บิดาแห่งนักกฎหมายไทย


การนับถือคนนั้นเราต้องนับถือที่คุณธรรม และนำเอาสิ่งดีๆในตัวผู้อื่นที่เรานับถือมาทำให้เกิดขึ้นในตัวเราเอง

จากที่ลูกศิษย์ผมเค้าถามว่า อาจารย์คิดอย่างไรกับการที่มีข้อมูลกล่าวว่า บิดาของนักกฎหมายไทยที่แท้จริง คือ มร. โรลัง ยัคมิน(บางคนออกเสียงเป็นจักแมง :จะถาม เพื่อนชาวเบลเยี่ยมที่นี่ให้ว่าต้องออกเสียงอย่างไรถึงจะถูก)

คำตอบคือสิ่งที่ผมคิดคือว่าใครมีคุณูปการณ์ต่อชาติเราก็นับถือครับ แต่ไม่ได้ไปยึดติดว่าเค้าเป็นเทวดา...

ไม่ได้ตอบกวนประสาทนะครับ คนเราเดี๋ยวนี้ชอบยึดติด พอไปคิดว่าความเห็นไหนที่เราคิดว่าก็ ก็หวงไว้ว่ามันถูก ของข้าถูก ของคนอื่นผิดหมด
ที่จริงศาสนาพุทธเราก็สอนให้คิดทุกอย่างอย่างเปนเหตุเปนผล ไม่ได้ เชื่อตามกันมา หรือเพราะครูอาจารย์สอน(ดูกาลามสูตร) มีคำถามกลับว่า แล้วถ้าพระอองค์เจ้ารพีฯไม่ใช่ บิดาแห่งนักกฎหมายไทย แล้วจะเกิดอะไรขึ้น นักกฎหมายไทยจะสูญพันธ์? หรือบ้านเมืองจะอยู่ไม่ได้?  คงไม่ใช่นะครับ...
ส่วนนักกฎหมายรุ่นเก่าท่านนับถือพระองค์เจ้ารพี เพราะเป็นศิษย์ อาจารย์กันมาก็แล้ว แต่ท่าน คงเป็นความเห็นส่วนบุคคลที่ผมไม่อาจจะก้าวล่วงได้

ผมมีข้อคิดเกี่ยวกับการนับถือ คนไว้อย่างครับว่าถ้าเรานับถือใคร ก็ต้องนำส่วนที่ดี(เฉพาะส่วนดีๆ) ของคนคนนั้นมาประพฤติให้บังเกิดขึ้นในตัวเราให้ได้ครับ ถึงจะได้ชื่อว่าเคารพจริงๆ

ผมเคยได้ยินมาว่าพระองค์เจ้ารพีท่านมีคุณต่อวงการกฎหมายไทยเพราะท่านเป็ฯครูอาจารย์รุ่นแรก และท่านตั้งใจทำงานมาก ถึงกับพูดว่า "My Life is service" และให้แนวทางการทำงานของนักกฎหมายไทย ที่นิสิตนักศึกษาหลายคนเอาไปเป็นสโลกแกนว่า

"เองกินเหล้าเมายาไม่ว่าหรอก

แต่อย่าออกนอกทางไปให้เสียผล

เองอย่ากินสินบาทคาดสินบน

เรามันชนชั้นปัญญา'ตุลาการ' "

ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีครับ แต่ไม่ทราบว่าเพราะเหตุนี้หรือเปล่านักกฎหมายเราเลยชอบก๊งเหล้ากันใหญ่ ๕๕๕ แต่อย่าลืมนะครับ ต้องไม่ให้เสียผลด้วย

(ลูกศิษย์ผม สองสามคนก็เสียชีวิตไปเพราะอุบัติเหตุจากการเมาสุรา และขี่จักรยานยนต์ เพราะความประมาทแท้ๆ)

ย้อนกลับมาเรื่องพระองค์ท่านต่อ คือ ในส่วนตัวผม ไม่ว่าท่านพระยาอภัยราชา(มร. โรแลง ยัคมิน)  จะเป็นผู้เสนอให้ตั้งโรงเรียนสอนกฎหมย และปฏิรูปการศาล และทำประมวลก็ตาม ผลก็ไม่ต่างกัน  เพราะคนที่ตัดสินใจทำจริงๆ คือสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่๕ ของพวกเรา ว่าที่จริง ผมว่าผมอยากจะนับถือพระองค์ท่านว่าเป็นบิดาแห่งสยามประเทศยุคใหม่ และบิดาแห่งการปฏิรูป อะไร หลายๆ อย่างด้วยซ้ำไปครับ  แต่ทุกๆ อย่างมีเหรีนญสองด้านครับ

มีบวกก็ต้องมีลบ พระองค์เจ้ารพีท่านสำเร็จการศึกษามาจากประเทศอังกฤษ ท่านก็อยากเห็นคนไทย เคารพกฎหมายแบบอังกฤษ และมีกระบวนการอย่างที่ท่านเรียนมา เหมือนนักวิชาการไทย หลายๆ คนนะครับที่อยากสร้างฝันให้เป็ฯจริง ทีนี้พอเสด็จพระพุทธเจ้าหลวงท่านทรงตัดสินพระทัยว่า จะเลือกปฏิรูประบบกฎหมายไทยให้เปนแบบประมวลธรรม หรือCode law พระองค์เจ้ารพีท่านก็คง ไม่พอพระทัย หลายครั้งก็มีหลักฐานว่าท่านทรง ไม่เข้าร่วมคณะกรรมการชำระแก้ไขประมวลกฎหมาย นั้นก็อาจจะเป็นสิทธิของท่าน ภายหลัท่านก็ขอถอนตัวออกมา...

ใครจะมองเรื่องนี้อย่างไรก็ตาม แต่ ในตอนที่ท่านอยู่ในตำแหน่งท่านก็ปฏิรูประบบการศาลไทยเต็มที่ให้ทันสมัย และพยายามสอนลูกศิษย์ให้เป็นนักกฎหมายที่ดีของบ้านเมือง สิ่งนี้ต่างหากครับที่ผมว่าเปนสาระสำคัญ คือ คนเราไม่สำคัญว่าเป็นอะไร อยู่ในตำแหน่งไหน ขอเพียงเราทำหน้าที่ของเรา ให้ดีที่สุดก็พอ

ผมยังจำได้ครับว่าที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ของพวกเรามีคุณแม่บ้านสองคนที่ดีมากๆ ตือ พี่เพย กับพี่อร ท่านทั้งสองทำงานเรียบร้อย และทำงานด้วยใจ เป็นที่ชื่นชมของ แขกของคณะและครูอาจารย์ทั้งหลาย  อีกคนหนึ่งที่หวังว่านิสิตคงจำได้ 'ลุงหน่อง' ซึ่งเคยเป็น คนจัดสวนให้กับคณะ(ปัจจุบันเกษียรไปแล้ว) ทั้งสามท่านนี้ทำงานตัวเองอย่างดี ไม่มีใครว่าอะไรได้ มีแต่คำชม ไม่มีนอกไม่มีในอะไร มีแต่ความโปร่งใส พอไหมครับ ผมว่าพอแล้วนะ

คนเราไม่สำคัญว่าอยู่ที่ตำแหน่งอะไร แต่สำคัญว่าได้ทำงานตัวเองดีที่สุดหรือยัง ถ้าดีแล้วก็ใช้ได้

ผมว่าสิ่งหนึ่งที่ถ้าพระองค์ท่านอยู่คงจะปรารถนาเห็นสังคมไทยเป็นสังคมที่มีนักกฎหมายที่ดี และมีกระบวนการบังคับใช้กฎหมายโดยไม่มีการเลือกปฏิบัตินะครับ เพราะให้สังคมของเราเป็นสังคมนิติรัฐอย่างแท้จริง

ถ้ารักและเคารพบิดาของกฎหมายไทยทั้งสองท่านจริงๆ ต้องช่วยกันนะครับ เป็ฯคนดีให้สังคม เพื่อให้บ้านของพวกเราเป็นสังคมที่ดี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 347292เขียนเมื่อ 26 มีนาคม 2010 12:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 14:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท