KM ที่เริ่มพัฒนาจากฐานเดิม


ที่สำคัญเราจะสามารถสร้างวัฒนธรรมการจัดการความรู้ที่เนียนเข้าไปในเนื้องานได้โดยปริยาย

KM ที่เนียนเข้าไปในชีวิตประจำวันซึ่งนั่นจะเนียนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมของงานน่าจะเป็นรางวัลสำหรับคนหน้างานที่ดำเนินการพัฒนางานตามหลักของการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

คนทุก ๆ คนมีพื้นฐานเหมือนกันคือเกลียดความลำบากและรักความสบาย ถ้าหาก KM ช่วยให้เขาสบายและคลายความลำบากได้ทุก ๆ คนจะรัก KM

ดังนั้นขั้นตอนแรกที่จะนำ KM เข้าไปใช้ในองค์กรควรจะเป็นการสร้างช่วงเวลาของการ “ดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ (Honey moon)” ที่ทำให้น้ำต้มผักที่ขม ๆ กลับกลายเป็นหวานได้
ช่วงเวลาใหม่ ๆ นี้จะต้องทำให้สร้างความประทับใจใน First Impression ด้วยการยกย่อง ชมเชย สิ่งต่าง ๆ ที่คนภายในได้กระทำอยู่แล้ว เข้าไปควานหาว่าอะไรพอที่จะเข้าตามหลัก ตามเกณฑ์ของ KM ได้ เราก็จะยกย่อง ชมเชยเขาให้ตัวลอย

ซึ่งแน่นอนว่าวิธีการนี้เป็นวิธีการปกติไม่ว่าเราจะพบใคร หรือเข้าไปจัดกระบวนการในเวทีใด ๆ พบกันใหม่ ๆ ก็ต้องรู้จักชม รู้จักหยอดคำหวานกันไว้ก่อน
แต่สิ่งที่ทำนี้มิใช่จะเป็นการยกยอ ป้อปั้นกันแต่อย่างเดียว เพราะถ้าหากเราเริ่มต้นด้วยการบอกสิ่งที่ทำอยู่แล้วว่านี่ใช่ หรือใกล้เคียงกับ KM ก็เท่ากับว่าเรามีต้นทุนเดิมทั้งคน ทั้งงานที่จะสามารถสืบสานและต่อยอด KM ได้

ที่สำคัญเราจะสามารถสร้างวัฒนธรรมการจัดการความรู้ที่เนียนเข้าไปในเนื้องานได้โดยปริยาย เพราะถ้าหากเราไปเปิดฉากด้วยการจัดสัมมนาในห้องประชุมของบริษัทหรือมหาวิทยาลัย ก็จะทำให้ทุก ๆ คนเข้าใจว่าภาพลักษณ์ของ KM จะต้องมีจุดเกิดหรือกำเนิดในห้องประชุมนั้น และนั่นก็เท่ากับว่างานที่เขาทำอยู่เดิมที่ว่าเหนื่อยแล้ว ก็ยิ่งต้องเพิ่มด้วยงาน KM ที่ต้องเกิดจาก “ห้องประชุม” และรางวัลก็จะต้องได้รับจากที่ประชุมเท่านั้น

KM กับ R2R เป็นสิ่งที่ต้องมาคู่กัน เดินไปคู่กัน วิจัยในงานประจำแล้วก็ต้องใช้ KM ถอดความรู้ออกมา หรือสิ่งใดที่เขาได้ทดลองทำก่อนหน้าที่จะมีการตั้งชื่อหรูหราว่า R2R (Research to Routine) นั้น เราก็สามารถถอดความรู้ขึ้นมาใช้ได้โดยทันที

หรือถ้าเกิดองค์กรเราต้องการที่จะพัฒนาองค์กรโดยใช้ทฤษฎีใหม่ ที่ไม่จำเป็นจะต้องไปตั้งฝ่ายวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ให้เปลืองสะตุ้ง สะตังค์ ก็ใช้ R2R นั้นแทรกซึมเข้าไปพัฒนาที่หน้างาน

ก่อนทำ R2R เราก็ต้องจัดการความรู้ก่อนว่า ความรู้ใดที่มีหรือไม่มี (Learning Organization : ความรู้ที่มีและไม่มี) ความรู้ใดมีแล้วใช้ KM ได้เลย ความรู้ใดไม่มีนำ R2R เข้าไปเสริม จะเป็นการพัฒนาที่มีต้นทุนเดิมเป็นพื้นฐาน

การเริ่มต้นงานจากฐานเดิมจะทำให้เราสามารถมองงานเก่ากับ KM เชื่อมโยงกันอย่างเป็นรูปธรรม เพราะหลาย ๆ ครั้งเราจะพบว่า สิ่งที่เราทำเนี่ยแหละเป็น KM แต่เมื่อก่อนเราไม่ได้เรียกมันว่า KM ก็เท่านั้น อาทิเช่น การวิจัยในชั้นเรียน หรือการสรุปองค์ความรู้ของอาจารย์ที่ผ่านมาในการจัดกระบวนการเรียนการสอน หรือพนักงานในฝ่ายยานพาหนะ ประชุมเพื่อหาข้อมูลในเรื่องเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายและประสบการณ์ในการบำรุงรักษารถที่ซื้อมาเพื่อตัดสินใจว่ารถคันต่อไปจะซื้อหรือจะเช่าดี เป็นต้น
ตอนนี้เราเพียงนำสิ่งที่ทำอยู่แล้ว เป็นอยู่แล้ว เข้ามาตกแต่ง หรือเรียกชื่อเสียใหม่ว่า KM คนทำงานเดิมก็มีกำลังใจ คนทำงานใหม่ก็มีไฟที่จะพัฒนา

การให้รางวัลกับความสำเร็จของ KM ในส่วนงานย่อย ๆ นั้นจะเป็นบันไดสำคัญที่จะทำให้ผู้ทำงานมีกำลังจะที่จะก้าวไปสู่บันไดขั้นที่สูงขึ้น

หมายเลขบันทึก: 346750เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2010 12:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

*** ขอบคุณที่ช่วยเพิ่มพูนประสบการร์งาน KM

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท