่ปักอยู่ แต่เมื่อสอบถามชาวบ้าน กล่าว่า ถูกฟ้าผ่าลงมานานแล้ว ยาว ๓ เมตร ส่วนสถูปที่นี่เหลือเพียงฐานที่ก่อด้วยอิฐโบราณเส้นผ่าศูนย์กลาง ๘ เมตร สร้างในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชเพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าพระพุทธเจ้าพระนามว่ากนกะมุนี ได้ประสูติที่นี่
หมายเลขบันทึก: 348458เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2010 10:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 13:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดีมากค่ะ เป็นสถานที่ที่อย่ากไปมากค่ะสวยมากค่ะได้รับความรู้มากมาย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท