ข้อคิดจากการประชม "มิติสุขภาพ ด้านจิตปัญญา"


เมื่อวันที่ 9 มีนาคม ที่ผ่านมาผมได้เข้าร่วมประชุมโต๊ะกลมในหัวข้อ "ทำอย่างไรจึงจะพัฒนาสุขภาวะ มิติที่ 4 ด้านปัญญาแก่สังคมไทยได้" จัดขึ้นที่ สสส. โดยมี นพ. มงคล ณ สงขลาเป็นประธาน

เริ่มต้นจากการตีโจทย์ว่า "จิต" คืออะไร  ก็พบว่าแต่ละคนมีนิยามแตกต่างกันไป  ไม่แน่ใจว่าใครถูกกว่าใคร  ส่วนตัวผมเองคิดว่า "จิต" คือ "ความคิด" ของเรานั่นเอง ในตอนท้าย อ. หมอมงคลสรุปว่า "จิต" คือการรับรู้สิ่งที่มาสัมผัสจากภายนอก  "จิต" อาจแปลความหมายถูกหรือผิดก็ได้  และ "จิต" รับรู้ได้ทีละอย่างในเวลาเดียวกัน

การพัฒนา "จิต" ให้มีความสามารถรับรูอะไรๆ ได้ถูกต้อง ได้จะเป็นการนำไปสู่การเกิด "ปัญญา" และนำไปสู่ "สังคม" ที่ดี

แนวทางในการพัฒนา "จิต" มี 3 ขั้นตอนคือ

1. รักษาศีล

2. ฝึกสมาธิ

3. พัฒนาให้เกิดปัญญา

ผมจำได้ว่า หลักพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าสอนในวันมาฆบูชา มี 3 ข้อใหญ่คือ

ละเว้นความชั่ว

          หมั่นทำความดี

                       แล้วทำใจให้บริสุทธิ์

ซึ่งดูจะใกล้เคียงกัน  คือ เป้าหมายสูงสุดคือการมีใจบริสุทธิ์ ไม่ขุ่นหมองกับสิ่งกระทบใดๆ  แต่การจะไปถึงเป้านั้นได้  ต้องเริ่มจากการปลดสิ่งก่อกวนทั้งหลายในชีวิตของเราก่อน

อ. หมอมงคล แนะนำว่ากิจกรรมที่จะช่วยพัฒนา "จิต" ได้นั้น ก็น่าจะเป็นกิจกรรมที่

1. ส่งเสริม "ศีล" กำจัดกิเลส และกรรม เช่น โครงการที่ทำให้เกิดความเมตตา  ทำให้ผู้อื่นมีความสุข ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน

2. กำจัด "ฉันทาคติ 4" เช่น โครงการที่ทำให้เรามีใจมั่นคง  ไม่ลำเอียง  ไม่เป็นทาสของอารมณ์ เป็นต้น

บันทึกโดย ผศ. ดร. จรินทร์  ปภังกรกิจ

รองคณบดีฝ่ายแผนฯ

หมายเลขบันทึก: 345201เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2010 10:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 15:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ

เกี่ยวกับเรื่องนี้

เครือข่ายพุทธิกา ได้ดำเนินการอยู่บ้างครับ

ขอบคุณบันทึกดีๆนี้ค่ะ จิต หมายถึง ความคิด ที่ทำให้เกิด ปัญญา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท