รพ.หนองม่วง
รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง

โรคติดเชื้ออุบัติใหม่/อุบัติซ้ำ


โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ

โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ (Emerging infectious diseases - EID)

                ความหมาย  โรคติดเชื้อชนิดใหม่ๆ ที่ปรากฏมีรายงานผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นในระยะเวลาประมาณ 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา  หรือ โรคติดเชื้อที่มีแนวโน้มที่จะพบมากขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้

โรคติดเชื้ออุบัติซ้ำ (Re-emerging infectious diseases)

                ความหมาย โรคที่เคยระบาดในอดีตแล้วสงบ แต่กลับมาระบาดใหม่หรือที่เคยไวต่อปฏิชีวนะแล้วดื้อต่อยาต่างๆ เกิดการระบาดขึ้น

โรคติดเชื้ออุบัติใหม่/อุบัติซ้ำ มีลักษณะ

  1. โรคในกลุ่มโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และโรคที่เคยอุบัติ เมื่อ 3 ทศวรรษที่ผ่านมา เกิดอุบัติซ้ำ
  2. โรคที่เกิดจากจุลชีพดื้อต่อยาปฏิชีวนะที่เคยไวมาก่อน
  3. โรคที่ติดต่อทางอาหารและน้ำ (Food and water borne diseases)
  4. โรคที่มีแมลงเป็นพาหะ (Vector borne diseases)
  5. โรคติดต่อจากสัตว์ไปยังคน (Zoonoses)

ปัจจัยการเกิดโรคอุบัติใหม่/อุบัติซ้ำ

  1. Changing in lifestyle and behavior

-       พ่อ แม่ ทำงานนอกบ้าน นำลูกไปฝากเลี้ยงสถานดูแลเด็ก เกิดการติดเชื้อจากเด็กอื่นๆได้ง่ายและเป็นจำนวนมาก เช่น Hand Foot mouth diseases

-            การรับประทานอาหารจานด่วน เช่น Hamburger  ทำให้เกิดการติดเชื้อจากเนื้อวัว

-            พฤติกรรมการเบี่ยงเบนทางเพศ เช่น Homosexual ทำให้ติดเชื้อ HIV

-            ระบบปรับอากาศ water-cool system เกิดการติดเชื้อ Pneumonia จากน้ำที่หล่อเย็น

-            การตั้งแคมพ์ในป่า ทำให้เกิดการติดเชื้อจากแมลง

  1. ระบบนิเวศน์ ถูกรบกวน

-            การใช้สารกำจัดศัตรูพืชมากเกินไป

-   การตัดไม้ทำลายป่า การปลูกป่าทดแทน ทำให้ระบบนิเวศน์เปลี่ยนแปลง เกิดแมลง สัตว์นำโรคเพิ่มขึ้น

-   การย้ายถิ่นฐานทำให้นำโรคเข้ามาด้วย เช่น การนำโรคเท้าช้าง มาลาเรีย จากผู้อพยพประเทศเพื่อนบ้าน

-            ภาวะโลกร้อน อากาศแปรปรวน การเกิดภัยธรรมชาติ

  1. ผลกระทบจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี

-   การกวาดล้างโรคต่างๆได้สำเร็จ ทำให้ธรรมชาติไม่มีเชื้อโรคที่กระตุ้นให้ร่างกายเกิดภูมิคุ้มกันตดเชื้อตามธรรมชาติ

-            การปลูกถ่ายอวัยวะ เกิดการติดเชื้อจากอวัยวะของผู้บริจาค

-            การใช้ยาปฏิชีวนะมาก ทำให้เกิดการดื้อยาหลายชนิด (multi drug resistance)

  1. Food production and process

-   การเลี้ยงสัตว์ในฟาร์มขนาดใหญ่ เกิดการระบาดของโรคในสัตว์ และนำมาสู่คน เช่นเชื้อวัวบ้า  ไข้สมองอักเสบจากหมู

-            การขนย้ายสัตว์ ทำให้โรคแพร่กระจาย

  1. การค้าระหว่างประเทศ (International trade)

-            การลักลอบค้าสัตว์ป่าระหว่างประเทศ ทำให้เชื้อที่ติดจากสัตว์แพร่กระจายไป

-            การค้ายางรถยนต์เก่า ทำให้เกิดการแพร่พันธุ์ของยุงลาย จากไข่ยุงที่ติดไปในยางรถยนต์

  1. การเดินทางไปในต่างแดน

-            เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรค หรือสัตว์พาหะที่ติดในตัวและสัมภาระของผู้เดินทาง

-   ผู้เดินทางร่างกายไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรค  เนื่องจากไม่ใช่โรคประจำถิ่นที่เคยอาศัย ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย

ผลกระทบของโรค

  1. โรคที่มีศักยภาพสูง จะสามารถแพร่ระบาดไปทั่วโลกได้   โดยเฉพาะโรคที่ระบาดในประเทศเพื่อนบ้านมีโอกาสที่จะแพร่ระบาดเข้ามาในประเทศไทยได้
  2. โรคที่มีอยู่ประจำถิ่นเดิม อาจระบาดได้เป็นครั้งคราวเมื่อมีโอกาสอำนวย หรือมีการระบาดต่อเนื่อง  
  3. การก่อการร้ายสากล โดยใช้อาวุธชีวภาพ (bioterrorism)

 

โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ในรอบทศวรรษ

  1. HIV
  2. Lyssa bat virus & Equine Morbillivirus
  3. Ebola & Reston strain
  4. BSE & vCJD
  5. Hand foot and Mouth diseases (E71)
  6. Monkeypox
  7. Nipah virus encephalitis
  8. West Nile virus
  9. Severe Acute Respiratory Syndrome (SARS)
  10. Avian Flu

Bioterrorism & Bio weapons

                กลุ่มอาการโรคจากอาวุธชีวภาพ

                1.         Respiratory Pathogens
                2.         GI Pathogens
                3.         Mucous Membrane Pathgens
                4.         Neurotoxin

เชื้อโรคที่อาจนำมาทำอาวุธชีวภาพ

1.         Small  pox
2.         Antrax
3.         Brucellosis
4.         Hanta & Other HF
5.         EHEC
6.         Chorela
7.         Plague
8.         Vibrio parahemolytic
9.         Q fever
10.      Ebola
11.      Lassa
12.      Marburg
13.      Microsporidium     & Giardia
14.      Botulism
15.      Melliodosis
16.      Animal flu & SARS

วัคซีนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009

Pandemic H1N1 Vaccine

  • ปัจจุบันมี ประมาณ 30 ชนิดที่กำลังทดสอบ (ข้อมูล ก.ย.2552)  มีวัคซีนประเภท

-         เชื้อเป็น   /    เชื้อตาย

-         ผลิตจากไข่   /    ผลิตจากเซลล์

-         Whole cell virus   /   Split vaccine

-          Adjuvanted  /  Non adjuvanted

  • ผลข้างเคียง ของวัคซีนเชื้อตาย

-         ไข้ พบประมาณ 10 % มักพบใน  6- 24 ชั่วโมงหลังฉีด

-       กลุ่มอาการ Guillian-Berre Syndrome  (GBS)  พบ  1 : 1,000,000

  • ข้อห้ามใช้ ของวัคซีนเชื้อตาย

-       มีประวัติการแพ้โปรตีนจากไก่และ/หรือไข่ชนิดรุนแรง  (Severe anaphylaxis )

  • ความปลอดภัยของ H1N1 Vaccine  จากข้อมูลของ California CDC ณ 3 ม.ค.53

-                    อัตราการเสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่ = 1:10,000

-                    อัตราการเสียชีวิตในผู้ที่ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ = 3:13,000.000

1 รายเสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ ร่วมกับการติดเชื้อ Streptococcal

1 รายเสียชีวิตจากภาวะโรคหัวใจและหลอดเลือด

1 รายอยู่ระหว่างการค้นหาสาเหตุ

หมายเลขบันทึก: 345267เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2010 14:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 23:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท