เครื่องรับวิทยุ AM 7 ทรานซิสเตอร์


ทดลองสร้างเครื่องรับวิทยุ AM 7 ทรานซิสเตอร์

วงจรที่จะนำมาทดลองเล่นกันวันนี้เป็นชุดคิตเครื่องรับวิทยุ AM แบบ 7 ทรานซิสเตอร์ ของ Future kit (ราคา 360 บาท) ซึ่งหาชื้อได้ ตามร้านขายอะไหล่อิเล็กทรอนิกส์ ทั่วไป

เครื่องรับวิทยุ AM 7 ทรานซิสเตอร์

เครื่องรับวิทยุ AM 7 ทรานซิสเตอร์

สำหรับการประกอบนั้น ก็ให้เริ่มจากการใส่อุปกรณ์ ที่มีความสูงน้อย ๆ ไปหาตัวที่มีความสูงมาก เพื่อความสะดวกในการประกอบ และขอให้สังเกตเรื่อง เบอร์และ การวางขาของทรานซิสเตอร์ด้วย ในที่นี้จะใช้ทรานซิสเตอร์ 3 เบอร์ด้วยกัน คือ 2SC3194 , 2SC9012 ,2SC9013

เครื่องรับวิทยุ AM 7 ทรานซิสเตอร์

ภาพ เมื่อประกอบเสร็จ

วงจร Front - End สำหรับเครื่องรับชุดนี้จะใช้ ทรานซิสเตอร์ตัวเดียว  ทำหน้าที่ครบทุกอย่างคือ RF AMP ,MIXER และ LOCAL OSCILLATOR

รายละเอียดของวงจร เริ่มจากวงจร Front - End สำหรับเครื่องรับชุดนี้จะใช้ ทรานซิสเตอร์ตัวเดียว ทำหน้าที่ครบทุกอย่างคือ RF AMP ,MIXER และ LOCAL OSCILLATOR

รูปแสดง Q 1 ทำหน้าที่ในภาครับ RF AMP ,MIXER และ LOCAL OSCILLATOR

รูปแสดง Q 1 ทำหน้าที่ในภาครับ RF AMP ,MIXER และ LOCAL OSCILLATOR

ความถี่ที่ได้จากการ Mixer จะมีหลายความถี่ แต่ที่ต้องการคือความถี่ IF ที่มีค่าเท่ากับ 455 KHz สัญญาณนี้จะผ่านออกมาทางหม้อแปลง IF1

Q 2 และ Q3 ทำหน้าที่ ขยาย IF ถ้าสังเกตจะเห็นว่า วงจรของทรานซิสเตอร์ทั้งสองชุด จะคล้ายกัน การขยาย IF หลาย ๆ ครั้ง จะทำให้ได้สัญญาณที่ดีกว่า

รูปแสดง Q 2 และ Q3 ทำหน้าที่ ขยาย IF

รูปแสดง Q 2 และ Q3 ทำหน้าที่ ขยาย IF

IF transformer สังเกตว่าภายในจะมี Embeded Capacitor อยู่ด้วย

วงจร Detector วงจรนี้จะทำหน้าที่แยกสัญญาณเสียงออกมาจากคลื่นพาห์ (radio carrier) กระบวนการนี้เรียกว่า demodulation วงจร Detector จะอยู่หลังจากวงจรขยาย IF และก่อนหน้าวงจรขยาย AF ทั้งในระบบ AM และ FM

วงจร AGC (automatic gain control) ทำหน้าที่ ควบคุมอัตราการขยายของวงจรให้คงที่ ถ้าสัญญาณที่รับได้มีความแรงน้อย วงจร AGC จะเพิ่มอัตราการขยายให้มากขึ้น ในทางกลับกัน ถ้าสัญญาณที่รับได้มีความแรงสูง วงจรนี้ก็จะลดอัตราการขยายลง ทำให้สัญญาณที่รับได้ มีความแรงใกล้เคียงกันตลอด (สำหรับวิทยุสื่อสารย่าน HF บางรุ่นจะสามารถเปิด - ปิดระบบนี้ได้)

วงจร AGC ในเครื่องรับชุดนี้จะไปควบคุม อัตราการขยายของ Q2 เป็นหลัก แต่สำหรับ เครื่องรับที่มีคุณภาพสูง จะมีการควรคุมอัตราการขยายที่ภาค RF AMP ด้วยดังรูปด้านล่าง

ภาคขยาย AF หรือ ภาคขยายเสียง โดยปกติเครื่องรับวิทยุ แบบนี้จะใช้ภาคขยายเสียงแบบง่าย ๆ อาจจะเป็นทรานซิสเตอร์ หรือ IC ก็ได้ มีกำลังการขยายไม่มากนัก

รูปแสดง วงจร Detector (ซ้าย) วงจรขยาย AF หรือ ภาคขยายเสียง (ขวา)

รูปแสดง วงจร Detector (ซ้าย) วงจรขยาย AF หรือ ภาคขยายเสียง (ขวา)

ทดลองรับสัญญาณ

Link :: http://hs8jyx.com/html/am_7tr_receiver.html

คำสำคัญ (Tags): #am radio#วิทยุเอเอ็ม
หมายเลขบันทึก: 347438เขียนเมื่อ 26 มีนาคม 2010 22:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 16:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท