รอบสาม สมศ.


ประเมินคุณภาพภายนอก

  หลายท่านบอกว่าให้ช่วยเขียนสรุปตัวบ่งชี้ สมศ. รอบสาม เพื่อจะได้เรียนรู้ร่วมกัน เลยจะกลับมาสรุปให้ฟังอีกรอบ

   ฉบับนี้จะเริ่มด้วยมาตรฐานคุณภาพบัณฑิต ซึ่งเป็นมาตรฐานที่สำคัญ และมีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด และน่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นปัญหามากด้วย ขอเริ่มสรุปเลย

ที่

ตัวบ่งชี้

กลุ่มสถาบัน

ข (๑)

๔๐%

ข (๒)

๓๐%

ค (๑)

๓๐%

ค (๒)

๔๐%

๓๐%

๑.๑

ร้อยละบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน ๑ ปี

๑๐

๑๐

๑๐

๑.๒

ร้อยละบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่สอบผ่านใบประกอบวิชาชีพในครั้งแรก

๑๕

๑๐

๒๐

๑.๓

ระดับคุณภาพของบัณฑิตปริญญาตรีตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่งชาติ

๑๕

๑๐

๑๐

๑๐

๑๐

๑.๔

ร้อยละวิทยานิพนธ์ที่มีการนำไปใช้ประโยชน์ (กลุ่ม ค๑)

-

-

(๑๐)

-

-

๑.๕**

ร้อยละวิทยานิพนธ์ปริญญาโทที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่มีคุณภาพ ระดับชาติหรือระดับนานาชาติ (กลุ่ม ง)

-

-

-

-

๑.๖**

ร้อยละวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่มีคุณภาพ ระดับนานาชาติ (กลุ่ม ค๑, ง)

-

-

(ถ้ามี)

-

    ตัวบ่งชี้ที่ใช้ในการวัดไม่ครอบคลุมทุกสถาบัน หรือ วัดผลงานเพียงบางส่วนของสถาบันการศึกษา เช่น

    ตัววัด 1.2 วัดเฉพาะบางสาขาที่มีการสอบผ่านใบประกอบวิชาชีพ เช่น สาขาวิศวะ สถาปัต พยาบาล บางสถาบันไม่มีการเรียนการสอน (แม้ว่าจะมีการนำค่าถ่วงนำหนักไปเกลี่ยที่ตัวบ่งชี้อื่นก็ตาม)

    ตัววัด 1.3 ไม่สามารถดำเนินการได้ในรอบนี้ อนึ่งตามข้อกำหนดของตัวบ่งชี้จะมีการสอบ Exit exam ซึ่งคิดว่าเป็นการทำงานที่ไม่ก่อให้เกิดคุณภาพ ควรใช้จำนวนรางวัลด้านวิชาการ (ตัวบ่งชี้เดิม) หรือ จำนวนนิสิตที่สอบผ่านเกณฑ์มาตรฐาน (นับเป็นจำนวนรางวัลแทน) และไม่นับซ้ำ (เพื่อดูว่าคุณภาพบัณฑิตเป็นไปตามเกณฑ์ที่พึงประสงค์ทุกคน ไม่ใช่บางคน)   

    ในรอบนี้ไม่มีตัววัดคุณภาพระดับบัณฑิตศึกษา แม้ว่ามีตัวบ่งชี้แต่วัดเฉพาะบางสถาบัน เช่น สถาบันที่เลือกกลุ่ม ง หรือ ค1 ส่งผลให้คุณภาพระดับบัณฑิตไม่ได้รับการประเมินอย่างทั่วถึง

    คุณภาพบัณฑิตระดับปริญญาตรี ควรนำอัตราเงินเดือนเฉลี่ยมาคิด ถ้าเกรงว่าบัณฑิตที่ทำงานต่างจังหวัดเงินเดือนจะตำกว่า ก็หาตัวมาปรับนำหนัก เช่น จำนวนสัดส่วน นศ. ที่ได้งานในเขตกรุงเทพ กับต่างจังหวัด และ ใช้อัตราค่าแรงขั้นตำมาปรับ

   สำหรับตัวที่ 1.4 ในทางปฏิบัติน่าจะทำได้ยาก และหลักสูตรที่เปิดแต่ไม่มีวิทยานิพนธ์ก็ควรมีการประเมิน

   สัดส่วนผลการดำเนินระหว่าง ป. ตรี และ บัณฑิตศึกษา ควรนำจำนวน FTES ของนักศึกษามาพิจารณาตามผลงานด้วย เช่น สอนบัณฑิตศึกษามา ผลงานระดับบัณฑิตศึกษาควรมีการถ่วงนำหนักให้มากขึ้น

 (รออ่านมาตรฐานงานวิจัย)

คำสำคัญ (Tags): #ประเมินภายนอก
หมายเลขบันทึก: 346962เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2010 08:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท