โครงการและการประเมินผล


โครงการและการประเมินผล

โครงการและการประเมินผล        ทำไมต้องมีโครงการและทำไมต้องประเมินโครงการ ในแต่ละปีงบประมาณหน่วยงานราชการไม่ว่าจะเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือสถานศึกษาจะได้รับจัดสรรงบประมาณ ทั้งงบประจำและงบพัฒนา จึงต้องมีโครงการกิจกรรมมารองรับเพื่อดำเนินการไปตามวัตถุประสงค์นั้น ๆ ซึ่งที่มาของโครงการก็ได้จากการวิเคราะห์บริบทของหน่วยงานว่ามีจุดอ่อนอะไรที่ต้องแก้ไข ปรับปรุงและมีจุดแข็งอะไรที่สามารถนำมาพัฒนาส่งเสริมให้ถึงจุดสูงสุด พร้อมทั้งนำนโยบาย จุดเน้น ของกระทรวง กรม และผลการประเมินในรอบปีที่ผ่านมา    มาทบทวนและกำหนดเป็นโครงการ แต่ก็ยังมีอยู่บ้างที่ละเลยไม่ให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์บริบทและนำผลการประเมินมาใช้ ซึ่งตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก เหตุผลอาจเป็นเพราะความเคยชิน นำโครงการเก่ามาแก้รายละเอียดเพียงเล็กน้อยก็คิดว่าใช้ได้แล้ว การพัฒนาการศึกษาก็เลยผิดทิศทาง เพราะการกำหนดโครงการไม่ใช้เอางบประมาณมาเป็นตัวตั้ง แต่ต้องกำหนดโครงการก่อนว่าจะทำอะไร พัฒนาอย่างไร แล้วค่อยมาดูงบประมาณว่าสามารถทำได้มากน้อยเพียงใด รวมทั้งปัจจัยอื่น ๆ ด้วย เมื่อได้โครงการหลาย ๆ โครงการมาบรรจุรวมกันก็เรียกว่าแผนปฏิบัติราชการประจำปี  ในส่วนรายละเอียดของโครงการก็ประกอบด้วยส่วนหัว ซึ่งบอกตั้งแต่ชื่อโครงการ ผู้รับผิดชอบ และรายละเอียดอื่น ๆ ส่วนที่ 2 ประกอบด้วยหลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ เป้าหมาย กิจกรรม/งบประมาณ/ปฏิทินปฏิบัติงาน การประเมินผล และสุดท้ายคือผลที่คาดว่าจะได้รับ ที่สำคัญที่สุดก็คือตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ บอกว่าทำไปแล้วจะได้อะไร เท่าไหร่ ทั้งปริมาณและคุณภาพนั่นเอง เพราะฉะนั้นจึงต้องมีการประเมินโครงการเพื่อให้ทราบว่างานที่ทำไปแล้วได้ผลมากน้อยเพียงใด มีปัญหาอุปสรรคอะไรบ้าง โดยนำศาสตร์และทฤษฎีมาใช้ ส่วนใหญ่ที่นิยมใช้กันมากคือทฤษฎีของ Stufflebeam เรียกว่า CIPP Model คือ ประเมินด้านสภาพแวดล้อม (Context) เป็นการประเมินความเหมาะสมของสภาพแวดล้อมโดยศึกษาจากการดำเนินงานทั้งระบบ ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) เป็นการประเมินความเพียงพอของทรัพยากร ด้านกระบวนการ (Process) เป็นการประเมินกระบวนการดำเนินงานของโครงการ และด้านผลิต (Product) เป็นการประเมินผลผลิตที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน ซึ่งพอสรุปได้ว่าการประเมินโครงการ หมายถึง การใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาตัดสินคุณค่า ความเหมาะสม ความคุ้มค่าของโครงการเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ สามารถใช้เป็นข้อมูลในการตัดสิน พิจารณาหาทางเลือกของการดำเนินงานและข้อเสนอแนะสำหรับการดำเนินงานครั้งต่อไป (ติดตามวิธีการประเมินโครงการอย่างละเอียดในตอนต่อไป)      

การประเมินโครงการ        

ประโยชน์ของการประเมินโครงการ

1.     ทำให้มีการกำหนดวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานที่ชัดเจน

2.     ทำให้มีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์เต็มที่และคุ้มค่า

3.      ทำให้แผนงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ คือ เริ่มจากการวางแผนดำเนินการตามแผนและประเมินผล

4.      ทำ ให้เกิดการควบคุมคุณภาพของงาน วิเคราะห์ทุกส่วนของโครงการเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา

5.      เพื่อทราบปัญหาอุปสรรค ข้อดี ข้อเสีย ตลอดจนแนวทางการปรับปรุงแก้ไขเพื่อผู้บริหารจะได้มีข้อมูลประกอบในการตัดสินใจว่าจะดำเนินการต่อหรือยุติโครงการ         

ขั้นตอนการประเมินแบ่งเป็น 4 ประเภท          

1.    การประเมินก่อนดำเนินการ  จุดมุ่งหมายจะวิเคราะห์ข้อมูลก่อนคือสำรวจความต้องการ   และศึกษาหาความเป็นไปได้  (Feasibility)  คือ พิจารณาสภาพความพร้อมในการดำเนินโครงการ   

2.   ประเมินระหว่างดำเนินการ  เพื่อศึกษาหาความก้าวหน้าของโครงการเพื่อทราบปัญหาอุปสรรคแต่ละช่วงและนำข้อมูลมาปรับปรุง  

3.       การประเมินเสร็จสิ้นโครงการ  เพื่อดูว่าบรรลุวัตถุประสงค์เป้าหมายมากน้อยเพียงใด เน้นผลที่เกิดจากโครงการ 

4.       การประเมินหลังเสร็จสิ้นโครงการ  คือ การติดตามงานเป็นขั้นสุดท้ายของการประเมิน ดูสภาพความสำเร็จ ความล้มเหลวของโครงการ ผลที่เกิดจากโครงการ 

                กระบวนการประเมินโครงการ

1.  หลักการเหตุผลและความสำคัญของการประเมินโครงการ เพราะอะไร ทำไมถึงประเมินโครงการนี้     

2.   กำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน เพื่อทราบว่าโครงการบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่   มีปัญหา อุปสรรค ข้อดี ข้อเสียอะไร     

3.    วิเคราะห์ทุกส่วนของโครงการ เช่น วัตถุประสงค์   ผู้ที่เกี่ยวข้อง  ภาพรวมความสำเร็จ  ความคุ้มค่า   

 4.      การออกแบบการประเมิน จะใช้รูปแบบการประเมินใดที่เหมาะสม เช่น รูปแบบของ Tyler  เหมาะสำหรับเรื่องการเรียนการสอน วัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา  รูปแบบของ  CIPP  เหมาะสำหรับการใช้ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจยุติ/ขยายโครงการ และหาข้อบกพร่องของโครงการ     

5.     การเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การเก็บจากแบบสอบถาม แบบสังเกต  แบบทดสอบ แบบสัมภาษณ์แล้วแต่กรณี     

6.    การวิเคราะห์ข้อมูล คือ การนำข้อมูลที่เก็บได้มาทำการวิเคราะห์ โดยอาศัยค่าทางสถิติ ไม่ว่าจะเป็นค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย    และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หรือค่าอื่น ๆ      

7.     การเขียนรายงานการประเมินโครงการ ส่วนประกอบด้วย   5   บท                               

 บทที่ 1  บทนำ  ประกอบด้วย ความเป็นมาของโครงการ  ความสำคัญของการประเมิน    ชนิดของการประเมินและประเด็นในการประเมิน                               

บทที่  2  งานประเมินและเอกสารที่เกี่ยวข้อง                           

บทที่ 3  วิธีดำเนินการประเมิน ประกอบด้วย ลักษณะของประชากร วิธีการสุ่มตัวอย่าง การได้มาของกลุ่มตัวอย่าง แบบแผนที่ใช้ในการประเมิน การเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล                               

บทที่  4  การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล เกิดอะไรขึ้น ค้นพบอะไรในการประเมิน จะนำเสนอในรูปของตารางหรือแผนภูมิ                               

บทที่  5  สรุป  อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ                                

ข้อเสนอแนะ  คือ  ข้อที่ค้นพบที่เป็นจุดด้อยของการประเมินโครงการนั้น ๆ เพื่อจะได้นำมาพัฒนาปรับปรุง แก้ไขโครงการให้ดียิ่งขึ้น 

 

หมายเลขบันทึก: 34800เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2006 15:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ต้อง

การความ

หมายของการ

ประเมินผลความ

รอบ

รู้มีป่ะถาม

ความหมายไปใหนอ๊ะ

อยากจะรู้จัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท