การวิจัยปฏิบัติการเพื่อเพิ่มประสิทธิผลขององค์กร


การวิจัยปฏิบัติการด้วยวงจร PAOR

การวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) และวงจรการวิจัยปฏิบัติการรูปแบบ PAOR เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา 

                                             ดร.แก้วเวียง นำนาผล

 

                  จากที่ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 30 ได้กำหนด ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา ดังนั้นการวิจัยจึงได้รับความสนใจจากสถานศึกษาต่างๆและแต่ละสถานศึกษาให้ความสำคัญอย่างจริงจัง มีการอบรม มีการประชุมเชิงปฏิบัติการต่างๆมากมาย  ซึ่งผู้เขียนได้ศึกษาและค้นคว้าวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยแล้วพบว่า การจะพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้ได้ผลนั้นต้องทำการวิจัยเป็นฐาน (Research –Based) ซึ่งเดิมก็มีการวางแผน มีการปฏิบัติลงมือทำ มีการตรวจสอบ และการปรับปรุงอยู่แล้ว แต่ก็ต้องทำการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบและเพื่อให้สถานศึกษามีคุณภาพมากยิ่งขึ้น จึงขอนำเสนอ การวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) โดยใช้วงจร PAOR ซึ่งมีหลายหน่วยงานทั้งของรัฐและเอกชน ได้พยายามใช้วงจรนี้ทำการวิจัยปฏิบัติการในสถานศึกษา แต่ก็ขอเสนอแนวทางที่สามารถดำเนินการวิจัยไปพร้อมๆกับการปฏิบัติงานในสถานศึกษาตามปกติ โดยไม่แปลกแยกจากการทำงานหรือเพิ่มภาระงานให้หนักมากขึ้นแต่อย่างใด  ไม่ต้องไปทดลองใช้ หรือ ไปเก็บรวบรวมข้อมูลจากที่อื่นแต่อย่างใด

                  การทำงานตามปกติกับการวิจัยปฏิบัติการ         

                       สถานศึกษาจะมีคุณภาพเพียงใดขึ้นอยู่กับองค์ประกอบภายในสถานศึกษานั้น ๆได้แก่ ผู้สอน ผู้เรียน หลักสูตร และสื่อวัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ ผู้ที่สำคัญที่สุดในการทำให้กิจกรรม   ต่าง ๆ ภายในสถานศึกษาดำเนินไปได้ด้วยดีก็ คือ ผู้บริหาร ซึ่งจะเป็นผู้ที่ระดมการมีส่วนร่วมของคนทุกฝ่ายตั้งแต่ชุมชน ผู้สอน และผู้เรียนมาร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา และความต้องการเพื่อกำหนดทิศทาง หรือวิสัยทัศน์ จัดทำแผนปฏิบัติการของโรงเรียน การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการการนิเทศติดตามผล และการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานของสถานศึกษาให้ ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบกระบวนการดังกล่าว ถือว่าผู้บริหารได้นำกระบวนการวิจัยมาใช้ในการบริหารจัดการของสถานศึกษาในความรับผิดชอบ  ดังภาพประกอบ 1

 

 

 

 

ภาพประกอบ  1  การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา

ที่มา : สุภางค์ จันทวานิช. 2543

 

 

5)สรุปผลการแก้ไขปัญหา/การพัฒนา

4)วิเคราะห์ข้อมูล สรุปผล รายงานผล

2)ลงมือปฏิบัติตามที่วางแผน

1) วางแผนวิเคราะห์ปัญหา/การพัฒนา

5. ทำรายงานผลการดำเนินงาน

    ของสถานศึกษา

4.นิเทศ  ติดตามประเมินผล

3.ดำเนินการตามแผน

2.จัดทำแผนโรงเรียน

1.วิเคราะห์และความต้องการเพื่อกำหนดทิศทาง/วิสัยทัศน์

ไม่มีปัญหา

พบปัญหา/ต้องการพัฒนาต้องทำวิจัย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                จากภาพประกอบ  1  ผู้บริหารได้ใช้กระบวนการวิจัยมาใช้ในการดำเนินงานบริหารโรงเรียนตั้งแต่การวิเคราะห์ปัญหา และความต้องการเพื่อกำหนดทิศทางหรือวิสัยทัศน์ การจัดทำแผนโรงเรียน การดูแลปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผน การนิเทศหรือติดตามหรือประเมินผล การดำเนินงาน การจัดทำรายงานผลการดำเนินงานของสถานศึกษา ในกรณีที่ผู้บริหารมีการประเมินผลงานแล้ว พบปัญหารุนแรง หรือพบสิ่งที่ควรได้รับการพัฒนาที่สำคัญ ผู้บริหารต้องทำวิจัยเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางานดังกล่าวในระหว่างขั้นตอนที่  3  ของการดำเนินงาน โดยมีขั้นตอนวิจัย 4ขั้นตอน คือ การวางแผนแก้ปัญหาหรือพัฒนา ลงมือปฏิบัติ จัดกิจกรรมแก้ปัญหาหรือพัฒนา สังเกตหรือเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลการแก้ปัญหาหรือพัฒนานำผลการวิจัยไปใช้แล้วทำการประเมินผลในขั้นตอนที่  4  ของการดำเนินงานการบริหารอีกครั้งจนพบว่าไม่ปัญหาจึงจัดทำรายงานผลการดำเนินงานสถานศึกษาให้แก่ผู้เกี่ยวข้องทราบหรือเป็นข้อมูลในการพัฒนางานต่อไป

ความหมายของการวิจัยปฏิบัติการ 

                           การวิจัยปฏิบัติการ  (Action Research)  หมายถึงกระบวนการปฏิบัติงานของกลุ่มบุคคลที่ร่วมกันปฏิบัติและพัฒนางานอย่างมีระบบ เพื่อ แก้ไขปรับปรุง เปลี่ยนแปลงให้ดียิ่งขึ้นเป็นการวิจัยเพื่อนำผลมาใช้แก้ปัญหาอย่างรีบด่วนหรือปัจจุบันทันที  ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่บุคคลหลายฝ่ายคาดหวังว่า จะช่วยแก้ ปัญหาและพัฒนาการปฏิบัติงานของโรงเรียนให้ประสบผลสำเร็จ   โดยมีความสำคัญ ดังนี้

             1. ให้โอกาสครูในการสร้างองค์ความรู้ ทักษะการทำวิจัย การประยุกต์ใช้

การตระหนักถึงเป็นทางเลือกที่เป็นไปได้ที่จะเปลี่ยนแปลงโรงเรียนให้ดีขึ้น

             2.  เป็นการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ นอกจากการเปลี่ยนแปลงหรือสะท้อนผล

การทำงาน

             3.  เป็นประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติโดยตรง เนื่องจากพัฒนาตนเองด้วยวิชาชีพ

             4.  ช่วยทำให้เกิดการพัฒนาที่ต่อเนื่อง และเกิดเปลี่ยนแปลงผ่านกระบวนการวิจัย

ในที่ทำงานซึ่งเป็นประโยชน์ต่อองค์กรเนื่องจากนำไปสู่การปรับปรุง เปลี่ยนแปลงการปฏิบัติและการแก้ปัญหา

             5.  เป็นการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติในการวิจัย ทำให้

กระบวนการ วิจัยมีความเป็นประชาธิปไตย ทำให้เกิดการยอมรับในความรู้ของผู้ปฏิบัติ

             6.  ช่วยตรวจสอบวิธีการทำงานของครูที่มีประสิทธิผล

             7.  ทำให้ครูเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง (Change Agent)

จุดมุ่งหมายและลักษณะสำคัญของการวิจัยปฏิบัติการ 

                         จุดมุ่งหมายของการวิจัยปฏิบัติการเป็นกระบวนการที่ผู้วิจัยได้เลือกกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เห็นว่าดี  เหมาะสม  ตามความรู้ความเข้าใจของผู้วิจัย  มาดำเนินการปฏิบัติเพื่อปรับปรุงว่าใช้ได้หรือไม่  ประเมินดูความเหมาะสมในความเป็นจริง  ควบคุมแนวทางปฏิบัติการ  แล้วนำผลมาปรับปรุงใหม่จนกว่าจะได้ผลเป็นที่พอใจ นำไปใช้เผยแพร่ได้  การวิจัยชนิดนี้เอื้อต่อการเปลี่ยนแผนการดำเนินงาน  เมื่อผู้วิจัยได้ข้อมูลใหม่เพิ่มขึ้น  ทำให้รูปแบบการวิจัยยืดหยุ่นได้  การวิจัยปฏิบัติการจึงมีความมุ่งหมายเพื่อ 

1.  เพื่อแสวงหาแนวทางและเทคนิควิธีการในการบริหารจัดการตามภารกิจของ

โรงเรียน

                                2.  เพื่อแสวงหาเทคนิคและวิธีการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับ

ธรรมชาติและศักยภาพของนักเรียน

                                3.  เพื่อทำให้การเรียนรู้ที่มีหลักการและเหตุผลด้วยตนเอง ซึ่งจะนำไปสู้ความรู้

ทักษะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ คือ เก่ง ดี และมีความสุข

 

                         ลักษณะสำคัญของการวิจัยปฏิบัติการ 

                                1.  มุ่งแก้ปัญหาในการปฏิบัติงานในหน้าที่ในชีวิวิตประจำวันของครูผู้วิจัย          ซึ่งจะพบว่าในการปฏิบัติงานมักพบปัญหาอุปสรรคตาง ๆ  คุณควรจะคิดค้นหาวิธีการแก้ปัญหา แล้วนำมาลองปฏิบัติ ศึกษาผลที่เกิดขึ้นว่าสามารถแก้ปัญหานั้นได้หรือไม่ แก้ได้มากน้อยเพียงใด  ถึงระดับที่ต้องการหรือไม่ มีเงื่อนไขอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง กรณีที่ยังไม่บรรลุตามที่มุ่งหวังไว้จะทำอย่างไรลองปรับปรุงในส่วนที่ไม่ค่อยได้ผล เพิ่มวิธีการเทคนิคต่างๆ แล้วลองนำไปปฏิบัติใหม่ ตรวจสอบดูผล ฯลฯ ลักษณะเช่นนี้คือตัวอย่าง ของวิจัยปฏิบัติการ

                         2. มีการลงมือปฏิบัติหรือกระทำ ปรับปรุงให้ดีขึ้น ซึ่งอาจสามารถแก้ไขปัญหานั้นได้ตามที่วางแผนไว้ ซึ่งจะยุติการศึกษาเรื่องนี้หรืออาจต้องทำการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องจนพบแนวทางที่ดีตามที่มุ่งหวังไว้ก็ได้

                              3. ผู้วิจัยอาจทำการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาของตนเองด้วยตนเองคนเดียว หรือทำการวิจัยร่วมกับ (Participatory) หลายคนก็ได้ เช่น ร่วมกับครูคนอื่นๆ ผู้ปกครอง นักเรียน เป็นต้น

                             4. เน้นการวิจัยเฉพาะที่ ไม่มุ่งการนำผลการวิจัยมาใช้ในการสรุปอ้างอิง หรือสรุปครอบคลุม กล่าวคือ ผู้วิจัยลงมือการเพื่อการแก้ปัญหา หรือพัฒนาการปฏิบัติงานของตนไม่ได้มุ่งนำไปใช้ในที่อื่นๆ

                             5. ในการดำเนินการวิจัย ครูผู้วิจัยอาจมีการเปลี่ยนแปลงในจุดมุ่งหมายและวิธีการวิจัยเพื่อให้เกิดความเหมาะสมบรรลุเป้าหมายได้ดีขึ้นก็ได้

                 16 หลักการ ของการวิจัยปฏิบัติการของ Kemmis และ Mctaggart

        หลักการสำคัญ 16 ประการ สรุปได้ดังนี้ 

                         1.  เพิ่มพูนความเข้าใจในปัญหาต่างๆ

                         2.  มุ่งปรับปรุงการปฏิบัติตนและการปฏิบัติงานของบุคคล

                         3.  เน้นที่ปัญหาเร่งด่วนของผู้ปฏิบัติงาน

                         4.  ให้ความสำคัญต่อความร่วมมือกันของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

                         5.  ดำเนินการวิจัยภายใต้สถานการณ์ที่กำลังเป็นปัญหา

                         6.  ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมอย่างเป็นธรรมชาติ

                         7.  เน้นการศึกษาเฉพาะกรณีหรือศึกษาเฉพาะหน่วยเดียว

                         8.  ไม่มีการควบคุมหรือจัดกระทำต่อตัวแปร

                         9.  ปัญหา วัตถุประสงค์ และระเบียบวินัย มีลักษณะเป็นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ความจริง

                         10.  มีการประเมินหรือส่องสะท้อนผลที่เกิดขึ้นเพื่อทบทวน

                         11.  ระเบียบวิธีวิจัยมีลักษณะเป็นนวัตกรรม สามารถคิดขึ้นมาใหม่ให้เหมาะสมกับปัญหาได้

                         12.  กระบวนการศึกษามีความเป็นระบบหรือเป็นวิทยาศาสตร์

                         13.  มีการแลกเปลี่ยนผลวิจัยและการนำไปใช้จริง

                         14.  ใช้วิธีการบรรยายข้อมูล หรือการอภิปรายร่วมกันอย่างเป็นธรรมชาติ

                         15.  คิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล ซึ่งต้องมาจากการทำความเข้าใจ การตีความหมายและการคิดอย่างอิสระ

                         16.  เป็นการวิจัยที่ปล่อยความคิดอย่างอิสระ และเป็นการเสริมสร้างพลังร่วมในการทำงาน (Empowerment) ให้ผู้เกี่ยวข้อง

 

ขั้นตอนของการวิจัยปฏิบัติการ(Action Research) วงจร PAOR

                  

                   ในประเทศออสเตรเลีย Stephen Kemmis และRobin Mctaggart  ได้นำแนวคิดการวิจัยปฏิบัติการ เพื่อปรับปรุงการจัดการศึกษาของออสเตรเลียจนได้รับการยอมรับและเผยแพร่ไปอย่างกว้างขวาง ซึ่งความคิดของ Kemmis และMctaggart นั้น การวิจัยปฏิบัติการคือการวิจัยแบบมีส่วนร่วมและการร่วมมือกันเป็นหมู่คณะ  ดังนั้น ในขั้นตอนของการวิจัยปฏิบัติการ จึงต้องกำหนดจุดสนใจร่วม (Thematic Concern)ก่อน อันดับแรก  เช่นสนใจที่จะพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องหรือเนื้อหาที่จะสอน การพัฒนาระบบงานต่างๆ  การพัฒนาหลักสูตรและวิธีการสอนให้มีประสิทธิภาพ และพัฒนาให้ผู้เรียนเข้าใจวิธีการวิทยาศาสตร์ให้ลึกซึ้ง เป็นต้น เมื่อได้จุดสนใจร่วมกันแล้วก็จะนำไปสู่การปฏิบัติที่สำคัญ 4 ประการ ที่เกี่ยวข้องกันเป็นวงจร คือ

                                            1.  การพัฒนาแผนการปฏิบัติเพื่อปรับปรุงสิ่งที่มีปัญหา ซึ่งเป็นแนวการปฏิบัติงานที่มีโครงสร้างและแนวทาง การวางแผนต้องมีความยืดหยุ่น และต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่อาจส่งผลกระทบต่อแผนที่กำหนดไว้

                                            2.  การปฏิบัติตามแผน ซึ่งเป็นการดำเนินการตามแนวทางที่ได้กำหนดไว้อย่างละเอียด รอบคอบ และมีการควบคุมอย่างสมบูรณ์

                                            3.  การสังเกตผลการปฏิบัติ เป็นการบันทึกข้อมูล หลักฐาน หรือร่องรอยต่างๆ อย่างมีวิจารญาณเกี่ยวกับผลที่ได้จากการปฏิบัติ โดยอาจใช้วิธีการวัดแบบต่างๆ เข้ามาช่วยซึ่งสารสนเทศจาการสังเกตนี้จะนำไปสู่การส่องสะท้อนและปรับปรุงการปฏิบัติอย่างเข้าใจและ        ถูกทิศทาง                      

                                            4.  การสะท้อนผลการปฏิบัติ เป็นกระบวนการทบทวนการปฏิบัติจากบันทึกที่ได้จากการสังเกตว่าได้ผลเป็นอย่างไร มีปัญหาหรือข้อขัดแย้งอย่างไร เพื่อเป็นพื้นฐาน   การวางแผนในวงจรต่อไป

                                     ดังนั้นองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการวิจัยปฏิบัติการวิจัย จึงประกอบด้วยจุดสำคัญทั้ง 4 จุดดังที่กล่าวมาคือ การวางแผน (Planning) การปฏิบัติ (Action) การสังเกต(Observation) และการสะท้อนผล (Reflection) ซึ่งมีการเคลื่อนไหวลักษณะ “เกลียวสว่าน” ไปในทั้ง 4 จุด ไม่อยู่นิ่ง และไม่จบลงด้วยตัวเอง ดังภาพประกอบ  2

                                                                       Action Research

PLAN

REFLECT

OBSERVATION

ACTION

RE-PLAN

RE-REFLECT

RE-OBSERVATION

RE-ACTION

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                   ภาพประกอบ  2  กระบวนการวิจัยปฏิบัติการตามแนวคิดของ Kemmis และ McTaggart

(ที่มา : Kemmis and McTaggart. 1988)

 

                         จากภาพปรัชญาแนวคิดของ Kemmis และ McTaggart ในแต่ละวงจรประกอบด้วย 4 ขั้นตอน เพื่อนำไปปฏิบัติในวงจรต่อไปจนกว่าจะได้รูปแบบของการปฏิบัติงานที่เป็นที่พึงพอใจ ดังนี้

                                      1. การวางแผน (Planning) เริ่มต้นด้วยสำรวจปัญหาร่วมกันระหว่างบุคคลภายในโรงเรียน เพื่อให้ได้ปัญหาที่สำคัญที่ต้องการให้แก้ไขตลอดจนการแยกแยะรายละเอียดของปัญหานั้นเกี่ยวกับลักษณะของปัญหาเกี่ยวข้องกับใคร แนวทางแก้ไขอย่างไร และจะต้องปฏิบัติอย่างไร

                                       2.  การปฏิบัติ (Action) เป็นการนำแนวคิดที่กำหนดเป็นกิจกรรมในขั้นวางแผนมาดำเนินการ โดยการวิเคราะห์วิจารณ์ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นร่วมกันของทีมงาน  ประกอบไปด้วยเพื่อทำการแก้ไขปรับปรุงแผน  ฉะนั้นแผนที่กำหนดควรจะมีความยืดหยุ่นปรับได้

                                       3.  การสังเกต(Observation)เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นด้วยความรอบคอบซึ่งอาจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งที่คาดหวังและไม่คาดหวัง โดยอาศัยเครื่องมือการเก็บข้อมูลเข้าช่วย

                                4.  การสะท้อนผล (Reflection) เป็นขั้นสุดท้ายของวงจรการทำงานวิจัย

ปฏิบัติการ คือ การประเมินหรือตรวจสอบกระบวนการแก้ปัญหา  หรือสิ่งที่เป็นข้อกำจัดที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติการ  ผู้วิจัยร่วมกันกลุ่มผู้เกี่ยวข้องจะต้องตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นในแง่มุมต่างๆที่สัมพันธ์กับสภาพของสังคมและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน  และของระบบการศึกษาที่ประกอบการอยู่  โดยผ่านการถกอภิปรายปัญหา  การประเมินโดยกลุ่มจะทำให้ได้แนวทางของการพัฒนาขึ้นตอนการดำเนินกิจกรรม  และเป็นพื้นฐานข้อมูลที่นำไปสู่การปรับปรุงและการวางแผนการปฏิบัติต่อไป

                         ดังนั้น หลักการสำคัญของการวิจัยปฏิบัติการที่ต้องตระหนักอยู่เสมอ คือกลุ่มบุคคล              ที่เกี่ยวข้องมีความสำคัญต่อกระบวนการดำเนินการวิจัย  นั่นคือ การวิจัยชนิดนี้ไม่ควรจะทำตามลำพังและควรใช้วงจรของกระบวนการวิจัยซึ่งประกอบด้วย  การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต  และการสะท้อนผล  เพื่อนำมาปรับปรุงแผนงาน  แล้วดำเนินกิจกรรมที่ปรับปรุงใหม่ซึ่งวงจรของ   4 ขั้นตอนดังกล่าว  จะมีลักษณะการดำเนินการเป็นบันไดเวียน (Spiral) กระทำซ้ำตามวงจนกว่า    จะได้ผลการปฏิบัติการตามจุดมุ่งหมาย 

                         สรุปหลักการสำคัญของการวิจัยปฏิบัติการ  ได้ดังนี้

                                1.  การวิจัยปฏิบัติการเป็นความพยายามที่จะปรับปรุงการศึกษาโดยการเปลี่ยนแปลง  การศึกษานั้นและการเรียนรู้ลำดับขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลงนั้น

                         2.  การวิจัยปฏิบัติการเป็นการทำงานของกลุ่ม  และให้การปรึกษาหารือ

เหมือนกันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยการฝึกปฏิบัติตามแนวทางที่กลุ่มกำหนด

                    3.  การวิจัยปฏิบัติการ โดยประเมินตรวจสอบในทุก ๆ ตอน เพื่อปรับปรุงฝึก  หรือ

การปฏิบัติให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมาย

  1. การวิจัยปฏิบัติการเป็นกระบวนการเรียนอย่างมีระบบ โดยบุคคลที่เกี่ยวข้อง 

นำความคิดเชิงนามธรรมมาสร้างเป็นข้อมูลสมมติฐานทดลองฝึกปฏิบัติและประเมินผลการปฏิบัติ  ซึ่งเป็นการทดสอบ  ว่าข้อสมมติฐานของแนวคิดนั้นผิดหรือถูก

  1. การวิจัยปฏิบัติการเริ่มต้นจากจุดเล็กๆ อาจจะเริ่มต้นจากบุคคล (ครู / นักวิจัย)

คนเดียวที่พยายามดำเนินการให้มีการเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงบางสิ่งบางอย่างทางการศึกษา

  1. การวิจัยปฏิบัติการเป็นการสร้างความรู้ใหม่ที่ให้แนวทางปฏิบัติเป็นรูปธรรม

จากการบันทึก  พัฒนาการของกิจกรรมที่เปลี่ยนแปลง  ทำให้เห็นกระบวนการเข้าสู่ปัญหา          การแก้ปัญหา  การปรับปรุงและได้ผลสรุปที่สมเหตุสมผล ในขณะเดียวกันสามารถนำปรากฏการณ์ที่ศึกษามาประมวลเป็นข้อเสนอเชิงทฤษฏี  ได้แนวทางการวิจัยปฏิบัติการ  เมื่อนำไปใช้ในการวิจัยเพื่อการแก้ปัญหาการปฏิบัติงานโดยผู้ปฏิบัติงานเป็นผู้เรียนรู้และวิเคราะห์วิจารณ์  จากผลที่ได้จากการปฏิบัติ  จะทำให้รูปแบบการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการปฏิบัติงานเหมาะสมกับสถานการณ์ของหน่วยงานได้

                     จึงเห็นได้ว่า และวงจรการวิจัยปฏิบัติการรูปแบบ PAOR จึงเป็นการวิจัยปฏิบัติการวงจรหนึ่งที่มีขั้นตอนชัดเจน สามารถนำไปปฏิบัติได้โดยง่ายและมีการสะท้อนผลการปฏิบัติค่อนข้างชัดเจน เหมาะที่จะนำมาใช้ในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และสถานศึกษาสามารถส่งเสริมกระบวนการปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

อ้างอิง

 

ประวิต  เอราวรรณ์.  การวิจัยปฏิบัติการ.  กรุงเทพฯ  :  ยู  แพค  อินเตอร์,  2545. 

สุวิมล  ว่องวานิช. การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน  Classroom Actjon Research..  พิมพ์ครั้งที่  3. 

กรุงเทพฯ  :  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,  2544.

Kemmis, S. and R. McTaggart.  The Action Research Planner.  3rd ed.           Victoria  :  DeakinUniversity Press,  1988.

 

หมายเลขบันทึก: 348327เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2010 18:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท