กลอนไดอารี่ซึมซาบ ตอนที่ ๔ การใช้ภาษา(เพิ่มเติม)


ตอนที่ ๔ การใช้ภาษา(เพิ่มเติม)

            เมื่อสังเกตกลอนไดอารี่ในช่วงท้ายพบว่า  พระองค์ทรงสังเกตและระบุถ้อยคำที่ไม่ควรพูด  ซึ่งคำเหล่านั้นเจ้านายและขุนนางส่วนใหญ่นิยมใช้ โดยทรงแสดงความคิดเห็นเชิงลบกับคำเหล่านั้น  ดังกลอน

               ทุกวันนี้เจ้านายแลขุนนาง            ท่านพูดกันต่างต่างหลายประสา

       ไม่เข้าอกเข้าใจไปไหนมา                    ที่เจรจาสังเกดไว้ได้หลายคำ

       อันโคมลอยนั้นว่าเหลวเปนแน่หละ   ยังคำ ป๊ะ อีกก็เหนเปนความขำ

       ทีจะคล้ายกับบ่อพ่อนึกคลำ                  ยัง สับพี มีซ้ำแปลกออกมา

       ออกชื่อ นุ่งละส่ดุ้งได้ทุกครั้ง            มันจะยังไรอยู่ไม่รู้ท่า

       ยัง กู๋กู  คู่กันหวั่นวินยา                    ดูน่าตานั้นจะไปข้างไม่ดี

 

          รัชสมัยของพระองค์มีการติดต่อกับชาวตะวันตกมากขึ้น  ทำให้เราต้องยืมภาษาของเขามาใช้ด้วยการเลียนเสียงแล้วแปลงเป็นคำไทย  และในสมัยนั้นยังไม่มีการบัญญัติศัพท์จากภาษาอังกฤษเป็นคำไทยที่ชัดเจน  ทำให้พระองค์ใช้คำภาษาอังกฤษในกลอนเป็นจำนวนมาก  ซึ่งผู้ใดที่รู้ภาษาอังกฤษก็สามารถที่จะแปลคำเหล่านี้ได้  มีดังนี้

   -  ท่านทั้งเปนกอมมิตตี้มีที่ทาง            ได้ว่าข้างกรมเมืองสืบเนื่องมา

   -  อับพี่เซ่ออีกสิบสี่มีนิยม                    มาเที่ยวชมกรุงสยามตามเจ้านาย

   -  กรมหมื่นวรจักรพระองจอน                 คอยรับกอนกู๊ดบ๋าย ชวนผายผัน

   -  กับปิตันอับพีเซ่อในนาวา                 มาเฝ้าที่พลับพลาคอยรับทาน

   -  เจ้าพระยาพลเทบเรือท่านล่า               ต้องคอยกว่ายี่สิบมินูดได้       

หมายเลขบันทึก: 345046เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2010 19:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 13:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท