การบริหารงานบุคคล


การบริหารงานบุคคล

การบริหารงานบุคคล 

    การบริหารบุคคลแนวใหม่   

             บทบาทของผู้รับผิดชอบการบริหารงานบุคคลจะต้องเป็นคนที่มีหู ตา กว้างขวางเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมต่างๆอย่างดี  และพร้อมที่จะใช้ข้อมูลต่างๆมาทำการตัดสินใจในการบริหารงานบุคคล   สำหรับการบริหารงานบุคคลแนวใหม่ให้ความสนใจในเรื่องระบบเปิด

และ ยอมรับบรรยากาศทางการเมืองด้วย โดยในระบบเปิดนี้ องค์การจะมีปฏิสัมพันธ์อย่างกว้างขวางกับสภาพแวดล้อมต่างๆเพื่อให้อยู่รอดและอยู่อย่างดี ซึ่งจำเป็นจะต้องปรับตัวเสมอ บทบาทของผู้รับผิดชอบการบริหารงานบุคคลแนวใหม่  ต้องเป็นนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีโลกทัศน์ที่กว้างและไกล

     การบริหารงานบุคคลที่มีประสิทธิภาพมีดังนี้

1. การบริหารงานบุคคลควรจะบูรณาการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ การบริหารรัฐกิจ

2. การบริหารงานบุคคลเป็นกิจกรรมที่ต้องปฏิบัติต่อเนื่อง

3. เป้าหมายที่สำคัญของการบริหารงานบุคคล คือ การให้ความสำคัญ เกี่ยวกับการจูงใจและคุณภาพชีวิตงาน ( quality of work life)

4. การบริหารงานบุคคลควรคำนึงถึงค่านิยมที่สำคัญ คือ ประสิทธิภาพ  ประสิทธิผล ประหยัด ความเสมอภาคทางสังคม การคำนึงถึง ผลประโยชน์ของส่วนรวม ความรับผิดชอบต่อสาธารณะ  ประชาธิปไตย และจริยธรรม

5. การบริหารงานบุคคลควรสอดคล้องกับนโยบายของรัฐแต่ละด้านที่สำคัญของประเทศ

6. การบริหารงานบุคคลควรจะให้ความสำคัญของการฝึกอบรม และการพัฒนา สมรรถภาพของข้าราชการให้มีความรู้ ทักษะ พฤติกรรม และค่านิยม ที่เอื้อต่อการปฏิบัติราชการ

      กระบวนการบริหารงานบุคคล

       กระบวนการจัดการงานบุคคล (Personnel Management Process) การจัดคน เข้าทำงาน (Staffing) อาจจำแนกได้เป็นงานสำคัญได้ 3 ด้าน คือ

1. การจัดหาบุคลากร เพื่อให้ได้คนดีมีคุณสมบัติเหมาะสมกับงาน

2. การพัฒนาบุคลากร เพื่อเสริมสร้างให้บุคลากรเป็นทรัพยากร  ที่มีคุณค่าต่อองค์กรมากยิ่งขึ้น

3. การบำรุงรักษาบุคลากร เพื่อรักษาสภาพให้บุคลากรมีความ

    พึงพอใจในงาน

        การคัดเลือก

วิธีการในการคัดเลือก ได้แก่ 1. การสอบแข่งขัน 2. การสอบคัดเลือก 3. การคัดเลือก

        การประเมินผลการปฏิบัติงาน

         คือ วิธีการที่ผู้บังคับบัญชาได้บันทึกและลงความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของคนงานในระยะเวลาที่กำหนด  นอกจากนี้   ยังหมายถึง กิจกรรมทางด้านการบริหารงานบุคคลที่เกี่ยวข้องกับวิธีการซึ่งหน่วยงานพยายามที่กำหนดให้ทราบแน่ชัดว่า บุคลากรของตนสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพดีมากน้อยเพียงใด

วัตถุประสงค์ของการประเมินผล

       เพื่อการบริหาร คือ การกำหนดความดีความชอบ การเพิ่มเงินเดือน การเลื่อนขั้น การโยกย้าย และการจัดระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล

       เพื่อการพัฒนาบุคลากร และการบำรุงรักษาบุคลากร

ความสำคัญของการประเมินผลปฏิบัติงานมีดังนี้

    

หมายเลขบันทึก: 345832เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2010 16:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

ขอบคุณครับ สำหรับความรู้ดี

ขอบคุณสำหรับความรู้ใหม่ค่ะ

ในอนาคตอันใกล้ ผู้บริหารคนนี้จะนำไปใช้ ขอบคุณค่ะพี่

อ่านแล้วก็ให้ข้อคิดที่ดีมากๆๆๆเลย เหมาะแก่การที่จะเรียนรู้

มีสาระดีน่าอ่านสำหรับผู้ที่สนใจ ดีมาก

ข้อมูลดีมากๆเลยขอบคุณจ้า

ต้องมีขวัญและกำลังใจในการทำงาน

มีเพื่อนร่วมงานที่ดี

จะมีความสุขในการทำงานใช่ไหมคะ

ข้อมูลดีมีประโยชน์มากครับ

จะนำไปใช้ในอนาคตนะคะ

จะนำไปใช้ค่ะ

ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ

บทความดีๆอย่งนี้จะนำไปปฏิบัติคับ

เป็นเนื้อหาข้อมูลที่ดีนะ แต่อยากรู้การนำขั้นตอนไปปฏิบัติจริงๆ แล้วทำให้เกิดคุณภาพทางการบริหารได้จริง ๆ

ใช่เลย แบบนี้แหละที่ต้องการ ต้องหาอะไรใหม่ๆมาบริหารบ้าง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท