คำซ้อนกับคำประสม


     คำซ้อนไม่ใช่คำประสม  คำซ้อน(บางทีเรียกคำคู่) คือคำที่มีคำเดี่ยว ๒คำมีความหมายหรือเสียงคล้ายกัน ใกล้เคียงกัน หรือเป็นไปในทำนองเดียวกัน ซ้อนเข้าคู่กัน เมื่อซ้อนแล้วจะมีความหมายใหม่เกิดขึ้น   บางคำอาจจะมีความหมายแปลกออกไปไม่มากนัก แต่ต้องมีความหมายและใช้ต่างออกไปบ้าง  

      มีคำซ้อนบางคำเกิดจาก คำตรงกันข้าม  เช่น ผัวเมีย    เท็จจริง

     คำซ้อน มี ๒ ประเภท

     ๑. คำซ้อนเพื่อความหมาย

     ๒. คำซ้อนเพื่อเสียง

 

     ทั้งซ้อนเพื่อความหมายและซ้อนเพื่อเสียง ต่างมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้คำใหม่ ได้ความหมายใหม่

       คำซ้อนเพื่อความหมาย มุ่งที่ความหมายเป็นสำคัญ

       คำซ้อนเพื่อเสียง  มุ่งที่เสียงเป็นสำคัญ

        

         คำซ้อนกับคำประสม  คล้ายแต่ไม่ใช่

              คำซ้อน                             คำประสม

               หน้าตา                               หน้าที่

              ตกหล่น                               ตกลง

              พ่อแม่                                 พ่อตา

             ได้เสีย                                 ได้ยิน

 

        

           คำซ้อนที่สับลำดับแล้วความหมายคงเดิมหรือใกล้เคียงคำเดิมเช่น

  เกลือกกลิ้ง-กลิ้งเกลือก    เกรี้ยวกราด-กราดเกรี้ยว      เกลื่อกลาด-กลาดเกลื่อน

ขวยเขิน-เขินขวย             ขุ่นเคือง  -เคืองขุ่น              คล่องแคล่ว - แคล่วคล่อง

ชอกช้ำ - ช้ำชอก             ถามไถ่ -ไถ่ถาม                เปลี่ยนแปร   แปรเปลี่ยน

หวงห้าม-ห้ามหวง             เศร้าสร้อย -สร้อยเศร้า        เหงาหงอย  หงอยเหงา

หวงแหน-แหนหวง             เร่งรีบ รีบเร่ง                   สงบเงีย-เงียบสงบ

 

 

           คำซ้อนที่สับลำดับแล้ว ความหมายเปลี่ยนไปมาก

แน่นหนา   - แข็งแรง มั่นคง

หนาแน่น   - มาก 

รับรอง      - รับประกัน  ตอบรับ

รองรับ      - หนุนอยู่ข้างใต้

เหลวแหลก-ป่นปี้ ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน ใช้กับบุคคลได้

แหลกเหลว- ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน ไม่ใช้กับบุคคล

เยือกเย็น  - ใจหนักแน่น สุขม  ไม่ฉุนเฉียว

เย็นเยือก  - อาการเย็นวาบเข้าในหัวใจ

ชมเชย     - ยกย่อง สรรเสริญ

เชยชม     - จับต้องเล้าโลม กอดจูบ

ยิ้มแย้ม    - ยิ้มแย้มอย่างชื่นบาน

แย้มยิ้ม    - เผยอยิ้ม

 

 

คำซ้อนบางคำสับลำดับไม่ได้ เช่น  ขัดสี   คาดหมาย  จัดตั้ง  ใช้สอย  ซักถาม

ตื้นเขิน  ถูกต้อง ถ้วยชาม  บกพร่อง  ผ่องใส  เพื่อนฝูง

 

 

       กลุ่มคำซ้อนที่มีทั้งคำเป็นคำตาย   คำตายมักจะอยู่หน้าคำเป็นตามหลัง เช่น

      เก็บเกี่ยว   กอบกู้   เกียจคร้าน   กลับคืน ขัดแย้ง   ครอบคลุม   เจ็บป่วย  จัดตั้ง

      จิตใจ        โฉดเขลา  ฉุดคร่า    ซบเซา  ซักถาม  ซอกซอน  ดึกดื่น  โดดเดี่ยว

      เดือดร้อน  ตัดรอน  ตรวจค้น    ทับถม  ทอดทิ้ง    ทักท้วง  นอบน้อม  บิดเบือน 

       บดบัง    ปลอดโปร่ง  พาดพิง  พูดจา   ยึดเหนี่ยว ยึดมั่น  ยกยอ   แยกย้าย

      หยิบยื่น  หลุดลุ่ย   ลุกลาม  หอบหิ้ว  หวาดหวั่น   

 

 

 

          คำหน้าวรรณยุกต์เสียงอื่น   คำตามเสียงวรรณยุกต์สามัญ

      กล่อมเกลา ค่ำคืน   ค้างคา   เคล้าเคลีย    โง่งม 

      จ้างวาน   เชื้อเชิญ    ชื่นชม   ด่าทอ   ต้านทาน  

      แบ่งปัน    บ้านเรือน  เบี่ยงเบน   เพิ่มเติม   เพื่อนเกลอ  

      ฟื้นฟู   เหย้าเรือน   ใหญ่โต    เล่าเรียน   ไหว้วาน   อ้วนพี

     

 

        เสียงวรรณยุกต์อื่นนำ    ตามด้วยเสียงวรรณยุกต์จัตวา

        กล้าหาญ  เข้มแข็ง    แข่งขัน        ขุ่นหมอง  เคี่ยวเข็ญ

        เคร่งขรึม    ใช้สอย     เป้าหมาย    เผ่นโผน    แน่นเหนียว

        โล่งโถง     ส่งเสีย

 

       นอกจากข้อสังเกตที่กล่าวมา   ยังมีคำซ้อนที่ยกเว้นจากข้อสังเกตนี้ คือ คำเป็นนำคำตาย  เช่น   เคร่งเครียด  แบ่งแยก   ปูลาด   ยุ่งยาก  รุ่งโรจน์

          

        

ที่มา: หนังสืออุเทศภาษาไทย  ภาษาไทยน่าศึกษาหาคำตอบ

        สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา

        สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

        กระทรวงศึกษาธิการ

หมายเลขบันทึก: 347023เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2010 12:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ เจ้าของ [IP: 115.87.244.218]
หากบันทึกนี้เป็นประโยชน์ต่อคุณก็ดีใจด้วยค่ะ

สุดยอดมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท